คำถาม
อริยสัจสี่คืออะไร
คำตอบ
อริยสัจสี่คือความเชื่อขั้นพื้นฐานของศาสนาพุทธ ตามที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาพระธรรมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าหลังจากการตรัสรู้เป็นคำอธิบายถึงกรอบความคิดเหล่านี้ ซึ่งตามความคิดของชาวพุทธแล้วการเชื่อแนวคิดเหล่านี้ไม่ได้สำคัญเท่ากับการที่พวกเขามีประสบการณ์ รวมทั้งความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด (สังสารวัฏ) และนิพพาน อริยสัจสี่มีอิทธิพลต่อความคิดเกือบทุกรูปแบบของศาสนาพุทธ กรอบความคิดสี่ประการนี้ในฉบับย่อก็คือ 1) ความจริงเกี่ยวกับการได้รับความทุกข์ทรมาน 2) ความไม่เที่ยงของโลก 3) การหลุดพ้นที่ได้มาโดยการละทิ้งตัณหา และ 4) ความจำเป็นในการปฏิบัติตามอริยมรรค
อริยสัจประการที่หนึ่งหรือเป็นที่ทราบทั่วกันว่าทฤษฎีของทุกข์ที่อธิบายว่าการมีชีวิตอยู่คือความทุกข์ คำศัพท์เฉพาะอาจทำให้สับสนได้ เนื่องจากศาสนาพุทธไม่ได้อ้างว่าประสบการณ์ทั้งหมดนั้นไม่ดีงาม กรอบความคิดเรื่องทุกข์บอกความหมายโดยนัยหลายอย่างโดยเสนอแนวความคิดต่างๆ เช่น ความกังวล ความไม่พอใจ หรือความขุ่นเคือง นี่คือความเชื่อหลักของศาสนาพุทธซึ่งความเชื่อและการปฏิบัติอื่นๆ ทั้งหมดมีพื้นฐานมาจากอริยสัจประการที่หนึ่ง ชาวพุทธเชื่อว่าทุกข์อธิบายสิ่งที่ผิดปรกติเกี่ยวกับมนุษยชาติคือ ความทุกข์ทรมานเกิดจากการมีความปรารถนาที่ผิดโดยเฉพาะความปรารถนาต่อสิ่งที่ไม่ถาวร ปัญหานี้ได้มีการอธิบายไว้อย่างละเอียดในอริยสัจประการที่สอง
อริยสัจประการที่สองของศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักว่าอนีคา (“ไม่เที่ยง”) หรือตัณหา (“ความปรารถนา”) ซึ่งกล่าวว่าไม่มีสิ่งใดในจักรวาลที่ยั่งยืนถาวรหรือไม่เปลี่ยนแปลง ในความเป็นจริง แม้แต่ตัวตนก็ไม่มีความยั่งยืนถาวรหรือไม่เปลี่ยนแปลง นี่เป็นการอธิบายของศาสนาพุทธเกี่ยวกับว่าเหตุใดมนุษยชาติถึงเป็นเหมือนที่เราเป็นอยู่นี้ ในเมื่อความทุกข์ทรมานเกิดจากความปรารถนาสิ่งที่ไม่ถาวร ท้ายที่สุดแล้วตัณหาทั้งหมดก็ได้นำไปสู่ความทุกข์ทรมาน แม้แต่ความปรารถนาในเชิงบวกก็อาจทำให้วัฏจักรการเวียนไหว้ตายเกิดและทุกข์นั้นถาวร เพื่อที่จะเอาชนะสิ่งนี้คนคนหนึ่งต้องเข้าใจอริยสัจประการที่สาม
อริยสัจประการที่สามกล่าวว่าเพียงหนทางเดียวที่จะได้รับอิสระจากวัฏจักรของความทุกข์ทรมาน ความตาย และการเกิดใหม่คือโดยการละทิ้งความปรารถนาสำหรับสิ่งของทางโลกอย่างสมบูรณ์ ศาสนาพุทธมองว่านี่เป็นคำตอบของคำถามที่ว่า “เราจะแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดเกี่ยวกับมนุษยชาติได้อย่างไร” ในทางปฏิบัติอริยสัจประการที่สามเรียกร้องให้มีการละทิ้งความปรารถนาทั้งหมดอย่างสิ้นเชิงทั้งสิ่งดี สิ่งเลว และอื่นๆ วิธีการซึ่งจะบรรลุในสิ่งนี้นั้นพบได้ในอริยสัจประการที่สี่
อริยสัจประการที่สี่คือการปฏิบัติตามอริยมรรคซึ่งสามารถทำให้ละทิ้งความปรารถนาได้ แผนการของศาสนาพุทธสำหรับ “วิธีการ” ที่จะแก้ไขข้อบกพร่องของมนุษย์พบได้ที่นี่ อริยมรรคได้มีการกำหนดว่าเป็นมุมมองที่ถูกต้อง เจตนาที่ถูกต้อง วาจาที่ถูกต้อง พฤติกรรมที่ถูกต้อง การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ความพยายามที่ถูกต้อง การตระหนักรู้ที่ถูกต้อง และการทำสมาธิที่ถูกต้อง
