settings icon
share icon
คำถาม

ฉันเป็นพุทธศาสนิกชน, แล้วฉันจะต้องอยากเป็นคริสเตียนทำไม?

คำตอบ


ประการแรก ในขณะที่ทั้งในความเชื่อของคริสเตียน และ ศาสนาพุทธมีบุคคลในประวัติศาสตร์เป็นจุดศูนย์กลางเหมือนกัน คือพระเยซู และพระพุทธเจ้าตามลำดับ แต่พระเยซูพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย มีศาสดามากมายในประวัติศาสตร์ที่รอบรู้ และหลายองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งศาสนา พระสิททัตถะ โคตะมะ หรือพระพุทธเจ้า ผู้ทรงมีอีกชื่อหนึ่งว่าพระศรีศากยมุนีทรงโดดเด่นอยู่ท่ามกลางศาสดาทั้งหลายเพราะทรงมีสติปัญญาพิเศษและหลักปรัชญาชีวิตที่ล้ำลึก แต่พระเยซูก็ทรงโดดเด่นเช่นกัน และพระองค์ทรงยืนยันคำสอนฝ่ายวิญญาณของพระองค์ด้วยการทดสอบที่มีฤทธิอำนาจจากสวรรค์เท่านั้นที่จะทำได้ นั่นคือการยืนยันด้วยการวายพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ – ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้และถูกทำให้สำเร็จลงด้วยพระองค์เอง (มัทธิว 16:21; 20:18-19; มาระโก 8:31; 1 ลูกา 9:22; ยอห์น 20-21; 1 โครินธ์ 15) ดังนั้นพระเยซูจึงทรงสมควรที่จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ

ประการที่สอง ข้อพระคัมภีร์ของคริสเตียนโดดเด่นทางประวัติศาสตร์ และสมควรที่จะได้รับการพิจารณาอย่างแท้จริง เราอาจถึงกับพูดได้ว่าประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์เป็นความจริงเสียจนกระทั่งการสงสัยพระคัมภีร์คือการสงสัยประวัติศาสตร์เสียเอง เนื่องจากพระคัมภีร์เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ จากหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่ สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ พันธสัญญาใหม่คือหนังสือเล่มเดียวที่พิสูจน์ได้ในทางประวัติศาสตร์ดียิ่งกว่าพันธสัญญาเดิม (พระคัมภีร์ของชาวฮีบรู) โดยการพิจารณาจากหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1) มีเอกสารตัวเขียนเกี่ยวกับพันธสัญญาใหม่ที่ยังเหลืออยู่มากกว่าเอกสารใดในประวัติศาสตร์ - มีเอกสารที่เขียนด้วยมือเป็นภาษากรีกโบราณ 5,000 ฉบับ, และที่เป็นภาษาอื่น ๆ อีก รวมกันแล้วเป็น 24,000 ฉบับ ความหลายหลากของเอกสารดังกล่าวทำให้มันกลายเป็นแหล่งค้นคว้าอันมหึมาที่เราสามารถตรวจข้อความกลับไปกลับมาระหว่างเอกสารหนึ่งกับอีกเอกสารหนึ่งได้ เพื่อให้แน่ใจว่าต้นฉบับเขียนว่าอย่างไร

2) เอกสารตัวเขียนของพันธสัญญาใหม่มีอายุใกล้เคียงกับต้นฉบับมากกว่าเอกสารใดในประวัติศาสตร์ ต้นฉบับทั้งหมดถูกเขียนขึ้นในศตวรรษแรกโดยมีผู้เห็นเหตุการณ์เป็นพยาน และในปัจจุบันเรามีบางส่วนของเอกสารตัวเขียนที่มีอายุเก่าขนาดปี ค.ศ. 125 สำเนาของหนังสือทั้งเล่มถูกค้นพบในราวปีค.ศ. 200 และเราสามารถค้นพบได้ว่าพันธสัญญาใหม่ที่สมบูรณ์ลงวันที่ย้อนกลับไปถึงปี ค.ศ. 250 จากการที่หนังสือทุกฉบับถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่ดั้งเดิมโดยมีประจักษ์พยานร่วมสมัยเป็นพยาน นั่นหมายความว่ามันไม่ใช่เทพนิยายหรือนิทานชาวบ้านที่เล่าต่อ ๆ กันมา อีกทั้งสิ่งที่พระคัมภีร์ยืนยันว่าเป็นความจริงได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริง โดยการถูกต่อต้านอย่างรุนแรง และโดยสมาชิกของคริสตจักรผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เอง

3) เอกสารในพันธสัญญาใหม่ถูกต้องแม่นยำมากกว่าเอกสารใดในประวัติศาสตร์ จอห์น อาร์ โรบินสัน ผู้เขียนหนังสือชื่อ Honest To God รายงานว่าเอกสารในพันธสัญญาใหม่ถูกต้องแม่นยำ 99.9% (ถูกต้องมากกว่าหนังสือโบราณใด ๆ ทั้งสิ้น) ส่วน บรูซ เมทซเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพันธสัญญาใหม่ฉบับภาษากรีก ให้คะแนนอยู่ที่ 99.5%

ประการที่สาม จริยธรรมของคริสเตียนมีพื้นฐานมั่นคงกว่าจริยธรรมของศาสนาพุทธ จริยธรรมของคริสเตียนมีพื้นฐานมาจากพระลักษณะส่วนตัวของพระเจ้า พระเจ้าทรงเป็นบุคคลและทรงชอบธรรม ธรรมชาติของพระองค์นั้นดี การกระทำซึ่งสอดคล้องกับความดีงามของพระองค์โดยปกติแล้วเป็นการกระทำที่ดี และการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับความดีงามของพระองค์โดยปกติแล้วเป็นการกระทำที่ไม่ดี แต่ตามความเห็นของพุทธศาสนิกชนความจริงนี้ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นบุคคล แต่ว่าความรู้สึกผิดและชอบต้องการความมีตัวตน เพื่อที่จะได้เห็นภาพชัดเจนให้เราพิจารณาความรู้สึกผิดชอบของก้อนหินกัน ไม่มีใครโทษก้อนหินว่ามันถูกใช้ในการฆาตกรรม เพราะมันไม่มีชีวิตจิตใจที่จะรู้ว่าอะไรดีหรืออะไรไม่ดี แต่ความรับผิดชอบนั้นตกอยู่กับคนที่ใช้มันเพื่อการร้าย เราจะเห็นว่าศาสนาพุทธขาดโครงสร้างที่มีชีวิตที่จะมารับผิดชอบการกระทำเกี่ยวกับคุณธรรมไป ในศาสนาพุทธ กรรมคือโครงสร้างทางด้านคุณธรรม แต่กรรมไม่มีชีวิต มันคล้ายกับกฎแห่งธรรมชาติ การทำผิด“กฎ” แห่งกรรม โดยเนื้อแท้แล้วจึงไม่ใช่เรื่องชั่วร้าย ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีข้อแตกต่างอะไรมากมายนักระหว่างความผิดพลาด (ความผิดพลาดที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคุณธรรม) และความบาป (การกระทำที่ผิดคุณธรรม) ยิ่งไปกว่านั้นพุทธศาสนิกชนเป็นอันมากเชื่อว่าในที่สุด “ความดี” และ “ความชั่ว” ก็จะหักล้างกันไปเอง “ความดี” และ “ความชั่ว” เป็นเพียง มายา หรือภาพลวงตาของความจริงเท่านั้น คุณธรรมไม่ยิ่งใหญ่พอที่จะชี้ให้เห็นถึงความจริงได้ ผู้ที่มีความเข้าใจจะเห็นว่าตอนนี้ความดีและความชั่วเข้ามาปนเปกันจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปเสียแล้ว แต่การเป็นเช่นนั้นทำให้หมายความว่าในที่สุดความจริงก็คงจะไม่ “ดี” นัก แต่ก็คงไม่ “ชั่วร้าย” นักเช่นกัน แล้วจะมีอะไรมายืนยันว่า “ความจริง” มีค่ามากพอให้เราแสวงหาเล่า แล้วเราจะมีหลักอะไรมายึดถือในการใช้ชีวิตที่ดีอย่างมีคุณธรรม หรือไม่มีคุณธรรม หากไม่มีข้อแตกต่างให้เห็น หรือเราจะอยู่เฉย ๆ โดยไม่ทำอะไรเลยเพื่อจะได้ไม่ต้องเลือกว่าอะไรดีหรือไม่ดี? หากศาสนาพุทธยืนยันว่าความจริงไม่มีตัวตน และข้อแตกต่างระหว่างความดีและความชั่วจริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่ความจริง ดังนั้นศาสนาพุทธก็ไม่มีพื้นฐานที่แท้จริงทางด้านคุณธรรม ในทางกลับกันความเชื่อของคริสเตียนสามารถชี้ได้ทั้งสองประการไปถึงพระลักษณะของพระเจ้าในฐานะผู้ทรงวางรากฐานเกี่ยวกับคุณธรรม และผู้ทรงปูพื้นฐานข้อแตกต่างระหว่างความดีกับความชั่ว

ประการที่สี่ คริสเตียนเห็นคุณค่าที่ถูกต้องของ “ความปรารถนา” ส่วนคุณธรรมในศาสนาพุทธดูเหมือนว่าจะมีปัญหาในเรื่องนี้ พระศรีศากยะมุนี สอนว่า ตัณหา – “ความปรารถนา” หรือ “ความผูกติด” – คือรากเหง้าของความทุกข์และควรได้รับการจัดการให้หมดไป แต่เป็นที่ยอมรับว่าสิ่งดี ๆ บางอย่างมาจากแนวความคิดที่เกี่ยวกับความปรารถนาที่ว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ความรักคือ “ความปรารถนา” ที่จะให้สิ่งดีกับผู้อื่น (ดู ยอห์น 15:13; 1 ยอห์น 4:7-12) คนเราไม่สามารถรักได้หากเขาไม่มีความ ปรารถนา ในระดับหนึ่ง ที่จะให้คน ๆ นั้นได้รับแต่สิ่งที่ดี ๆ ความเชื่อของคริสเตียนสอนว่าความปรารถนาเป็นสิ่งที่ดีหากมันถูกใช้อย่างเหมาะสม ท่านเปาโลหนุนใจให้คริสเตียน “กระตือรือร้นอย่างจริงจังบรรดาของประทานอันดีที่สุดนั้น” (1 โครินธ์ 12:31; 14:1) ในหนังสือสดุดี เราได้เห็นภาพของผู้นมัสการโหยหาและปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์กับพระเจ้า (สดุดี 42:1-2; 84) และแน่นอนพระเจ้าทรงไม่ได้ทำเป็นว่ารัก แต่พระองค์ทรงเป็น ความรัก (1 ยอห์น 4:9; สดุดี 136; ยอห์น 3:16) การโยนความปรารถนาทิ้งไปโดยรวมแล้วเหมือนกับการโยนทารกที่น่ารักคนหนึ่ง (ความรัก) ทิ้งไปเพราะน้ำอาบสกปรก (ความทุกข์)

