คำถาม
พระเยซูทรงถูกตรึงในวันศุกร์หรือ?
คำตอบ
พระคัมภีร์ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าพระเยซูถูกตรึงบนกางเขนในวันใดของสัปดาห์นั้น มีอยู่สองวันที่คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเป็นวันที่พระเยซูถูกตรึงคือ วันศุกร์และวันพุธ บางคนไม่อยากถกเถียงว่าเป็นวันใดวันหนึ่งระหว่างวันศุกร์หรือวันพุธ ก็รับเอาวันพฤหัสบดีเป็นวันที่พระเยซูถูกตรึง
พระเยซูได้กล่าวไว้ในพระคัมภีร์มัทธิว 12:40 ว่า “ด้วยว่า โยนาห์ได้อยู่ในท้องปลามหึมาสามวันสามคืนฉันใด บุตรมนุษย์จะอยู่ในท้องแผ่นดิน สามวันสามคืนฉันนั้น” สำหรับคนที่แย้งว่าพระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ในวันศุกร์นั้น เขากล่าวกันว่าจะต้องมีหนทางหนึ่งที่บ่งชี้ได้ว่าพระองค์ทรงอยู่ในหลุมพระศพเป็นเวลาสามวัน ในความคิดของชาวยิวในสมัยคริสตศักราชแรกนั้น แค่เพียงบางส่วนของวันพวกเขาก็นับเป็นหนึ่งวันเต็มได้ เนื่องจากพระเยซูทรงอยู่ในอุโมงค์พระศพของวันศุกร์ไม่เต็มวัน วันเสาร์ทั้งวัน และวันอาทิตย์ไม่เต็มวัน เมื่อคิดดังนี้ ก็ถือได้ว่าพระเยซูทรงอยู่ในอุโมงค์พระศพสามวัน หนึ่งในบรรดาข้อโต้แย้งหลัก ๆ สำหรับผู้ที่เชื่อในวันศุกร์คือ ข้อเขียนที่พบในพระคัมภีร์มาระโก 15:42 ว่า พระเยซูทรงถูกตรึง “ในวันก่อนวันสะบาโต” ถ้าในเวลานั้นเป็นสัปดาห์แห่งวันสะบาโต คือวันเสาร์ ดังนั้นข้อเท็จจริงก็คือวันศุกร์คือวันที่พระองค์ทรงถูกตรึง อีกข้อโต้แย้งหนึ่งก็คือ มีพระคัมภีร์บางตอน เช่น มัทธิว 16:21 และลูกา 9:22 เขียนไว้ว่า พระเยซูจะทรงฟื้นคืนพระชนม์ในวันที่สาม ดังนั้น พระองค์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุโมงค์ศพเป็นเวลาสามวันสามคืนเต็ม แต่เนื่องจากมีการแปลโดยใช้คำว่า “ในวันที่สาม” สำหรับข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ ดังนั้น จึงไม่ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับว่านั่นคือการแปลที่ดีที่สุดสำหรับข้อพระคัมภีร์นี้ อีกประการหนึ่ง ในพระคัมภีร์มาระโก 8:31 เขียนไว้ว่า พระเยซูจะทรงฟื้นคืนพระชนม์ “หลังจาก” สามวัน
ส่วนผู้ที่คิดว่าเป็นวันพฤหัสบดีนั้น จะไม่เห็นด้วยกับความคิดเรื่องวันศุกร์ และเรื่องหลัก ๆ ที่พวกเขาแย้งก็คือว่า ในช่วงเวลานั้น มีหลายเหตุการณ์ด้วยกัน (บ้างนับได้ว่ามีมากถึงยี่สิบเหตุการณ์) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่การฝังพระศพของพระคริสต์จนถึงเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งคือเย็นวันศุกร์จนถึงเช้าวันอาทิตย์ กลุ่มนี้ชี้ว่า ประเด็นปัญหาอยู่ที่ว่ามีเพียงวันเดียว ที่เต็มวันระหว่างวันศุกร์และวันอาทิตย์ นั่นคือวันเสาร์ซึ่งเป็นวันสะบาโตของชาวยิว วันที่เกินมาหนึ่งหรือสองวันนั้นแหละ คือวันที่ไม่ใช่ ดังนั้นวันพฤหัสบดีจึงเป็นวันที่ดูสมเหตุสมผลที่สุด โดยสมมติว่า หากคุณไม่ได้พบเพื่อนมาตั้งแต่เย็นวันจันทร์ และครั้งต่อมาที่คุณได้พบเขาคือเช้าวันพฤหัส แล้วคุณพูดว่า “ฉันไม่ได้พบคุณมาสามวันแล้ว” ถึงแม้ว่าโดยความเป็นจริงแล้วระยะเวลานั้นคือ 60 ชั่วโมงเท่านั้น (สองวันครึ่ง) ดังนั้น หากพระเยซูทรงถูกตรึงในวันพฤหัสบดี ตัวอย่างนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่าทำไมถึงนับได้สามวัน
พวกที่คิดว่าเป็นวันพุธระบุว่าในสัปดาห์นั้นมีวันสะบาโตสองวัน หลังจากวันสะบาโตวันแรก (ในเย็นวันที่พระเยซูถูกตรึง มาระโก 15:42; ลูกา 23:52-54) พวกผู้หญิงพากันไปซื้อเครื่องหอมกับน้ำมันหอม – การซื้อเครื่องหอมจะมีการซื้อกันหลังวันซะบาโต ( มาระโก 16:1) ความเชื่อเรื่องวันพุธคิดว่า “วันสะบาโตนี้” คือเทศกาลปัสกา (ดูใน เลวีนิติ 16:29-31; 23:24-32, 39) ที่บอกว่า วันศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นที่ไม่ใช่วันที่เจ็ดของสัปดาห์ คือวันสะบาโต ส่วนวันสะบาโตวันที่สองในสัปดาห์นั้น คือวันเสาร์ในสัปดาห์นั้น ซึ่งในพระคัมภีร์ลูกา 23:56 ได้เขียนไว้ว่า เหล่าพวกผู้หญิงที่ไปซื้อเครื่องหอมน้ำมันหอมหลังจากวันสะบาโตวันแรกนั้น ได้กลับไปเตรียมเครื่องหอม และ “หยุดพักในวันสะบาโต” ( ลูกา 23:56). มีข้อโต้แย้งระบุว่า พวกเขาไม่สามารถซื้อเครื่องหอมได้หลังจากวันสะบาโต หรือเตรียมเครื่องหอมก่อนวันสะบาโต ยกเว้นแต่ว่ามีวันสะบาโตสองวัน เมื่อพิจารณาในแง่มุมนี้ หากพระเยซูคริสต์ถูกตรึงบนกางเขนในวันพฤหัสบดี วันสะบาโตอันศักดิ์สิทธิ์ (ปัสกา) จะต้องเริ่มตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกในวันพฤหัสบดี และจบลงในเวลาพระอาทิตย์ตกในวันศุกร์ – ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของวันสะบาโตแห่งสัปดาห์ หรือวันเสาร์นั่นเอง การซื้อเครื่องหอมหลังจากวันสะบาโตแรก (ปัสกา) จะต้องหมายความว่า พวกเขาซื้อเครื่องหอมในวันเสาร์ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฏของวันสะบาโต
ดังนั้น ในมุมมองนี้ ระบุได้ว่า มีเพียงคำอธิบายเดียวที่จะไม่เป็นการละเมิดข้อพระคัมภีร์ในเรื่องพวกผู้หญิงและเครื่องหอม และการรักษาความเข้าใจเดิมของพระคัมภีร์มัทธิว 12:40 ก็คือ พระคริสต์ทรงถูกตรึงในวันพุธ และวันพฤหัสบดีคือวันสะบาโตอันศักดิ์สิทธิ์ (หลังจากนั้น) พวกผู้หญิงพากันไปซื้อเครื่องหอมในวันศุกร์ และกลับมาเตรียมเครื่องหอมในวันเดียวกันนั้น เสร็จแล้วหยุดพักในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันสะบาโตประจำสัปดาห์ จากนั้นจึงนำเครื่องหอมไปที่อุโมงค์พระศพในเช้าวันอาทิตย์ พระองค์ทรงถูกฝังในเวลาใกล้ตะวันตกในวันพุธ ซึ่งถือเป็นเวลาย่างเข้าสู่วันพฤหัสบดีในปฏิทินยิวเมื่อใช้ปฏิทินยิวคุณจะมีวันพฤหัสบดี (กลางคืน) วันพฤหัสบดี (กลางวัน) วันศุกร์ (คืนที่ 2) วันศุกร์ (วันที่ 2) วันเสาร์ (คืนที่ 3) และวันเสาร์ (วันที่ 3) เราไม่รู้แน่ชัดว่าพระองค์ทรงฟื้นขึ้นเมื่อใด แต่เรารู้ว่าจะต้องเป็นเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในวันอาทิตย์ (ยอห์น 20:1 “วันอาทิตย์เวลาเช้ามืด” มารีย์ชาวมักดาลามาถึงอุโมงค์ฝังศพ นางเห็นหินถูกกลิ้งออกจากปากอุโมงค์อยู่แล้ว นางจึงวิ่งไปหาซีโมนเปโตร และสาวกอีกคนหนึ่งที่พระเยซูทรงรักนั้น และพูดกับเขาว่า “เขาเอาองค์พระผู้เป็นเจ้าออกไปจากอุโมงค์แล้ว และพวกเราไม่รู้ว่าเขาเอาพระองค์ไปไว้ที่ไหน”) ดังนั้น พระองค์คงจะทรงฟื้นคืนพระชนม์ในเวลาตั้งแต่เช้ามืดทันทีที่พระอาทิตย์ตกดินในเย็นวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่ของชาวยิว
มีปัญหาอยู่ประการหนึ่งที่อาจเป็นไปได้สำหรับพวกที่เชื่อเรื่องวันพุธ นั่นก็คือ เหล่าอัครสาวกที่เดินไปกับพระเยซูบนถนนที่จะไปสู่เอ็มมาอูส ซึ่งเป็น “วันเดียวกัน”กับวันที่พระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมา (ลูกา 24:13) ซึ่งเหล่าอัครสาวกนั้นจำพระเยซูไม่ได้ และได้บอกท่านถึงเรื่องการตรึงพระเยซูบนไม้กางเขน (ข้อ 24:20) และพูดว่า “วันนี้เป็นวันที่สามตั้งแต่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น” (ข้อ 24:21) ถ้านับจากวันพุธถึงวันอาทิตย์ ก็เป็นเวลา 4 วัน คำอธิบายที่เป็นไปได้คือพวกเขาอาจจะเริ่มนับตั้งแต่เย็นวันพุธตอนที่ฝังพระศพพระองค์ ซึ่งถือเป็นเวลาเริ่มต้นของวันพฤหัสบดีของชาวยิว และจากวันพฤหัสบดีจนถึงวันอาทิตย์ก็นับได้เป็นสามวัน
ในมุมมองเหล่านี้ การที่จะทราบว่าพระคริสต์ทรงถูกตรึงบนกางเขนในวันใดของสัปดาห์นั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ถ้าหากเรื่องนี้สำคัญมาก พระคัมภีร์ของพระเจ้าจะต้องมีการระบุไว้อย่างชัดเจนถึงวันนั้น ๆ แต่สิ่งที่สำคัญคือการที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ และในทางกายภาพ พระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์จากความตายนั่นต่างหาก สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเหตุผลที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ นั่นคือเพื่อรับเอาความผิดทั้งหมดที่คนบาปทั้งหลายสมควรได้รับ ในพระคัมภีร์ยอห์น 3:16 และ ข้อ 3:36 ผู้ที่วางไว้ในพระองค์จะได้รับชีวิตนิรันดร์!
English
พระเยซูทรงถูกตรึงในวันศุกร์หรือ?