settings icon
share icon
คำถาม

ฮาเร กฤษณะคือใครและพวกเขาเชื่อเกี่ยวกับอะไร

คำตอบ


ต้นกำเนิดของฮาเร กฤษณะและเรียกอีกอย่างว่าประเพณีการบูชาพระวิษณุหรือลัทธิไวษณพของไชยธัญญะได้รับการสนับสนุนผ่านทางสมาคมระหว่างประเทศเพื่อจิตสำนึกกฤษณะ (ISKCON) ฮาเร กฤษณะเป็นนิกายลึกลับของศาสนาฮินดู โดยปรกติแล้วจะจัดประเภทเป็นรูปแบบของเอกเทวนิยมของศาสนาฮินดู ในเมื่อฮาเร กฤษณะเชื่อว่าพระทั้งหมดนั้นมีการสำแดงออกมาในหลายหลายรูปแบบของพระองค์เดียวคือพระวิษณุหรือพระกฤษณะ “ความเป็นเอกเทวนิยม” ของฮาเร กฤษณะนั้นมีความสับสนเล็กน้อย อย่างไรก็ตามในเมื่อพระกฤษณะมี “มเหสีที่เป็นนิรันดร์” ชื่อว่าศรีมตี ราธา รานี (Srimati Radharani) ทั้งกฤษณะและราธา รานีจึงเป็น “คู่เทพเจ้า”

ขบวนการฮาเร กฤษณะกำหนดอายุย้อนหลังไปตั้งแต่ศตวรรษที่สิบห้า (1486) เมื่อผู้ค้นพบคือศรีเจตันยะ มหาประภุ (Chaitanya Mahaprabhu) ได้เริ่มสอนว่าพระกฤษณะเป็นองค์พระผู้สูงสุดเหนือพระอื่นๆ มหาประภุแนะนำวิธีการอุทิศตัวด้วยความเชื่อซึ่งผู้ติดตามของประเพณีการบูชาพระวิษณุจะเข้าสู่ความสัมพันธ์กับพระกฤษณะและสำแดงการบูชาพระกฤษณะผ่านทางการร่ายรำและการสวดมนต์ การที่มหาประภุแสดงความเคารพบูชาต่อหน้าสาธารณชนทำให้มีผู้ติดตามอย่างมากมาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสิ่งที่ตรงกันข้ามอย่างชัดเจนของการแสดงออกแบบไม่มีอคติและการบำเพ็ญตบะซึ่งพบได้ทั่วไปในศาสนาฮินดู อย่างไรก็ตามข้อแตกต่างของนิกายในศาสนาฮินดูนี้มีความโดดเด่นทางด้านการยึดมั่นในพระกฤษณะ ซึ่งยังค่อนข้างเป็นศาสนาฮินดูอยู่ ในเมื่อพระกฤษณะเป็นการสำแดงพระองค์เอง (หรือ “การจุติลงมาเกิด”) ของพระวิษณุ หนึ่งในพระซึ่งสูงที่สุดในศาสนาฮินดู มากไปกว่านั้นฮาเร กฤษณะได้รักษาภควัทคีตาซึ่งเป็นคัมภีร์ของศาสนาฮินดูไว้ เช่นเดียวกับหลักคำสอนเรื่องการกลับชาติมาเกิดและกรรม

เป้าหมายท้ายที่สุดของฮาเร กฤษณะคือการมีความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมและมีการแสดงความรักกับองค์พระกฤษณะ ฮาเรคือการกล่าวถึง “ความปีติยินดีในศักยภาพของพระกฤษณะ” เนื่องจากการอุทิศตัวที่ลึกลับซึ่งแสดงออกมาผ่านการสวดมนต์และการร่ายรำ ผู้ที่เชื่อในหลักคำสอนของฮาเร กฤษณะจึงเปรียบเทียบได้กับมุสลิมในลัทธิซูฟียฺ (“นักบวชลัทธิลมวน (The Whirling Dervishes)”) และการแสดงออกอย่างลึกลับของศาสนาคริสต์ที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์การดีใจอย่างเหลือล้นและวัฏสงสารที่ลึกลับ

ฮาเร กฤษณะนั้นค่อนข้างจะเรียกร้องจากผู้ติดตามแบบมากเกินควร การมาเป็นสมาชิกนั้นเกี่ยวข้องกับการเลือกผู้รู้และการมาเป็นสาวกของเขา ผู้รู้คนนี้จำเป็นต้องบรรลุโสดาบัน มีการกล่าวไว้ว่าถ้าปราศจากผู้รู้ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเริ่มต้นคริชณะจิตสำนึก ผู้ติดตามยอมจำนนต่อผู้รู้ของพวกเขาในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณและแม้กระทั่งบูชาพวกเขาในฐานะพระ และทั้งชีวิตของคนคนหนึ่งจะต้องถูกห้อมล้อมด้วยการปฏิบัติและการอุทิศตนที่มีพระกฤษณะเป็นศูนย์กลาง ISKCON ดึงสมาชิกเข้าสู่รูปแบบที่เหมือนชุมชนซึ่งทุกอย่างมีเจตนาที่จะมีศูนย์กลางอยู่ที่พระกฤษณะ วัฒนธรรมอินเดียหรือฮินดูส่วนมากมีการนำเข้าสู่คนในสังคมเดียวกันเหล่านี้ ต้องสังเกตว่าสังคมเหล่านี้ได้รับการวิจารณ์อย่ารุนแรงจากอดีตสมาชิก และ ISKCON ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาทางอาญาที่ว่ามีการกระทำผิดกฎหมายและมีการปฏิบัติที่ผิดศีลธรรม รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศเด็กที่แพร่กระจายออกไปซึ่งเกิดขึ้นภายในขบวนการนี้

ความเชื่อของฮาเร กฤษณะโดยทั่วไปแล้วเป็นของศาสนาฮินดูและเข้ากันไม่ได้กับศาสนาคริสต์ที่เชื่อในหลักการของพระคัมภีร์ ประการแรกมุมมองสำหรับพระเจ้านั้นเป็นสรรพเทวนิยม หมายถึงการที่พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าเป็นทุกสิ่งทุกอย่างและอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง สำหรับผู้ที่เชื่อในหลักการของฮาเร กฤษณะนั้นพระเจ้าคือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกสิ่งทุกอย่างคือพระเจ้า สำหรับคริสเตียน พระเจ้าอยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง พระองค์อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทรงสร้าง หนึ่งในบัญญัติของ ISKCON คิดว่าเราประสบความสำเร็จในการมีความสัมพันธ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าด้วยตัวของเราเอง เป้าหมายของฮาเร กฤษณะคือการเข้าถึง “คริชณะจิตสำนึก” เป็นการตรัสรู้ประเภทหนึ่ง สิ่งนี้เป็นการระบุถึงพระกฤษณะแบบล้ำลึกที่สุด ตราบเท่าที่ ISKCON เป็นฮินดูอย่างแท้จริง มันสามารถกำหนดได้ว่าเป็นมุมมองทางด้านสรรพเทวนิยมที่มีต่อพระเจ้าและดังนั้นเขาก็สอนว่ามนุษย์ในท้ายที่สุดแล้วก็เป็นแบบเดียวกับพระเจ้า นี่เป็นเรื่องโกหกอันเก่าแก่ที่กำหนดอายุย้อนกลับไปถึงสวนเอเดนคือ “พวกเจ้าจะเป็นเหมือนอย่างพระเจ้า” (ปฐมกาล 3:5)

เช่นเดียวกับศาสนาเทียมเท็จทุกศาสนา ฮาเร กฤษณะเรียกร้องให้มีลำดับของการทำงานเพื่อความรอด ใช่ การอุทิศตัวและความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่มีการบรรจุลงในระบบความเชื่อของพวกเขา แต่สิ่งเหล่านี้ได้รับการสร้างขึ้นจากการทำงาน จากการฝึกฝนโยคะแบบภักติไปจนถึงการทำสมาธิต่อหน้าแท่นบูชาเพื่อเรียกร้องขอเงิน การสวดมนต์เป็นส่วนหลักของฮาเร กฤษณะ ศรีเจตันยะแนะนำให้ผู้ติดตามของเขาสวดชื่อที่บริสุทธิ์ 100,000 ชื่อทุกวัน การสวดนี้ทำให้ง่ายขึ้นโดยการใช้สร้อยประคำมาลาซึ่งเป็นสายลูกประคำที่มีลูกปัด 108 เม็ด มีการห้ามการรับประทานเนื้อ เช่นเดียวกับการกินอาหารในร้านอาหาร เนื่องจากมีความเชื่อว่าอาหารนั้นได้รับการคงไว้ซึ่งจิตสำนึกของพ่อครัว การนำอาหารซึ่งจัดเตรียมโดยพ่อครัวที่โมโหเข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้ผู้กินโมโห ในฮาเร กฤษณะมีการพลักดันให้สวดมนต์ ร่ายรำ และทำงานให้หนักมากขึ้นอยู่เสมอเพื่อมิให้หนี้กรรมบางส่วนยังคงอยู่และอาจทำให้คนคนหนึ่งต้องพลาดการจากเข้าสู่คริชณะจิตสำนึก

การปฏิเสธตัวเองและการเสียสละเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความรอดในฮาเร กฤษณะ ความรอดที่เนื่องมาจาก ISKCON นั้นเกี่ยวพันอย่างละเอียดถี่ถ้วนกับแนวความคิดเรื่องกรรมหรือกระบวนการยุติธรรมเชิงแก้แค้นทดแทนของศาสนาฮินดู การสอนนี้ต้องมีความเชื่อในการกลับชาติมาเกิดและ/หรือวัฏสงสารในจิตวิญญาณ การทำงานทั้งดีและไม่ดีของคนคนหนึ่งจะได้รับการวัดและการตัดสินหลังจากตายไปแล้ว ถ้างานที่เขาทำเป็นสิ่งที่ดีเขาก็ดำเนินในการกลับชาติมาเกิดในรูปแบบของชีวิตที่สูงขึ้นไปอีก ถ้างานที่เขาทำเป็นสิ่งที่ไม่ดีเขาก็จะกลับชาติมาเกิดในรูปแบบของชีวิตที่ต่ำลงไปเฉพาะเมื่อความดีของคนคนหนึ่งได้ถ่วงดุลความชั่วของเขาเมื่อนั้นเขาก็สามารถทำให้วัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิดสิ้นสุดลงและตระหนักว่าเขาเป็นหนึ่งเดียวกับพระกฤษณะ

พระกฤษณะแตกต่างจากพระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความกรุณาและความเมตตาในพระคัมภีร์คือเป็นผู้ซึ่ง “ทรงรักโลกดังนี้ คือได้ประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์” (ยอห์น 3:16) พระคัมภีร์นั้นกล่าวชัดเจนว่าความรอดนั้นได้มาโดยพระคุณผ่านทางความเชื่อในการสละโลหิตของพระคริสต์ (เอเฟซัส 2:8-9) “พระเจ้าทรงทำพระองค์ผู้ทรงไม่มีบาปให้บาป เพราะเห็นแก่เรา เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมของพระเจ้าทางพระองค์” (2 โครินธ์ 5:21) ไม่มีความดีใดที่สามารถทำให้ใครก็ตามได้รับความรอด ฮาเร กฤษณะก็เหมือนกับมนุษยชาติทั้งหมดซึ่งมีเพียงแค่ความหวังเดียวสำหรับชีวิตนิรันดร์นั่นคือพระเยซูคริสต์ ผู้ถูกตรึงกางเขน ฟื้นคืนพระชนม์ และได้รับยกย่องสรรเสริญตลอดไป ส่วนเส้นทางอื่นๆ ทั้งหมดนั้นนำไปสู่ความพินาศ พระเยซูเองตรัสว่า “เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต ไม่มีใครมาถึงพระบิดาได้นอกจากจะมาทาง” (ยอห์น 14:6) “ในผู้อื่นความรอดไม่มีเลย เพราะว่านามอื่นซึ่งให้เราทั้งหลายรอดได้นั้น ไม่โปรดให้มีท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า” (กิจการ 4:12)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ฮาเร กฤษณะคือใครและพวกเขาเชื่อเกี่ยวกับอะไร
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries