settings icon
share icon
คำถาม

หมวดเบญจบรรณคืออะไร?

คำตอบ


หมวดเบญจบรรณเป็นชื่อหนังสือห้าเล่มแรกของพระคัมภีร์ ที่นักวิชาการพระคัมภีร์เชิงอนุรักษ์นิยมเชื่อว่าส่วนใหญ่จะเขียนโดยโมเสส แม้ว่าหนังสือหมวดเบญจบรรณเองไม่ได้ระบุผู้เขียนชัดเจน มีเนื้อหาพระคัมภีร์หลายตอนที่คิดว่าน่าจะเขียนโดยโมเสสหรือเป็นถ้อยคำของท่าน

อพยพ 17:14 “พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า “จงเขียนข้อความต่อไปนี้ลงไว้ในหนังสือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งเล่าให้โยชูวาฟังคือว่าเราจะลบล้างชื่อชนชาติ อามาเลข ไม่ให้ปรากฏในความทรงจำของประชาชนภายใต้ฟ้านี้ เลย”

อพยพ 24:4-7 “โมเสสจึงจารึกพระวจนะของพระเจ้าไว้ทุกคำ แล้วตื่นขึ้นแต่เช้าจัดแจง สร้างแท่นบูชาขึ้นที่เชิงภูเขา ปักเสาหินขึ้นสิบสองก้อนตามจำนวนเผ่าทั้งสิบสองของอิสราเอล ท่านใช้ให้หนุ่มๆ ชนชาติอิสราเอลถวายเครื่องเผาบูชา และถวายโคเป็นเครื่องศานติบูชาแด่พระเจ้า โมเสสเก็บเลือดโคครึ่งหนึ่งไว้ในชาม อีกครึ่งหนึ่งประพรมที่แท่นบูชานั้น ท่านถือหนังสือพันธสัญญาอ่านให้ประชาชนฟัง พวกเขากล่าวว่า “สิ่งที่พระเจ้าตรัสไว้นั้น พวกเราจะกระทำตาม และเราจะเชื่อฟัง”

กันดารวิถี 33:1-2 “ต่อไปนี้เป็นเรื่องระยะทางเดินของคนอิสราเอล เมื่อเขาออกเดินจากแผ่นดินอียิปต์เป็น หมวดหมู่ภายใต้การนำของโมเสสและอาโรน โมเสสได้จดสถานที่ที่เขาออกเดิน ทีละระยะๆ ตามพระบัญชาของพระเจ้า ต่อไปนี้เป็นระยะตามสถานที่ที่เขาออกเดิน”