ตามศาสนาพุทธแล้วคนคนหนึ่งสามารถยุติวัฏจักรของการเวียนไหว้ตายเกิดและทุกข์ได้โดยการนำอริยสัจสี่มาใช้และดำเนินชีวิตตามอริยมรรค สิ่งนี้นำบุคคลหนึ่งไปสู่สภาวะที่ว่างเปล่าโดยสิ้นเชิงต่อความปรารถนา ความต้องการ การอยู่ใกล้ผู้อื่น หรือความผิดหวัง สถานะของ “ความว่างเปล่า” นี้เรียกว่านิพพานและเป็นโอกาสในการเลือกของชาวพุทธในการไปสู่สวรรค์ ผู้หนึ่งที่บรรลุถึงนิพพานก็สิ้นสุดที่จะไปเป็นบุคคลและหยุดกระบวนการทางสังสารวัฏสำหรับการเวียนไหว้ตายเกิด
เช่นเดียวกับมุมมองหลักๆ ส่วนใหญ่นั้น ไม่ใช่ทุกสิ่งเกี่ยวกับอริยสัจสี่ที่จะขัดแย้งกับพระคัมภีร์ อย่างสิ้นเชิง ความปรารถนาแบบผิดที่ผิดทางคือแหล่งหลักของความทุกข์และบาป (โรม 13:14, กาลาเทีย 5:17) ชีวิตที่ต้องตายนั้นแน่นอนว่านำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเป็นสิ่งที่สั้น (ยากอบ 4:14) อีกทั้งยังเป็นสิ่งซึ่งไม่ฉลาดที่จะทุ่มเทให้กับสิ่งซึ่งไม่ถาวร (มัทธิว 6:19-20) อย่างไรก็ตามในเรื่องของสภาพนิรันดร์และกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงนั้นอริยสัจสี่เบี่ยงเบนอย่างมากจากหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ที่เชื่อในหลักการของพระคัมภีร์
พระคัมภีร์สอนว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่ตลอดกาลและผู้ใดก็ตามที่อยู่กับพระองค์ในสวรรค์จะชื่นชมยินดีกับสภาพที่เป็นนิรันดร์ตลอดไป (มัทธิว 25:21, ยอห์น 4:14, 10:28) สติสัมปชัญญะนิรันดร์ที่เหมือนกันแต่กลับปราศจากการชื่นชมยินดีนั้นเป็นของผู้ที่เลือกปฏิเสธพระเจ้า (2 เธสะโลนิกา 1:9 ) ชะตากรรมของพวกเขาได้รับการอธิบายไว้ว่าเป็นสภาพแห่งการรับรู้ส่วนตัวที่ทุกข์ทรมาน (ลูกา 16:22-24) ศาสนาพุทธสอนว่าความเป็นนิรันดร์ของพวกเรานั้นเป็นการสิ้นสุดการเวียนไหว้ตายเกิดหรือไม่ก็เป็นการลืมเลือนของการไม่มีชีวิต แต่พระคัมภีร์กล่าวว่า “มนุษย์ทุกคนถูกกำหนดให้ตายครั้งเดียวและจากกนั้นก็มีการพิพากษาฉันใด” (ฮีบรู 9:27)
ทั้งศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธสอนว่ามนุษย์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงความปรารถนาของพวกเขาและพฤติกรรมของพวกเขา แต่มีเพียงหลักคำสอนของศาสนาคริสต์เท่านั้นที่ได้ให้วิธีการที่สมเหตุสมผลสำหรับการทำสิ่งนี้ ในศาสนาพุทธคนคนหนึ่งได้รับการบอกให้เปลี่ยนความปรารถนาของเขาผ่านทางความพยายามของตัวเอง น่าเสียดายที่นี่หมายความว่าคนคนหนึ่งต้องมีความปรารถนาที่จะละทิ้งความต้องการซึ่งเป็นปัญหาที่ฝังอยู่ภายใน ชาวพุทธที่ต้องการหลุดพ้นจากความปรารถนาของตัวเองก็ยังคงปรารถนาบางสิ่งบางอย่างอยู่ ศาสนาพุทธยังไม่ได้ให้คำตอบเลยว่าคนคนหนึ่งจะเปลี่ยนหัวใจซึ่งไม่ปรารถนาที่จะเปลี่ยนและซึ่งหลอกลวงตัวเองได้อย่างไร (เยเรมีห์ 17:9, มาลาคี 9:24) ศาสนาคริสต์เตรียมคำตอบให้กับทั้งสองปัญหานี้ไว้แล้วก็คือ พระผู้ช่วยให้รอดไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ทรงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราทำ (1 โครินธ์ 6:11) แต่ยังรวมถึงสิ่งที่พวกเราต้องการที่จะทำด้วย (โรม 12:2)
มีความแตกต่างหลายอย่างระหว่างความเชื่อของชาวพุทธและของคริสเตียน ในขณะที่ศาสนาพุทธสอนว่าชีวิตคือความทุกข์ทรมาน พระคัมภีร์กลับกล่าวว่าชีวิตมีจุดประสงค์คือความชื่นชมยินดี (ยอห์น 10:10) ศานาพุทธกล่าวว่าความต้องการของตัวเองนั้นต้องมีการขจัดออกไป ในขณะที่พระคัมภีร์กล่าวว่าแต่ละคนมีค่าและมีความหมาย (ปฐมกาล 1:26-27, มัทธิว 6:26) และตัวของเรายังคงดำรงอยู่หลังความตาย (ยอห์น 14:3)
English
อริยสัจสี่คืออะไร