ประการที่ห้า เป็นคำถามที่ถามว่า “ท่านทำอะไรกับความบาปของท่าน?” ศาสนาพุทธมีแนวความคิดอย่างน้อยสองแนวเกี่ยวกับความบาป ความบาปบางครั้งถูกเข้าใจว่าเป็นความไม่ใส่ใจ มันเป็นความบาปหากเราไม่เห็นหรือเข้าใจความจริงอย่างที่ศาสนาพุทธให้คำจำกัดความไว้ แต่ศาสนาพุทธยังมีแนวความคิดอีกอย่างหนึ่งด้วยเกี่ยวกับความผิดพลาดทางคุณธรรมที่เรียกว่า “ความบาป” การทำความชั่วโดยตั้งใจ, การทำลายกฎฝ่ายวิญญาณหรือฝ่ายโลก, หรือการมีความปรารถนาในสิ่งผิด, สิ่งเหล่านี้เป็นความบาปแน่นอน แต่คำจำกัดความหลังสุดเกี่ยวกับความบาปชี้ไปถึงความผิดพลาดทางคุณธรรมที่ต้องมีการแก้ไขชดเชยอย่างแท้จริง แล้วเราจะเอาอะไรมาชดเชยบาป? การยึดหลักกฎแห่งกรรมชดเชยบาปได้ไหม? กรรมไม่มีชีวิตและไม่มีคุณธรรม คนเราสามารถทำความดีเพื่อถ่วงดุลกับความชั่วได้ แต่เราไม่สามารถขจัดความบาปออกไปได้ กรรมไม่ได้แม้แต่จะบอกว่าเราจะเปลี่ยนความผิดทางด้านคุณธรรมให้เป็นความถูกต้องได้อย่างไร แล้วเราทำความผิดต่อใครเล่าหากเราทำความผิดในที่ลับ? กรรมไม่ได้สนใจอะไรเลยไม่ว่าจะเป็นความผิดในที่ลับหรือที่แจ้งเพราะกรรมไม่มีชีวิต การแก้ไขชดเชยบาปเกิดขึ้นได้ด้วยการสวดมนตร์หรืออุทิศตัวให้กับพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าได้ไหม? แม้ว่าพระองค์อาจจะให้อภัยเราได้ แต่ความบาปก็ยังต้องมีการชดใช้อยู่ดี พระองค์อาจให้อภัยได้จึงทำให้ดูเหมือนว่าความบาปสามารถให้อภัยกันได้; มันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร

แต่ในอีกมุมหนึ่งความเชื่อแบบคริสเตียนดูเหมือนว่าจะเป็นความเชื่อเดียวมีมุมมองทางด้านศาสนศาสตร์เกี่ยวกับความบาปที่พอเพียง ตามความเชื่อของคริสเตียนความบาปเป็นความผิดพลาดทางด้านคุณธรรม ตั้งแต่สมัยอาดัมเป็นต้นมา มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีความบาปติดตัว ความบาปเป็นเรื่องจริง และมันก่อให้เกิดช่องว่างที่ไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างมนุษย์และความสุข ความบาปเรียกร้องความยุติธรรม แต่มันไม่สามารถ “หักลบ” กันได้กับการทำความดีที่เท่ากันหรือมากกว่า หากมีใครคนหนึ่งทำความดีมากกว่าความชั่ว 10 ครั้ง เขาก็ยังมีความชั่วอยู่ภายใต้จิตสำนึกของเขาอยู่นั่นเอง แล้วเกิดอะไรขึ้นสำหรับความชั่วที่ยังคงค้างคาอยู่? มันได้รับการให้อภัยเสมือนว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรอย่างนั้นหรือ? มันได้รับอนุญาตให้อยู่ร่วมกับความสุขอย่างนั้นหรือ? มันเป็นเพียงแค่ภาพลวงตาโดยไม่มีปัญหาใด ๆ ทั้งสิ้นหรือ? คำตอบเหล่านี้ไม่มีคำตอบใดที่สมเหตุสมผล เมื่อพูดถึงภาพลวงตา ความบาปเป็นความจริงสำหรับเราเกินกว่าที่จะเป็นแค่ภาพลวงตาเท่านั้น เมื่อพูดถึงความบาปของเรา หากเราซื่อสัตย์กับตัวเองเรารู้ว่าเราทุกคนเคยทำบาปมาแล้วทั้งนั้น เมื่อพูดถึงการยกโทษ การยกโทษบาปง่าย ๆ โดยไม่ต้องเสียอะไรทั้งสิ้นทำให้ดูเหมือนว่าความบาปไม่มีผลเสียอะไรมากมายนัก แต่เรารู้ว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อพูดถึงความสุข “ความสุข” ก็คงไม่ดีอะไรนักหากความบาปยังแอบเข้ามากวนใจเราอยู่เรื่อย ๆ มันดูเหมือนว่าตาชั่งแห่งกรรมจะทิ้งให้เราสำนึกถึงความบาปอยู่ในใจจนความสุขทนไม่ได้ หรือไม่มันก็ต้องหยุดความเต็มที่ของมัน เพื่อที่เราจะเข้ามาได้

ความเชื่อของคริสเตียนมีคำตอบเกี่ยวกับความบาป ไม่มีความบาปใดที่ไม่ต้องถูกลงโทษ แต่โทษนั้นพระคริสต์ได้ทรงรับไปแล้วโดยการถูกตรึงบนกางเขน พระเจ้าทรงเสด็จมารับสภาพมนุษย์, ทรงมีชีวิตที่ไร้ตำหนิ, และทรงรับความตายที่เราสมควรจะได้รับ พระองค์ทรงถูกตรึงบนกางเขนในฐานะตัวแทนของเรา, ทรงเข้ามาแทนที่เรา, และทรงปกป้องเรา (หรือทรงเป็นเครื่องถวายบูชา) ให้หลุดพ้นจากความบาป แล้วพระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ และพิสูจน์ว่าแม้แต่ความตายก็ไม่สามารถเอาชนะพระองค์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ทรงสัญญาว่าทุกคนที่เชื่อในพระองค์ว่าทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของเขา ก็จะได้รับการฟื้นขึ้นมาจากความตายไปสู่ชีวิตนิรันดร์เช่นเดียวกับพระองค์ (โรม 3:10, 23; 6:23; 8:12; 10:9-10; เอเฟซัส 2:8-9; ฟีลิปปี 3:21)

ไม่มี “ลัทธิความเชื่อแบบง่าย ๆ” ใด ที่แสดงว่าพระเจ้า, ทรงเปรียบเสมือนภารโรง, คอยตามเก็บกวาดความผิดของเรา แต่นี่เป็นการผูกพันตลอดชีวิต ที่เรารับสภาพใหม่และเริ่มความสัมพันธ์ใหม่กับพระเจ้าเอง (โรม 6:1; เอเฟซัส 2:1-10) เมื่อใครคนใดคนหนึ่งเชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ที่พระองค์ทรงเป็นตามที่ทรงบอกไว้ในพระคัมภีร์, เชื่อจริง ๆ ว่าพระองค์ทรงทำในสิ่งที่พระองค์ทรงบอกไว้ในพระคัมภีร์ และทุ่มชีวิตของเขาในความเชื่อนั้น – คน ๆ นั้นก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ท่านไม่สามารถเป็นเหมือนเดิมได้ถ้าท่านมีความเชื่อแบบนั้น เราไม่สามารถนั่งอ่านหนังสือพิมพ์อยู่เฉย ๆ ได้เมื่อรู้ว่าบ้านกำลังถูกไฟไหม้ ความรู้นั้น (บ้านที่กำลังถูกไฟไหม้) กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาและเปลี่ยนชีวิตของท่าน (หยุดอ่านหนังสือพิมพ์แล้วทำอะไรบางอย่างเพื่อด้บไฟ)

หรือไม่ใช่ว่าพระเยซูทรงเป็นอีก “คำตอบหนึ่ง” ในหลาย ๆ คำตอบ ศาสนาทุกศาสนาในโลกมีความจริงระดับหนึ่ง, แต่พระเยซูคือคำตอบเดียวสำหรับสภาวะของมนุษย์ การนั่งวิปัสสนา, การใช้ความพยายาม, การอธิษฐาน ไม่ได้ช่วยทำให้เราสมควรที่จะได้รับของขวัญนิรันดร์จากพระเจ้า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้แก้ไขความบาปที่เราได้ทำลงไปแล้วได้ การจ่ายค่าจ้างแห่งความบาปแทนเราโดยพระคริสต์ และการมีความเชื่อในพระองค์เท่านั้นที่ช่วยเราให้รอดพ้นจากความบาป เมื่อทำเช่นนั้นเท่านั้น ความบาปของเราจึงจะได้รับการไถ่ถอน, ความหวังได้รับการยืนยัน, และชีวิตของเราก็จะได้รับการเติมให้เต็มด้วยความหมายที่เป็นนิรันดร์

ท้ายที่สุด, โดยการเป็นคริสเตียนเท่านั้นที่เราจะรู้ได้ว่าเรารอดแล้ว เราไม่จำเป็นจะต้องพึ่งประสบการณ์ที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว, หรือการทำความดี หรือการนั่งวิปัสสนาอย่างเอาจริงเอาจัง หรือด้วยการนับถือพระเทียมเท็จที่เราพยายามเชื่อว่า “มีจริง” เรามีพระเจ้าที่แท้จริงผู้ทรงพระชนม์อยู่, มีความเชื่อที่มีประวัติศาสตร์หนุนหลัง, มีการเปิดเผยสำแดงของพระเจ้าที่ดำรงอยู่ตลอดไปและพิสูจน์ได้ (พระคัมภีร์) และบ้านบนสวรรค์กับพระเจ้าที่รับประกันไว้แล้วสำหรับเรา

ดังนั้นทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไรสำหรับท่าน? ท้ายที่สุดพระเยซูคือความเป็นจริง! พระเยซูคือเครื่องถวายบูชาที่เหมาะที่สุดสำหรับความบาปของเรา พระเจ้าทรงเสนอการให้อภัยและความรอดกับเราหากเราเพียงแต่ยื่นมือไปรับของขวัญของพระองค์มาเท่านั้น (ยอห์น 1:12) โดยเชื่อว่าพระเยซูคือพระผู้ช่วยให้รอดผู้ทรงเสียสละชีวิตของพระองค์เพื่อเรา – สหายของพระองค์ – หากท่านเชื่อว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของท่าน ท่านก็จะได้รับความมั่นใจอย่างแท้จริงว่าท่านจะมีชีวิตนิรันดร์อยู่บนสวรรค์ พระเจ้าจะทรงยกโทษบาปให้ท่าน, ชำระจิตใจของท่าน, ฟื้นฟูวิญญาณของท่านขึ้นมาใหม่, ให้ชีวิตที่บริบูรณ์ในโลกนี้กับท่าน, และชีวิตนิรันดร์ในโลกหน้า แล้วเราจะปฏิเสธของขวัญที่มีคุณค่าอย่างนี้ได้อย่างไร? เราจะหันหลังให้กับพระเจ้าผู้ทรงรักเรามากพอที่จะเสียสละชีวิตของพระองค์เพื่อเราได้อย่างไรกัน?

หากท่านไม่แน่ใจเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านเชื่อ เราขอเชิญให้ท่านอธิษฐานกับพระเจ้าดังต่อไปนี้: “พระเจ้า ขอพระองค์ทรงช่วยให้ข้าพระองค์รู้ด้วยเถิดว่าอะไรคือความจริง ขอทรงช่วยข้าพระองค์ให้เห็นว่าอะไรคือสิ่งที่ผิด ขอทรงช่วยข้าพระองค์ให้รู้ด้วยเถิดว่าอะไรคือทางไปสู่ความรอดที่ถูกต้อง” พระเจ้าทรงตอบคำอธิษฐานเช่นนี้เสมอ

หากท่านต้องการต้อนรับพระเยซูให้เข้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของท่าน ขอให้ท่านเพียงแค่พูดกับพระเจ้า, จะออกเสียงหรือไม่ออกเสียงก็ได้, แล้วบอกพระองค์ว่าท่านต้องการรับของขวัญแห่งความรอดโดยทางพระเยซู หากท่านต้องการตัวอย่าง นี่คือตัวอย่าง: “พระเจ้า ขอบคุณพระองค์ที่ทรงรักข้าพระองค์ ขอบคุณพระองค์สำหรับการเสียสละพระองค์เองเพื่อข้าพระองค์ ขอบคุณที่พระองค์สำหรับการให้อภัยและความรอด ข้าพระองค์ขอรับของขวัญแห่งความรอดโดยทางพระเยซู ข้าพระองค์ขอต้อนรับพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของข้าพระองค์ ขออธิษฐานในพระนามพระเยซูคริสต์ อาเมน”

คุณได้ตัดสินใจเชื่อพระเจ้าเพราะสิ่งที่คุณได้อ่านพบจากที่นี่ใช่หรือไม่? ถ้าใช่.. กรุณาคลิกปุ่ม “ฉันได้รับพระคริสต์เข้ามาในชีวิตตั้งแต่วันนี้”

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ฉันเป็นพุทธศาสนิกชน, แล้วฉันจะต้องอยากเป็นคริสเตียนทำไม?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries