settings icon
share icon

พระธรรมเอสเธอร์

ผู้ประพันธ์: พระธรรมเอสเธอร์ไม่ได้ระบุชื่อผู้ประพันธ์โดยเฉพาะ. ตามประเพณีที่นิยมมากที่สุดคือโมรเดคัย (บุคคลสำคัญในพระธรรมเอสเธอร์), เอสรา และเนหะมีย์ (ผู้ที่คุ้นเคยกับประเพณีเปอร์เซีย)

วันที่เขียน: พระธรรมเอสเธอร์อาจเขียนขึ้นระหว่างปีก.ค.ศ. 460 และ 350

จุดประสงค์ของการเขียน: จุดประสงค์ของพระธรรมเอสเธอร์คือแสดงการทรงจัดเตรียมของพระเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับชนชาติอิสราเอลที่ทรงเลือก พระธรรมเอสเธอร์บันทึกการจัดงานรื่นเริงในเทศกาลพูริม และระเบียบพิธีปฎิบัติอย่างถาวร พระธรรมเอสเธอร์ใช้อ่านในเทศกาลพูริม เพื่อรำลึกถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชนชาวยิวที่พระเจ้าทรงนำผ่านทางพระราชินีเอสเธอร์ ชาวยิวทุกวันนี้ยังคงอ่านพระธรรมเอสเธอร์ในช่วงเทศกาลพูริม

ข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญ:

เอสเธอร์ 2:15 “เมื่อถึงเวรของเอสเธอร์ บุตรสาวของอาบีฮาอิล ลุงของโมรเดคัยผู้ซึ่งรับเธอไว้เป็นบุตรีจะ เข้าเฝ้าพระราชา เธอมิได้ขอสิ่งใด นอกจากสิ่งที่เฮกัยขันทีของพระราชาผู้ดูแลผู้หญิงแนะนำ ฝ่ายเอสเธอร์เป็นที่ถูกตาทุกคนที่เห็นเธอ”

เอสเธอร์ 4:14 “เพราะถ้าเธอเงียบอยู่ในเวลานี้ ความช่วยเหลือและการช่วยกู้จะมาถึงพวกยิวจากที่อื่น แต่เธอและครัวเรือนบิดาของเธอจะพินาศ ที่จริงเธอมารับตำแหน่งราชินีก็เพื่อ ยามวิกฤตเช่นนี้ก็เป็นได้นะ ใครจะรู้”

เอสเธอร์ 6:12 “แล้วโมรเดคัยก็กลับมายังประตูพระราชวัง แต่ฮามานรีบกลับไปบ้านของท่าน คลุมศีรษะและคร่ำครวญ”

เอสเธอร์ 7:3 “พระราชินีเอสเธอร์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระราชา ถ้าหม่อมฉันเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์ และถ้าเป็นที่พอพระทัยพระราชา ขอพระราชทานชีวิตของหม่อมฉันและของชนชาติตามคำทูลขอของหม่อมฉัน”

บทสรุปโดยย่อ: พระธรรมเอสเธอร์สามารถแบ่งออกเป็นตอนสำคัญได้ 3 ตอน บทที่ 1: 1-2: 18 – พระราชินีเอสเธอร์แทนที่พระนางวัชที บทที่ 2: 19-7: 10 – โมรเดคัยเอาชนะฮามานบทที่ 8: 1-10: 3 –ชนชาติอิสราเอลรอดชีวิตพ้นจากความพยายามของฮามานที่จะฆ่าพวกเขา พระราชินีเอสเธอร์ยอมเสี่ยงชีวิตเพราะได้ทรงตระหนักถึงสิ่งที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย พระนางทรงเต็มใจที่จะทำในสิ่งที่อาจเป็นภัยร้ายแรง และจัดการคนสำคัญลำดับที่สองในราชอาณาจักรสามีของพระองค์ คือฮามาน พระนางได้ทรงพิสูจน์ว่าเป็นคู่ต่อสู้ที่ชาญฉลาดและมีคุณค่าที่สุด ทรงอ่อนน้อมถ่อมตนและเคารพฐานันดรศักดิ์ของพระสวามีคือองค์กษัตริย์

ปฐมกาล 41:34-37 “ขอฟาโรห์ทำดังนี้คือจัดพนักงานไว้ทั่วแผ่นดิน และเก็บผลหนึ่งในห้าส่วนแห่งประเทศอียิปต์ไว้ตลอดเจ็ดปีที่อุดมสมบูรณ์นั้น ให้คนเหล่านั้นเก็บอาหารในปีที่อุดมเหล่านั้นซึ่งจะมาถึงนั้นไว้ และสะสมข้าวด้วยอำนาจของฟาโรห์ไว้เป็นอาหารในหัวเมือง และให้เขาตุนไว้ อาหารนี้จะได้เป็นเสบียงสำรองในแผ่นดินระหว่างเจ็ดปี ที่กันดารอาหาร ซึ่งจะเกิดขึ้นในประเทศอียิปต์ ดังนี้แผ่นดินจะไม่พินาศเสียไปเพราะกันดารอาหาร’ ฝ่ายฟาโรห์และข้าราชการทั้งปวงก็เห็นชอบในข้อเสนอนี้”

เหมือนเรื่องราวของโยเซฟมากเลย ทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ต่างชาติผู้ที่ควบคุมชะตากรรมของชาวยิว เรื่องราวทั้งสองแสดงความกล้าหาญ ของบุคลากรอิสราเอล ผู้ที่เตรียมจัดหาทางรอดแก่ผู้คนและประเทศของพวกเขา พระหัตถ์ของพระเจ้าปรากฏชัดแจ้ง ในสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายมากแท้จริงอยู่ภายใต้การควบคุมของพระเจ้า ผู้ทรงมีพระทัยเมตตาต่อประชากรอย่างที่สุด หัวใจของเรื่องนี้เป็นการแตกแยกระหว่างชาวยิวและชาวอามาเลขที่ยังคงมีต่อไป ซึ่งได้รับการบันทึกไว้ว่าได้เริ่มต้นในพระธรรมอพยพ เป้าหมายของฮามานเป็นความพยายามครั้งสุดท้ายที่บันทึกไว้ในสมัยพันธสัญญาเดิม เพื่อกำจัดชาวยิวให้ราบคาบ แผนการของเขาในที่สุดก็จบลงด้วยมรณกรรมของตัวเอง และมีการยกฐานะศัตรูของเขาคือโมรเดคัย ไปดำรงตำแหน่งแทนที่ตัวเอง และชาวยิวก็รอดพ้นภัยด้วย

การจัดเลี้ยงสังสรรเป็นสาระสำคัญของพระธรรมเล่มนี้ มีบันทึกการจัดกินเลี้ยง 10 ครั้งและหลายเหตุการณ์มีการวางแผนไว้ วางกลอุบายไว้ หรือโผล่ออกมาให้เห็นในงานกินเลี้ยงเหล่านี้ แม้ว่าในพระธรรมเล่มนี้ไม่เคยเอ่ยพระนามของพระเจ้า เห็นได้ชัดว่าชาวยิวแห่งซูซาพยายามหาเสาะหาพระองค์ให้ทรงเสด็จเข้ามา เมื่อพวกเขาถือศีลอดอาหารและอธิษฐานเป็นเวลาสามวัน

เอสเธอร์ 4:16 “ไปเถิด ให้รวบรวมพวกยิวทั้งสิ้นที่หาพบในสุสา และถืออดอาหารเพื่อฉัน อย่ารับประทาน อย่าดื่มสามวันกลางคืนหรือกลางวัน ฉันและสาวใช้ของฉันจะอดอาหารอย่างท่านด้วย แล้วฉันจะเข้าเฝ้าพระราชาแม้ว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ถ้าฉันพินาศ ฉันก็พินาศ”

แม้ความจริงที่ว่าบทบัญญัติอนุญาตให้บันทึกเรื่องการทำลายพวกเขาตามอย่างบทบัญญัติของคนมีเดียและเปอร์เซีย กระทำให้มันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นทางที่เปิดให้คำอธิษฐานของพวกเขาต้องรับคำตอบ พระราชินีเอสเธอร์ทรงเสี่ยงชีวิตโดยเข้าเฝ้ากษัตริย์ทั้งที่มิได้รับเชิญ ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวแต่เป็นสองครั้ง

เอสเธอร์ 4:1-2 “เมื่อโมรเดคัยทราบทุกอย่างที่ได้กระทำไปแล้ว ก็ฉีกเสื้อของตนสวมผ้ากระสอบและใส่ขี้เถ้า และออกไปกลางนครคร่ำครวญด้วยเสียงดังอย่างขมขื่น ท่านขึ้นไปอยู่ที่ทางเข้าประตูของพระราชา เพราะไม่มีผู้ใดที่สวมผ้ากระสอบเข้าประตูของพระราชาได้”

เอสเธอร์ 8:3 “แล้วพระนางเอสเธอร์กราบทูลพระราชาอีก พระนางกราบลงที่พระบาทของพระองค์ และวิงวอนพระองค์ด้วยน้ำพระเนตร ขอให้แผนการร้ายของฮามาน คนอากัก และการปองร้ายซึ่งท่านได้คิดขึ้นต่อพวกยิวนั้นพ้นไปเสีย”

พระนางไม่ทรงพอพระทัยแผนการทำลายของฮามาน; พระนางทรงตั้งพระทัยที่จะช่วยให้ชนชาติของพระนางรอดชีวิต การจัดงานเลี้ยงเทศกาลพูริมบันทึกไว้ให้ทุกคนรักษาไว้ ให้เป็นพิธีและปฏิบัติจนทุกวันนี้ ชนชาติที่พระเจ้าทรงลือกสรรไว้ แม้ปราศจากการกล่าวถึงพระนามพระองค์โดยตรง ก็ได้รับการช่วยให้พ้นจากการประหาร ผ่านทางสติปัญญาและความอ่อนน้อมถ่อมตนของพระราชินีเอสเธอร์

ลางบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า: ในพระธรรมเอสเธอร์ เราจะได้เห็นเบื้องหลังฉากการดิ้นรนของซาตานที่ขัดขวางพระประสงค์ของพระเจ้าต่อไปไม่หยุด และโดยเฉพาะขัดขวางพระเมสสิยาห์ตามพระสัญญา การเสด็จเข้ามาของพระเยซูคริสต์ผ่านเชื้อสายมนุษย์ ได้รับการทำนายล่วงหน้าถึงการดำรงอยู่ของเชื้อสายยิว ตามที่ฮามานวางกลอุบายชั่วต่อชาวยิวในเพื่อที่จะทำลายพวกเขา ก็เหมือนกับซาตานได้ยกตัวเองต่อสู้พระคริสต์และประชากรของพระองค์ ตามที่ฮามานถูกประหารบนตะแลงแกงที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อฆ่าโมรเดคัย เช่นเดียวกับที่พระคริสต์ทรงใช้อาวุธสำคัญ เมื่อศัตรูวางแผนที่จะฆ่าพระองค์และเมล็ดพันธุ์ฝ่ายวิญญาณของพระองค์ เพราะว่าไม้กางเขน ที่ซาตานวางแผนที่จะฆ่าพระเมสสิยาห์ คือหนทางที่พระคริสต์ทรงมีชัยชนะโดยกางเขน

โคโลสี 2:14-15 “พระองค์ทรงฉีกกรมธรรม์ซึ่งได้ผูกมัดเราด้วยบัญญัติต่างๆ ซึ่งขัดขวางเรา และได้ทรงหยิบเอาไปเสียให้พ้นโดยทรงตรึงไว้ที่กางเขน พระองค์ทรงปลดเทพผู้ครองและศักดิเทพเสีย พระองค์ได้ทรงประจานเขา และชนะเขาโดยกางเขนนั้น”

ตามที่ฮามานถูกแขวนคอบนตะแลงแกงที่เขาสร้างขึ้นมาสำหรับโมรเดคัย ดังนั้นแหละมารถูกบดขยี้โดยกางเขนที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อฆ่าพระคริสต์

การประยุกต์ใช้ปฏิบัติ: พระธรรมเอสเธอร์แสดงให้เห็นทางเลือกของเรา ระหว่างพระหัตถ์ของพระเจ้าในสถานการณ์ในชีวิตเรา และการมองว่าสิ่งต่างๆ เป็นเพียงเรื่องบังเอิญ พระเจ้าทรงเป็นกษัตริย์ผู้ครอบครองจักรวาล และเราได้รับคำสัญญาว่าแผนการณ์ของพระองค์จะไม่ถูกพวกคนชั่วกระทำการลบล้างไป แม้ว่าพระนามของพระองค์ไม่ได้กล่าวถึงในพระธรรมเล่มนี้ การทรงดูแลจัดเตรียมของพระองค์เพื่อคนของพระองค์ ทั้งประชาชนและประเทศชาติ มีหลักฐานชัดเจนตลอด ยกตัวอย่างเช่น เราไม่ผิดหวังที่จะรู้ว่าพระผู้ทรงฤทธิ์ทรงสำแดงอำนาจเหนืออาการนอนไม่หลับของกษัตริย์เซอร์เซสทันเวลา โดยผ่านตัวอย่างของโมรเดคัยและเอสเธอร์ ในพระธรรมเล่มนี้เราเห็นภาษารักเงียบที่พระบิดาของเรามักทรงใช้ในการติดต่อโดยตรงกับจิตวิญญาณของเรา

พระราชินีเอสเธอร์ทรงพิสูจน์ให้เห็นทรงมีว่าวิญญาณชอบธรรมและฟังคำสอน ทั้งแสดงให้เห็นความเข้มแข็งและการเชื่อฟังด้วยความเต็มใจ ความอ่อนน้อมถ่อมตนของพระราชินีเอสเธอร์ก็โดดเด่นแตกต่างจากคนรอบข้าง และเป็นเหตุให้พระนางได้รับการยกฐานะขึ้นดำรงตำแหน่งพระราชินี พระนางทรงแสดงให้เราเห็นท่าทีเคารพนับถือและอ่อนน้อมถ่อมตน แม้ในยามยากหากไม่ใช่สถานการณ์เป็นไปไม่ได้อย่างปุถุชนธรรมดา บ่อยครั้งเราถูกตั้งเป็นภาชนะแห่งพระพรที่ไม่รู้ตัวสำหรับตนเองและคนอื่น ๆ ในทุ กพื้นที่ของชีวิตเราจะประพฤติดีที่จะเลียนแบบท่าทียกย่องนับถือพระเจ้าของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาถูกทดลอง ไม่มีสักครั้งที่มีการร้องเรียนหรือท่าทีแย่มากที่เผยให้เห็นในการเขียนเรื่องนี้ หลายครั้งที่เราอ่านพบว่าพระนางทรงเป็นที่รักใคร่ "โปรดปราน" ของคนรอบข้างเสมอ ความชื่นชอบดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ช่วยให้ชนชาติของพระนางรอดชีวิต เราอาจได้รับความโปรดปรานเช่นนั้น เมื่อเรายอมต่อการข่มเหงที่ไม่เป็นธรรมและทำตามตัวอย่างของพระราชินีเอสเธอร์โดยมีท่าทีในแง่บวก ควบคู่ไปกับความอ่อนน้อมถ่อมตนและความมุ่งมั่นที่จะพึ่งพาพระเจ้า ใครจะรู้ได้ยกเว้นแต่ว่าพระเจ้าทรงวางเราอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว สำหรับช่วงเวลาเช่นนี้

English



การสำรวจพันธสัญญาใหม่

การสำรวจพระคัมภีร์

กลับสู่หน้าภาษาไทย

พระธรรมเอสเธอร์
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries