คำถาม
พระคัมภีร์นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่?
คำตอบ
การใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการที่เราตัดสินการงานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ พระคัมภีร์ไม่ได้เพียงแค่น่าเชื่อถือแต่มันน่าเชื่อถือมากกว่างานเขียนใดๆ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ ความน่าเชื่อถือเป็นคำถามเกี่ยวกับการคัดลอกที่กล่าวความจริงและมีความถูกต้องแม่นยำ งานเขียนซึ่งมีความถูกต้องตามประวัติศาสตร์และถูกต้องตามข้อเท็จจริงได้มีการเก็ยรักษาไว้ผ่านการเวลาและได้รับการพิจารณาว่าน่าเชื่อถือ การพิสูจน์ได้ถึงความจริงทางด้านประวัติศาสตร์ในระดับสูงและความมั่นใจที่มากขึ้นในการถ่ายทอดทำให้มันง่ายที่จะกำหนดว่างานสมัยโบราณนั้นคุ้มค่าแก่การเชื่อวางใจหรือไม่ ด้วยปริมาณเหล่านั้นเราสามารถพิจารณาได้ว่าพระคัมภีร์นั้นน่าเชื่อถือ
ในขณะที่เป็นเรื่องจริงเกี่ยวกับงานทางด้านประวัติศาสตร์ใดๆ ก็ตาม ไม่ใช่ทุกรายละเอียดในพระคัมภีร์ที่สามารถจะยืนยันได้โดยตรง พระคัมภีร์ไม่สามารถที่จะถูกเรียกว่าไม่น่าเชื่อถือเพียงแค่เพราะว่าประกอบด้วยบางส่วนที่ไม่สามาถที่จะยืนยันได้หรือยังไม่ได้รับการยืนยัน สิ่งที่มีเหตุผลคือให้คาดหวังว่าพระคัมภีร์แม่นยำในส่วนที่สามารถตรวจสอบได้ นี่คือการตรวจสอบขั้นแรกของความน่าเชื่อถือ และพระคัมภีร์มีบันทึกเกี่ยวกับการสะกดรอยตามดาว ไม่เพียงแต่รายละเอียดทางประวัติศาสตร์มากมายที่ได้รับการยืนยัน แต่บางส่วนที่เคยเป็นที่คาดเดาได้รับการพิสูจน์ในภายหลังโดยนักโบราณคดี
ยักตัวอย่างเช่นการค้นพบทางโบราณคดีในช่วงปีค.ศ. 1920 ยืนยันถึงการมีอยู่ของเมืองซึ่งคล้ายกับเมืองเออร์ ซึ่งบรรยายไว้ในพระธรรมปฐมกาลบทที่ 11 ซึ่งผู้สงสัยบางคนคาดเดาว่ามีมาก่อนหน้านี้นานแล้ว ศิลาจารึกที่ค้นพบในหลุงฝังศพของอียิปต์ซึ่งพรรณนาถึงการที่อุปราชได้รับการสถาปนาด้วยวิธีการที่ตรงกันอย่างแม่นยำกับคำอธิบายในพระคัมภีร์เกี่ยวกับโยเซฟ (ปฐมกาล 39) ศิลาดินเผาที่มีอายุ 2300 ปีก่อนคริสตศักราชถูกพบเจอในซีเรียสนับสนุนเรื่องราว คำศัพท์และภูมิศาสตร์ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมอย่างแข็งแกร่ง ผู้สงสัยคาดเดาถึงการมีอยู่ของชาวฮิตไทต์ (ปฐมกาล 15:20, 23:10, 49:29) จนกระทั่งเมืองฮิตไทต์พบเจอบันทึกอย่างเต็มรูปแบบที่ประเทศตุรกี มีข้อเท็จจริงในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมอีกเป็นสิบๆ ข้อที่ได้รับการสนับสนุนโดยการสำรวจทางโบราณคดี
สิ่งที่สำคัญมากกว่านี้คือ ไม่มีข้อเท็จจริงใดๆ ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมหรือพันธสัญญาใหม่ที่ไม่เป็นความจริง ความน่าเชื่อถือทางประวัติศาสตร์นั้นสำคัญมากต่อการเชื่อวางใจในคำแถลงอื่นๆ ในพระคัมภีร์
แม้กระทั่งสิ่งที่เกิดขึ้นอย่าง "น่าอัศจรรย์" ในปฐมกาลมีหลักฐานพื้นฐานที่เราสามารถจะบอกได้ทุกวันนี้ บันทึกของบาบิโลนโบราณนั้นอธิบายถึงความสับสนของภาษาซึ่งสอดคล้องกับการบรรยายของพระคัมภีร์เกี่ยวกับหอบาเบล (ปฐมกาล 11:1 – 9) บันทึกที่เหมือนกันนี้อธิบายถึงการที่น้ำท่วมโลก เป็นเหตุการณ์ที่มีการนำเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรหลายร้อยรูปแบบในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก สถานที่ซึ่งเมืองโสโดมและเมืองโกโมราห์ (ปฐมกาล 19) เคยตั้งอยู่ถูกค้นพบแสดงถึงหลักฐานของการถูกทำลายด้วยไฟและความรุนแรง แม้กระทั่งโรคระบายของอียิปต์และผลงคือการอพยพ (อพยพ 12:40 – 41) มีข้อสนับสนุนทางด้านโบราณคดี
แนวทางนี้ยังคงดำเนินต่อไปในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม ซึ่งชื่อของบางเมือง นักการเมืองและเหตุการณ์ได้มีการยืนยันซ้ำๆ โดยนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ลูกาผู้เขียนพระกิตติคุณนั้นและพระธรรมกิจการ ได้มีการอธิบายว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ชั้นเยี่ยมสำหรับความสนใจของเขาที่ให้รายละเอียดและการบันทึกที่แม่นยำ ทั้งในการเขียนของพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พระคัมภีร์พิสูจน์ว่าน่าเชื่อถือในด้านใดๆ ก็ตามที่สามารถตรวจสอบได้
การคัดลอกที่แม่นยำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์ การเขียนพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ประกอบด้วยหลายทศวรรษของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้บรรยายไว้ เร็วเกินไปสำหรับตำนานที่จะตามทันประวัติศาสตร์ ตามข้อเท็จจริงแล้วขอบข่ายพื้นฐานของข่าวประเสริฐสามารถระบุวันที่ตามบทบัญญัติอย่างเป็นทางการไม่กี่ปีหลังจากการถูกตรึงที่กางเขนของพระเยซู ตามการบรรยายของเปาโลใน 1 โครินธ์ 15:3 – 8 นักประวัติศาสตร์สามารถเข้าถึงต้นฉบับจำนวนมากมาย ด้วยการพิสูจน์ว่าพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือและรีบคัดลอกและแจกจ่าย สิ่งนี้ให้ความมั่นใจอย่างเพียงพอต่อสิ่งที่เราอ่านในวันนี้แสดงออกถึงความถูกต้องของงานเขียนต้นฉบับ
พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมนั้นเช่นเดียวกันแสดงหลักฐานความน่าเชื่อถือที่ถ่ายทอดออกมา เมื่อม้วนหนังสือทะเลตาย (Dead Sea Scrolls) ถูกค้นพบในช่วงปี 1940 มันมีอายุมากกว่าต้นฉบับอื่นๆ ที่หาได้ 800 ปี เมื่อเปรียบเทียบต้นฉบับทีใหม่กว่าหรือเก่ากว่าแสดงถึงวิธีการถ่ายทอดที่พิถีพิถัน อีกครั้งหนึ่งคือเพิ่มเติมให้แก่ความมั่นใจของเราว่าสิ่งที่เรามีในวันนี้นำเสนอเกี่ยวกับเนื้อหาดั้งเดิม
ปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมดให้เหตุผลที่มีจุดประสงค์เพื่อพิจารณาว่าพระคัมภีร์น่าเชื่อถือ ในเวลาเดียวกันเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะตรวจสอบปัจจัยเดิมเหล่านั้นในเนื้อหาอื่นๆ ที่เราใช้ในการเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ พระคัมภีร์ได้รับการสนับสนุนโดยการสังเกตมากกว่า มีระยะเวลาที่สั้นระหว่างการเขียนต้นฉบับกับสำเนาที่ยังคงอยู่และมีแหล่งต้นฉบับจำนวนมากกว่างานโบราณใดๆ ในขณะนี้
ยกตัวอย่างเช่นมีงานสำเนาสิบฉบับของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ตั้งแต่แรกสุดจาก 1,000 ปีหลังจากที่เขาเขียน โดยที่ไม่รู้ว่าสำเนาเหล่านั้นจะนำเสนอต้นฉบับได้ดีเพียงใด มีสำเนาแปดฉบับของงานของนักประวัติศาสตร์ชื่อเฮอโรโดทัส (Herodotus) ตั้งแต่แรกสุด 1,400 ปีหลังจากที่เขาเขียน นักโบราณดคีพบต้นฉบับ 643 ชุดของงานของโฮเมอร์ (Homer) ทำให้มีความมั่นใจ 95 เปอร์เซ็นต์ในเนื้อหาต้นฉบับ
สำหรับพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่มีต้นฉบับมากกว่า 5,000 ฉบับ โดยที่ฉบับแรกๆ จาก 200 ถึง 300 ปีต่อมาและบางฉบับน้อยกว่า 100 ปี นั้นให้ความมั่นใจกับเรามากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ในหัวข้อของเนื้อหาต้นฉบับ
กล่าวสั้นๆ คือเราไม่ต้องเพียงแค่มีเหตุผลทางด้านจุดประสงค์เพื่อที่จะอ้างว่าพระคัมภีร์นั้นน่าเชื่อถือแต่เราไม่สามารถที่จะเรียกมันได้ว่าไม่น่าเชื่อถือโดยไม่ได้เอาอย่างอื่นเกือบทั้งหมดที่เรารู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณออกมา ถ้าพระคัมภีร์ไม่ได้ผ่านการทดสอบสำหรับการควรค่าแก่การไว้วางใจแล้ว จะไม่มีบันทึกแห่งยุคสมัยนั้นที่จะควรค่าแก่การไว้วางใจแล้ว ความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์ได้รับการพิสูจน์แล้วทั้งในความแม่นยำทางประวัติศาสตร์และความแม่ยำในการถ่ายทอด
English
พระคัมภีร์นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่?