คำถาม
วันลบมลทินบาป (ยมคิปปูร์) คืออะไร
คำตอบ
วันลบมลทินบาป (เลวีนิติ 23:27-28) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อยมคิปปูร์นั้นเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในบรรดางานเลี้ยงและงานเทศกาลของคนอิสราเอล ซึ่งจัดขึ้นปีละหนึ่งครั้งในวันที่สิบของเดือนทิชรี (Tishri) นั่นคือเดือนที่เจ็ดของปฏิทินฮีบรู ในวันนั้นมหาปุโรหิตจะต้องประกอบพิธีที่ละเอียดประณีตเพื่อลบมลทินบาปของผู้คน ตามที่บรรยายไว้ในเลวีนิติ 16:1-34 พิธีการลบมลทินบาปเริ่มจากอาโรนหรือผู้ที่จะมาเป็นมหาปุโรหิตของอิสราเอลเข้าไปในอภิสุทธิสถาน การเอาจริงเอาจริงของวันนั้นได้รับการยืนยันโดยการที่พระเจ้าทรงบอกโมเสสให้เตือนอาโรนไม่ให้เข้าไปยังสถานที่บริสุทธิ์เมื่อเขาอยากจะเข้าไป แต่ให้เข้าไปเพียงแค่ในวันพิเศษนี้ปีละหนึ่งครั้ง (ข้อ 2) นี่ไม่ใช่พิธีกรรมที่จะกระทำแบบไม่ใส่ใจ และประชากรจะต้องเข้าใจว่าการลบมลทินบาปต้องทำตามวิธีการของพระเจ้า
ก่อนจะเข้าไปยังพลับพลา อาโรนต้องอาบน้ำและสวมใส่เสื้อผ้าพิเศษ (ข้อ 4) จากนั้นฆ่าโคเพื่อเป็นเครื่องบูชาลบล้างบาปสำหรับตัวเองและครอบครัว (ข้อ 6 และ 11) เลือดของวัวต้องประพรมที่หน้าพระที่นั่งกรุณา จากนั้นอาโรนจะนำแพะสองตัวมา หนึ่งตัวต้องเป็นเครื่องบูชา “เพราะมลทินและการกบฏของชาวอิสราเอล ไม่ว่าบาปของเขาจะเป็นอะไร” (ข้อ16) และเลือดของมันก็ถูกประพรมที่หน้าพระที่นั่งกรุณา แพะอีกตัวถูกใช้เป็นแพะรับบาป อาโรนเอามือวางบนหัวของมัน สารภาพบาปเหนือมันในเรื่องการกบฏและความชั่วร้ายของคนอิสราเอล และส่งแพะไปกับคนที่มีการกำหนดหน้าที่ไว้ให้นำแพะไปปล่อยในถิ่นทุรกันดาร (ข้อ 21) แพะตัวนั้นก็แบกรับบาปทั้งหมดของอิสราเอลไว้ ซึ่งได้รับการอภัยบาปไปอีกหนึ่งปี (ข้อ 30)
สัญลักษณ์ที่สำคัญของพิธีกรรม โดยเฉพาะต่อคริสเตียน มีให้เห็นครั้งแรกในการชำระล้างและทำความสะอาดของมหาปุโรหิต ชายที่นำแพะไปปล่อย และพวกผู้ชายซึ่งนำซากสัตว์ที่เป็นเครื่องบูชาไปเผานอกค่าย (ข้อ 4, 24, 26, 28) พิธีชำระบาปของอิสราเอลนั้นมีการเรียกร้องให้ทำตลอดทั้งพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและเป็นสัญลักษณ์ของความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องได้รับการชำระบาป แต่นั่นไม่ใช่จนกระทั่งพระเยซูเสด็จมาเพื่อเป็นเครื่องบูชา “ครั้งเดียวเป็นพอ” ซึ่งทำให้ความจำเป็นในพิธีชำระบาปนั้นหมดสิ้นไป (ฮีบรู 7:27) เลือดของโคและแพะสามารถลบมลทินบาปหากมีการทำพิธีอย่างต่อเนื่องปีต่อปี ในขณะที่การเสียสละของพระคริสต์นั้นเพียงพอสำหรับบาปทั้งหมดของทุกคนที่เชื่อในพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงสละพระชนม์ชีพของพระองค์นั้น พระองค์ก็ตรัสว่า “สำเร็จแล้ว” (ยอห์น 19:30) จากนั้นพระองค์ทรงนั่งลงที่เบื้องพระหัตถ์ขวาของพระเจ้า และไม่ต้องมีเครื่องบูชาใดๆ อีกเลย (ฮีบรู 10:1-12)
ความสำคัญและความเสร็จสมบูรณ์ของการเสียสละของพระคริสต์ก็มีให้เห็นในแพะสองตัวเช่นเดียวกัน เลือดของแพะตัวแรกถูกประพรมหน้าพระที่นั่งกรุณา ตามพิธีกรรมแล้วเป็นการระงับพระพิโรธของพระเจ้าอีกหนึ่งปี แพะตัวที่สองนำบาปของผู้คนเข้าไปในถิ่นทุรกันดารเป็นที่ซึ่งถูกลืมและไม่มาเกาะติดมนุษย์อีกต่อไป มีทั้งการลบล้างพระอาชญาและการกำจัดบาปด้วยวิธีการของพระเจ้า โดยทางการเสียสละของพระคริสต์บนไม้กางเขนเท่านั้น การลบล้างพระอาชญานั้นเป็นวิธีการระงับพระพิโรธของพระเจ้า ในระหว่างที่การกำจัดบาปคือการกระทำของการลบมลทินบาปและกำจัดมันออกจากผู้กระทำบาป ทั้งคู่ประสบผลสำเร็จนิรันดร์โดยพระคริสต์ เมื่อพระองค์เสียสละพระองค์เองบนไม้กางเขน พระองค์ทรงระงับพระพิโรธของพระเจ้าต่อบาป นำให้พระพิโรธนั้นไปตกที่พระองค์แทนคือ “ในเมื่อบัดนี้เราได้ถูกนับเป็นผู้ชอบธรรมแล้วโดยพระโลหิตของพระองค์ ยิ่งไปกว่านั้นเราจะรอดพ้นจากพระพิโรธของพระเจ้าโดยพระองค์อย่างแน่นอน!” (โรม 5:9) การกำจัดบาปโดยแพะตัวที่สองเป็นคำอุปมาที่มีชีวิตของพระสัญญาที่พระเจ้าจะกำจัดการละเมิดจากเราให้ไปไกลที่สุดจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก (สดุดี 103:12) และพระองค์จะไม่จดจำมันอีกต่อไป (ฮีบรู 8:12, 10:17) ยิวทุกวันนี้ยังเฉลิมฉลองวันลบมลทินบาปประจำปี ซึ่งเป็นวันที่ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละปีในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ตามธรรมเนียมแล้ววันบริสุทธิ์นี้จะจัดขึ้นเป็นเวลา 25 ชั่วโมงซึ่งมีการอดอาหารอธิษฐานและการอธิษฐานอย่างจริงจัง โดยส่วนมากจะใช้เวลาทั้งวันอยู่ในธรรมศาลาเพื่อนมัสการพระเจ้า
English
วันลบมลทินบาป (ยมคิปปูร์) คืออะไร