คำถาม
พระคัมภีร์ได้กล่าวเกี่ยวกับการข่มขืนไว้อย่างไร
คำตอบ
พระคัมภีร์กล่าวถึงประเด็นเรื่องการข่มขืน ตามที่คาดการณ์ไว้นั้นเมื่อพระคัมภีร์กล่าวถึงอาชญากรรมการข่มขืน มันถูกมองว่าเป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงต่อการทรงสร้างของพระเจ้าในการปฏิบัติต่อร่างกายมนุษย์ (พระธรรมปฐมกาล บทที่ 34) พระคัมภีร์ประณามการข่มขืนเมื่อใดก็ตามที่มีการกล่าวถึง ยกตัวอย่างเช่น มีตอนที่เฉพาะเจาะจงในกฎหมายที่มอบให้กับชนชาติอิสราเอลก่อนที่จะเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาภายใต้การนำของโยชูวา ตอนนี้ (เฉลยธรรมบัญญัติ 22:13–29) กล่าวโดยตรงถึงการบังคับให้ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์โดยที่เธอไม่เต็มใจหรือที่เรารู้จักกันในปัจจุบันว่าเป็นการข่มขืน คำสั่งนี้มีไว้เพื่อปกป้องสตรีและปกป้องชนชาติอิสราเอลจากการกระทำที่เป็นความบาป
พระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ 22:25–27 ระบุถึงการลงโทษที่กฎหมายของโมเสสกำหนดไว้สำหรับผู้ชายที่ข่มขืนหญิงที่ทำการหมั้นหมายไว้แล้ว ผู้ชายจะต้องถูกฆ่าด้วยการขว้างด้วยก้อนหินในขณะที่ผู้หญิงได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แม้ว่ากฎหมายของโมเสสมีไว้สำหรับชนชาติอิสราเอลในสมัยของโมเสส แต่หลักการนี้ชัดเจนว่าการข่มขืนเป็นบาปในสายพระเนตรของพระเจ้าและภายใต้กฎหมายนี้ได้นำไปสู่การลงโทษซึ่งรุนแรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นคือความตายสำหรับผู้ข่มขืน
มีบางตอนซึ่งยุ่งยากในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ หนึ่งคือเฉลยธรรมบัญญัติ 22:28–29 ที่กล่าวว่า “ถ้าชายคนหนึ่งพบหญิงพรหมจารีที่ยังไม่ได้หมั้น และเขาจับตัวเธอไว้และนอนกับเธอ และมีผู้รู้เห็นชายผู้ที่ได้นอนกับเธอนั้นจะต้องมอบเงินห้าสิบเชเขลให้แก่บิดาของหญิงสาวคนนั้น และให้เธอตกเป็นภรรยาของเขา เพราะเขาทำให้เธอได้รับความอาย และเขาจะหย่าร้างเธอไม่ได้ตลอดชีวิตของเขา” หากผู้เสียหายจากการถูกข่มขืนไม่ได้หมั้นหมาย ผู้ข่มขืนก็ต้องเผชิญกับผลที่ตามมาซึ่งแตกต่างออกไป
เราต้องมองเฉลยธรรมบัญญัติ 22:28–29 ผ่านการมุมมองของวัฒนธรรมเก่าแก่ ในสมัยนั้น กฎเกณฑ์ทางสังคมปฏิบัติต่อผู้หญิงอย่างเลวร้าย พวกเขาไม่สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ พวกเขาไม่สามารถหางานทำเพื่อเลี้ยงตัวเองได้ ถ้าผู้หญิงไม่มีพ่อ สามี หรือลูกชาย เธอก็ไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ทางเลือกของเธอคือการเป็นทาสหรือโสเภณี หากผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานไม่ใช่สาวพรหมจารี มันยากสำหรับเธอที่จะได้แต่งงาน หากเธอเป็นคนที่ไม่สามารถแต่งงานได้ พ่อของเธอก็ไม่มีประโยชน์อะไรมากมายสำหรับเธอ
การลงโทษของพระเจ้าต่อผู้ข่มขืนหญิงพรหมจารีคือทั้งเงินและเป็นความรับผิดชอบตลอดชีวิต นั้นถูกออกแบบมาเพื่อยับยั้งการข่มขืนโดยถือว่าผู้ข่มขืนต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา เขาได้ทำลายชีวิตของเธอ และมันเป็นความรับผิดชอบของเขาที่จะต้องเลี้ยงดูเธอไปตลอดชีวิต นี่อาจฟังดูไม่ยุติธรรมสำหรับหูของคนสมัยใหม่ แต่เราไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกับที่พวกเขาอยู่ ในพระธรรม 2 ซามูเอลบทที่ 13 เจ้าชายอัมโนนข่มขืนทามาร์น้องสาวต่างมารดาของเขา ความสยดสยองและความละอายใจของการถูกล่วงละเมิดทั้งที่ยังไม่แต่งงานทำให้ทามาร์ขอร้องให้เขาแต่งงานกับเธอ (พี่ชายต่างมารดาของเธอ!) แม้ว่าเขาจะปฏิเสธเธอไปแล้วก็ตาม และอับซาโลมน้องชายแท้ๆของเธอก็รังเกียจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนได้สังหารอัมโนน และนั่นเป็นการประเมิณค่าความบริสุทธิ์อย่างมากของผู้หญิงในเวลานั้น
นักวิจารณ์พระคัมภีร์ยังชี้ไปที่พระธรรมกันดารวิถีบทที่ 31 (และตอนที่คล้ายกัน) ซึ่งชาวอิสราเอลได้รับอนุญาตให้จับเชลยหญิงจากประเทศที่พวกเขาพิชิต นักวิจารณ์กล่าวว่านี่เป็นตัวอย่างของการไม่เอาผิดหรือแม้กระทั่งการส่งเสริมการข่มขืนของพระคัมภีร์ อย่างไรก็ตามตอนนี้ไม่ได้กล่าวถึงการข่มขืนผู้หญิงที่เป็นเชลยเลย มันผิดที่จะสันนิษฐานว่าหญิงที่เป็นเชลยจะต้องถูกข่มขืน ทหารได้รับคำสั่งให้ชำระตัวและเชลยของพวกเขาให้บริสุทธิ์ (ข้อ 19) การข่มขืนจะเป็นการละเมิดคำสั่งนี้ (ดูเลวีนิติ 15:16–18) ผู้หญิงที่ถูกจับเป็นเชลยไม่เคยถูกเรียกว่าเป็นวัตถุทางเพศ ผู้หญิงที่เป็นเชลยมีแนวโน้มว่าจะแต่งงานกับชาวอิสราเอลหรือไม่ ใช่ มีข้อบ่งชี้ใดๆ ว่าการข่มขืนหรือการเป็นทาสทางเพศถูกบังคับใช้กับผู้หญิงเหล่านี้หรือไม่ ไม่ใช่อย่างแน่นอน
ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่นั้นไม่ได้กล่าวถึงการข่มขืนโดยตรง แต่ในวัฒนธรรมของชาวยิวในสมัยนั้น การข่มขืนถือเป็นการผิดศีลธรรมทางเพศ พระเยซูและเหล่าสาวกกล่าวต่อต้านการผิดศีลธรรมทางเพศ กระทั้งว่าสิ่งนี้เป็นเหตุอันสมควรสำหรับการหย่าร้าง (มัทธิว 5:32)
นอกจากนี้พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ระบุอย่างชัดเจนว่าคริสเตียนต้องเชื่อฟังกฎหมายของผู้มีอำนาจปกครอง (พระธรรมโรมบทที่ 13) การข่มขืนไม่เพียงผิดศีลธรรมเท่านั้น มันยังผิดตามกฎหมายของแผ่นดินในสถานที่ส่วนใหญ่เช่นกัน ดังนั้นใครก็ตามที่ก่ออาชญากรรมนี้ควรคาดหวังว่าจะได้รับผลที่ตามมา ซึ่งรวมถึงการจับกุมและการจำคุก
สำหรับผู้เสียหายจากการถูกข่มขืน เราต้องให้ความใส่ใจและแสดงความเห็นอกเห็นใจอย่างมาก พระวจนะของพระเจ้ามักจะกล่าวถึงการช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือและผู้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง คริสเตียนควรเป็นแบบอย่างด้านความรักและความเห็นอกเห็นใจของพระคริสต์โดยช่วยเหลือผู้เสียหายจากการถูกข่มขืนในทุกทางที่เป็นไปได้
ผู้คนต้องรับผิดชอบต่อบาปที่พวกเขาทำ รวมทั้งการข่มขืน อย่างไรก็ตามไม่มีใครอยู่นอกเหนือ พระคุณของพระเจ้า แม้แต่กับคนที่ทำบาปอย่างชั่วร้าย พระเจ้าก็สามารถขยายการให้อภัยได้หากพวกเขากลับใจและหันจากทางชั่วร้ายของพวกเขา (1 ยอห์น 1:9) สิ่งนี้ไม่ได้ขจัดความจำเป็นในการลงโทษตามกฎหมาย แต่สามารถให้ความหวังและหนทางสู่ชีวิตใหม่ได้
English
พระคัมภีร์ได้กล่าวเกี่ยวกับการข่มขืนไว้อย่างไร