พระราชบัญญัติ 31:9-22 “โมเสสได้เขียนกฎหมายนี้ และมอบให้แก่ปุโรหิตบุตรหลานของเลวี ผู้ซึ่งหามหีบพันธสัญญาของพระเจ้า และแก่พวกผู้ใหญ่ทั้งปวงของคนอิสราเอล และโมเสสบัญชาเขาว่า “เมื่อครบทุกๆเจ็ดปี ตามเวลากำหนดปีปลดปล่อย ณ เทศกาลอยู่เพิง เมื่อคนอิสราเอลประชุมพร้อมกันต่อ พระพักตร์พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ณ สถานที่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้นั้น ท่านทั้งหลายจงอ่านกฎหมายนี้ให้คนอิสราเอลทั้งปวงฟัง จงเรียกประชาชนให้มาประชุมกันทั้งชาย หญิง และเด็ก ทั้งคนต่างด้าวในเมืองของท่าน เพื่อ ให้เขาได้ยินและเรียนรู้ที่จะยำเกรงพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน และให้ระวังที่จะกระทำตามถ้อยคำทั้งสิ้นของธรรมบัญญัตินี้ และเพื่อบุตรหลานทั้งหลายของเขาผู้ยังไม่ทราบจะได้ยิน และเรียนรู้ที่จะยำเกรงพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ตราบเท่าเวลาซึ่งท่านอยู่ในแผ่นดิน ซึ่งท่านกำลังจะยกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปยึดครองนั้น” และพระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า “ดูเถิด วันซึ่งเจ้าต้องตายก็ใกล้เข้ามาแล้ว จงเรียกโยชูวามา และเจ้าทั้งสองจงมาเฝ้าเราในเต็นท์นัดพบ เพื่อเราจะได้กำชับเขา” โมเสสและโยชูวาก็เข้าไปในเต็นท์นัดพบ และพระเยโฮวาห์ทรงปรากฏในเสาเมฆที่ในเต็นท์นัดพบ และเสาเมฆนั้นอยู่ที่ประตูเต็นท์นัดพบ และพระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า “ดูเถิด ตัวเจ้าจวนจะต้องหลับอยู่กับบรรพบุรุษของเจ้าแล้ว และชนชาตินี้จะลุกขึ้นและเล่นชู้กับพระแปลกๆของแผ่นดินนี้ ในที่ที่เขาไปอยู่ท่ามก ลางนั้น เขาทั้งหลายจะทอดทิ้งเราเสียและหักพันธสัญญาซึ่งเราได้ กระทำไว้กับเขา แล้วในวันนั้นเราจะกริ้วต่อเขา และเราจะทอดทิ้งเขาเสียและซ่อนหน้าของเราเสียจากเขา เขาทั้งหลายจะถูกกลืน และสิ่งร้ายกับความลำบากเป็นอันมากจะมาถึงเขา ในวันนั้นเขาจึงจะกล่าวว่า 'สิ่งร้ายเหล่านี้ตกแก่เรา เพราะพระเจ้าไม่ทรง สถิตท่ามกลางเราไม่ใช่หรือ' ในวันนั้นเราจะซ่อนหน้าของเราเสียจากเขาเป็นแน่ ด้วยเหตุความชั่วซึ่งเขาได้กระทำเพราะเขาได้หันไปหาพระอื่น เหตุฉะนี้เจ้าทั้งสองจงเขียนบทเพลงนี้ และสอนคนอิสราเอลให้ร้องจนติดปาก เพื่อบทเพลงนี้จะเป็นพยานของเราปรักปรำคนอิสราเอล เพราะว่าเมื่อเราจะได้นำเขาเข้ามาในแผ่นดิน ซึ่งมีน้ำนมและน้ำผึ้งไหลบริบูรณ์ ซึ่งเราได้ปฏิญาณจะประทานแก่บรรพบุรุษของเขา และเขาได้รับประทานอิ่มหนำและอ้วนพี เขาจะหันไปปรนนิบัติพระอื่น และหมิ่นประมาทเราและผิดพันธสัญญาของเรา และเมื่อสิ่งร้ายและความลำบากหลายอย่างมาถึงเขาแล้ว เพลงบทนี้จะเผชิญหน้า เป็นพยาน (เพราะว่าเพลงนี้จะอยู่ที่ปากลูกหลานของเขาไม่มีวันลืม) เพราะเรารู้ถึงความมุ่งหมายที่เขากำลังจะก่อขึ้นมาแล้ว ก่อนที่เราจะนำเขาเข้าไปในแผ่นดินซึ่งเราปฏิญาณไว้นั้น’ โมเสสจึงได้เขียนบทเพลงนี้ในวันเดียวกันนั้นและสอนให้ แก่ประชาชนอิสราเอล”

หนึ่งในหลักฐานที่สำคัญที่สุดที่ว่าโมเสสเป็นผู้เขียนหมวดเบญจบรรณ คือพระเยซูเองทรงกล่าวถึงตอนนี้ในพันธสัญญาเดิมว่าเป็น "บทบัญญัติของโมเสส"

ลูกา 24:44 “พระองค์ตรัสกับเขาว่า “นี่เป็นถ้อยคำของเรา ซึ่งเราได้บอกไว้แก่ท่านทั้งหลาย เมื่อเรายังอยู่กับท่านว่า บรรดาคำที่เขียนไว้ในหมวดธรรมบัญญัติของโมเสส และในหมวดผู้เผยพระวจนะและในหมวดสดุดีกล่าวถึงเรานั้น จำเป็นจะต้องสำเร็จ”

ขณะที่มีข้อพระคัมภีร์บางข้อในหมวดเบญจบรรณ ซึ่งปรากฏว่าได้เพิ่มเติมขึ้นโดยคนอื่นที่ไม่ใช่โมเสส ตัวอย่างเช่น

เฉลยธรรมบัญญัติ 34:5-8 “เหตุฉะนั้นโมเสสผู้รับใช้ของพระเจ้า จึงสิ้นชีวิตที่นั่นในแผ่นดินโมอับ ตามพระดำรัสของพระเจ้า และพระองค์ทรงฝังท่านไว้ในหุบเขาในแผ่นดินโมอับ ตรงข้ามเบธเปโอร์จนถึงทุกวันนี้หามีผู้ใดรู้จักที่ฝังศพของท่านไม่ เมื่อโมเสสสิ้นชีวิตนั้นท่านมีอายุหนึ่งร้อยยี่สิบปี นัยน์ตาของท่านมิได้มัวไป หรือกำลังของท่านก็ไม่ถอย และคนอิสราเอลร้องไห้ถึงโมเสสที่แผ่นดินโมอับสามสิบวัน แล้ววันที่ร้องไห้ไว้ทุกข์ถึงโมเสสก็สิ้นลง”

ข้อนี้บรรยายถึงความตายและการฝังศพของโมเสส----นักวิชาการส่วนมากพิจารณาว่าส่วนใหญ่หนังสือเหล่านี้เขียนโดยโมเสส

แม้ว่าโยชวาหรือคนอื่นบางคนได้เขียนต้นฉบับเดิมที่เขียนด้วยมือจริง คำสอนและการเปิดเผยสามารถตามรอยจากพระเจ้าไปถึงโมเสส และไม่ว่าแท้จริงใครจะเขียนถ้อยคำนั้น องค์สูงสุดผู้เขียนคือพระเจ้า และหนังสือหลายเล่มยังได้รับการดลใจ

คำว่า "หมวดเบญจบรรณ”" มาจากการรวมกันของคำภาษากรีก Penta หมายถึง "ห้า" และ teuchos ซึ่งสามารถแปลว่า "ม้วนกระดาษ" ดังนั้น "หมวดเบญจบรรณ”" ก็หมายถึงม้วนกระดาษห้าเล่ม ซึ่งประกอบด้วยสามภาคแรกที่เป็นวินัยทางศาสนาของชาวยิว ชื่อหมวดเบญจบรรณสามารถย้อนรอยกลับไปถึงคริสตศักราช 200 เมื่อเทอร์ทูเลียนทรงกล่าวถึงหนังสือห้าเล่มแรกของพระคัมภีร์โดยชื่อนั้น ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อโตราห์ ซึ่งเป็นคำภาษาฮีบรูหมายความว่า "ธรรมบัญญัติ" หนังสือห้าเล่มแรกของพระคัมภีร์ได้แก่ปฐมกาล อพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี และเฉลยธรรมบัญญัติ ชาวยิวโดยทั่วไปได้แบ่งพันธสัญญาเดิมเป็นสามหมวดแตกต่างกัน หมวดบทบัญญัติ หมวดผู้พยากรณ์และหมวดจดหมายต่างๆ ธรรมบัญญัติหรือโตราห์ประกอบด้วยภูมิหลังทางประวัติศาสตร์เรื่องการทรงสร้าง และการที่พระเจ้าทรงเลือกอับราฮัมและชนชาติยิวเป็นประชากรของพระองค์ นอกจากนี้โตราห์ยังบรรจุพระบัญญัติที่ทรงประทานแก่อิสราเอลที่ภูเขาซีนาย

พระคัมภีร์กล่าวถึงหนังสือห้าเล่มเหล่านี้ตามชื่อแตกต่างกัน ในโยชูวา 1: 7 มันถูกเรียกว่าเป็น "พระราชบัญญัติ (โตราห์) ทั้งหมดซึ่งโมเสสผู้รับใช้ของเราได้บัญชาเจ้าไว้นั้น" และพวกเขาจะเรียกว่า "พระราชบัญญัติของโมเสส" ใน 1 พงศ์กษัตริย์ 2: 3 หนังสือห้าเล่มของพระคัมภีร์นั้นประกอบกันเป็นหมวดเบญจบรรณ เป็นจุดเริ่มต้นการทรงเปิดเผยเป็นลำดับก้าวหน้าไปแก่มนุษย์ ในพระธรรมปฐมกาลเราพบตอนเริ่มต้นของการทรงสร้าง การที่มนุษย์ล้มลงในความบาป พระสัญญาเรื่องการทรงไถ่ การเริ่มต้นอารยธรรมของมนุษย์ และการเริ่มต้นความ สัมพันธ์ตามพระพันธสัญญาของพระเจ้ากับชนชาติที่ทรงเลือกสรรคืออิสราเอล หนังสือเล่มต่อไปคือพระธรรมอพยพ ซึ่งบันทึกการปลดปล่อยประชากรตามพระสัญญาของพระองค์ให้พ้นจากการเป็นทาส และเตรียมการครอบครองดินแดนที่พระเจ้าทรงตั้งไว้สำหรับพวกเขา พระธรรมอพยพบันทึกเรื่องการปลดปล่อยชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์หลังจากตกเป็นทาส 400 ปี ตามที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับอับราฮัม

ปฐมกาล 15:13 “พระองค์จึงตรัสแก่อับรามว่า “เจ้าจงรู้แน่เถิดว่าพงศ์พันธุ์ ของเจ้าจะเป็นคนต่างด้าวใน ดินแดนซึ่งมิใช่ที่ของเขา และเขาจะต้องรับใช้ชาวเมืองนั้น ชาวเมืองนั้นจะบีบบัง คับเขาถึงสี่ร้อยปี”

พระธรรมอพยพบันทึกพันธสัญญาของพระเจ้าที่ทรงทำกับอิสราเอลที่ภูเขาซีนาย คำแนะนำสั่งสอนเรื่องการสร้างพลับพลา การประทานพระบัญญัติสิบประการ และคำแนะนำสั่งสอนอื่นๆ เรื่องวิธีที่อิสราเอลต้องนมัสการพระเจ้า

พระธรรมเลวีนิติตามหลังพระธรรมอพยพ และขยายเพิ่มคำแนะนำสำหรับวิธีการที่ประชากรตามพันธสัญญา (อิสราเอล) นมัสการพระเจ้าและปกครองกันเอง มีการจัดตั้งข้อกำหนดของระบบการถวายเครื่องบูชา ที่ยอมให้พระเจ้าทรงมองข้ามความ ผิดบาปของประชากรของพระองค์ จนกระทั่งการสละพระชนม์อย่างสมบูรณ์ที่พระคริสต์ทรงชดใช้บาปทั้งสิ้น

ต่อจากพระธรรมเลวีนิติคือกันดารวิถี ซึ่งครอบคลุมถึงเหตุการณ์สำคัญในช่วง 40 ปีที่อิสราเอลร่อนเร่พเนจรอยู่ในป่า และให้คำแนะนำในการนมัสการพระเจ้าและการใช้ชีวิตอย่างที่เป็นประชากรตามพันธสัญญาของพระองค์ เล่มสุดท้ายของหนังสือห้าเล่มที่ประกอบเป็นหมวดเบญจบรรณคือเฉลยธรรมบัญญัติ เฉลยธรรมบัญญัติบางครั้งจะเรียกว่า "พระบัญญัติฉบับที่สอง" หรือ "พระบัญญัติที่ซ้ำซ้อน" มันบันทึกถ้อยคำสุดท้ายของโมเสสก่อนที่ชนชาติอิสราเอลเข้าสู่ในดินแดนแห่งพระสัญญา

เฉลยธรรมบัญญัติ 1:1 “ข้อความต่อไปนี้เป็นคำที่โมเสสกล่าว แก่คนอิสราเอลทั้งปวงที่ในถิ่นทุรกัน ดารฟากตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน คือในอาราบาห์ ข้างหน้าสูฟระหว่าง ปารานและโทเฟล ลาบาน ฮาเซโรทและดีซาหับ”

ในเฉลยธรรมบัญญัติ พระบัญญัติของพระเจ้าที่ทรงประทานที่ภูเขาซีนายถูกบันทึกซ้ำและได้พัฒนารุดหน้าไป ขณะที่อิสราเอลเข้าสู่บทใหม่ของประวัติศาสตร์ของพวกเขา โมเสสเตือนพวกเขาให้จดจำพระบัญญัติของพระเจ้า และพระพรที่พวกเขาจะได้รับโดยการเชื่อฟังพระเจ้า และคำสาปแช่งที่จะมาจากการไม่เชื่อฟัง

หนังสือทั้งห้าเล่มของหมวดเบญจบรรณได้รับการพิจารณาโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ เพราะมีบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ ขณะที่หนังสือเหล่านี้มักถูกเรียกว่าโตราห์หรือพระบัญญัติ ในความเป็นจริงมันบรรจุมากมายกว่าข้อกฎหมาย หนังสือเหล่านี้ให้ภาพรวมแผนการของพระเจ้าเรื่องการทรงไถ่ และเตรียมฉากหลังของทุกอย่างที่ตามมาในพระคัมภีร์ เช่นเดียวกับส่วนที่เหลือของพันธสัญญาเดิม พระสัญญาต่างๆ ประเภทต่างๆ และคำพยากรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่หมวดเบญจบรรณ มีการทำสำเร็จครบถ้วนที่สุดในบุคคลและพระราชกิจของพระเยซูคริสต์
English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

หมวดเบญจบรรณคืออะไร?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries