คำถาม
เราสามารถเรียนรู้อะไรจากชีวิตของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา
คำตอบ
แม้ว่าชื่อของเขาจะบอกเป็นนัยว่าเขาให้บัพติศมาแก่ผู้อื่น (ซึ่งเขาได้ทำ) ชีวิตของยอห์นบนโลกนั้นมากกว่าการให้บัพติศมา ชีวิตวัยผู้ใหญ่ของยอห์นแสดงลักษณะพิเศษของการอุทิศตัวและการยอมจำนนต่อพระเยซูคริสต์และอาณาจักรของพระองค์ เสียงของยอห์นเป็น “เสียงของคนที่ร้องประกาศในถิ่นทุรกันดาร” (ยอห์น 1:23) ตามที่เขาประกาศการมาของพระเมสสิยาห์ต่อกลุ่มคนที่จำเป็นต้องมีพระผู้ช่วยให้รอด เขาเป็นผู้ที่มาก่อนสำหรับการประกาศข่าวประเสริฐในปัจจุบันตามที่เขาประกาศข่าวดีของพระเยซูคริสต์โดยที่ไม่มีความละอายใจ เขาเป็นชายผู้ที่เต็มเปี่ยไปด้วยความเชื่อและเป็นแบบอย่างสำหรับผู้คนอย่างเราที่หวังว่าจะแบ่งปันความเชื่อของเรากับผู้อื่น
ส่วนมากทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้เชื่อหรือที่ไม่ใช่ผู้เชื่อที่เหมือนกันคือ เคยได้ยินเรื่องราวของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา เขาเป็นหนึ่งในบุคคลซึ่งสำคัญมากที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในพระคัมภีร์ ยอห์นเป็นที่รู้จักว่าเป็น “ผู้ให้รับบัพติศมา” ในความเป็นจริงแล้วเขาเป็นผู้พยากรณ์คนแรกที่พระเจ้าทรงเรียกตั้งแต่มาลาคีคือประมาณ 400 ปีก่อนหน้าเขา การมาของยอห์นมีการพยากรณ์ไว้เมื่อ 700 ปีก่อนหน้านี้โดยผู้เผยพระวจนะอีกท่านหนึ่งคือ “เสียงหนึ่งร้องว่า “จงเตรียมมรรคาของพระยาห์เวห์ในถิ่นทุรกันดาร จงทำทางหลวงในที่ราบแห้งแล้งให้ตรงสำหรับพระเจ้าของเรา หุบเขาทุกแห่งจะถูกถมสูงขึ้น ภูเขาและเนินเขาทุกลูกจะปรับให้ต่ำลง ที่ลุ่มๆ ดอนๆ จะทำให้เสมอ และที่สูงๆ ต่ำๆ จะให้ราบเรียบ และพระสิริของพระยาห์เวห์จะปรากฏ แล้วมนุษย์ทุกคนจะมองเห็นด้วยกัน เพราะพระโอษฐ์ของพระยาห์เวห์ตรัสไว้แล้ว”” (อิสยาห์ 40:3-5) ตอนนี้แสดงให้เห็นถึงแผนหลักที่เป็นการกระทำของพระเจ้าตามที่พระเจ้าทรงเลือกยอห์นให้เป็นทูตพิเศษของพระองค์เพื่อประกาศการมาของพระองค์เอง
การเกิดของยอห์นนั้นอัศจรรย์ เขาเกิดจากพ่อแม่สูงอายุผู้ซึ่งไม่เคยที่จะสามารถมีลูกได้ (ลูกา 1:7) ทูตสวรรค์กาเบรียลประกาศต่อเศคาริยาห์ ปุโรหิตชาวเลวีว่าเขาจะมีลูก เป็นข่าวที่เศคาริยาห์รับมาด้วยความสงสัย (ข้อ 8-18) กาเบรียลบอกสิ่งนี้เกี่ยวกับยอห์นคือ “เพราะว่าเขาจะเป็นใหญ่ในสายพระเนตรขององค์พระผู้เป็นเจ้า เขา...เขาจะประกอบไปด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ตั้งแต่ครรภ์มารดา เขาจะนำคนอิสราเอลหลายคนให้หันกลับมาหาองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของเขาทั้งหลาย เขาจะนำหน้าพระองค์โดยแสดงอารมณ์และฤทธิ์เดชอย่างเอลียาห์...เพื่อจัดเตรียมชนชาติหนึ่งไว้ให้สมแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า” (ข้อ 15-17) เป็นความจริงตามพระดำรัสขององค์พระผู้เป็นเจ้า ภรรยาของเศคาริยาห์คือ เอลีซาเบธให้กำเนิดยอห์น ในพิธีเข้าสุหนัตนั้นเศคาริยาห์บอกเกี่ยวกับลูกของเขาว่า “ส่วนเจ้า ลูกของพ่อ เจ้าจะได้ชื่อว่าผู้เผยพระวจนะขององค์ผู้สูงสุด เพราะเจ้าจะนำหน้าองค์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อเตรียมทางสำหรับพระองค์” (ข้อ 76)
ยอห์นนั้นมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับพระเยซูเนื่องจากว่าแม่ของพวกเขาเป็นญาติกัน (ลูกา 1:36) ตามความเป็นจริงแล้วเมื่อทูตสวรรค์กาเบรียลบอกมารีย์ว่าเธอจะให้กำเนิดพระเยซู เขาก็บอกเธอเกี่ยวกับยอห์นเช่นเดียวกัน เมื่อมารย์กำลังอุ้มท้องพระเยซูเธอไปเยี่ยมอาลิซาเบธและยอห์นก็กระโดดโลดเต้นอยู่ในท้องแม่ของเขาด้วยความยินดีจากเสียงของมารีย์ (ลูกา 1:39-45)
ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่นั้นยอห์นดำเนินชีวิตอย่างห้าวหาญในภูเขาในแถบยูเดีย ระหว่างเมืองเยรูซาเล็มและทะเลตาย เขาสวมชุดที่ทำด้วยขนอูฐและใส่เข็มขัดที่ทำด้วยหนังไว้รอบเอวของเขา เป็นเครื่องแต่งตัวแบบปกติของผู้เผยพระวจนะ อาหารของเขานั้นเรียบง่ายคือ จักจั่นและน้ำผึ้งป่า (มัทธิว 3:4) ยอห์นดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายในขณะที่มุ่งเน้นไปที่งานของอาณาจักรสวรรค์ที่มีการตั้งไว้ให้เขาทำ
พันธกิจของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาเติบโตขึ้นอย่างเป็นที่นิยม ตามที่มีการบรรยายไว้ในมัทธิว 3:5-6 คือ “ประชาชนจากกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดียและทั่วแถบแม่น้ำจอร์แดนพากันมาหาเขา เมื่อพวกเขาสารภาพบาปทั้งหลายของตนแล้ว ยอห์นก็ให้พวกเขารับบัพติศมาในแม่น้ำจอร์แดน” การที่จะรับบัพติศมาจากยอห์นคือการยอมรับความบาปและสำนึกผิดในบาปนั้นคือแน่นอนว่าเป็นทางที่ดีมากสำหรับการต้อนรับการมาของพระผู้ช่วยให้รอด การสำนึกผิดที่สัมพันธ์กับการบัพติศมาของยอห์นยังคงทำให้ไม่จมอยู่กับความมั่นใจว่าตัวเองทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นคนชอบธรรม เนื่องจากง่าพวกเขาไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นคนบาป สำหรับผู้ที่ความมั่นใจว่าตัวเองทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นคนชอบธรรมนั้นยอห์นมีคำที่รุนแรงซึ่งเรียกพวกเขาว่าเป็น “ชาติงูร้าย” และเตือนพวกเขาไม่ให้พึ่งพาเชื้อสายยิวของพวกเขาสำหรับความรอด แต่ให้กลับใจและ “เกิดผลให้สมกับการกลับใจ” (มัทธิว 3:7-10) ผู้คนในสมัยนั้นไม่ได้กำหนดผู้นำ การลงโทษหรือสิ่งอื่นๆ ทางศาสนา แต่ความเชื่อของยอห์นทำให้เขาไม่กลัวในการเผชิญหน้ากับการต่อต้าน
ความคิดเห็นทั่วไปของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาคือว่าเขาเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า (มัทธิว 14:5) และหลายๆ คนอาจจะคิดว่าเขาเป็นพระเมสสิยาห์ นั่นไม่ใช่ความตั้งใจของเขา เนื่องจากว่าเขามีนิมิตที่ชัดเจนในสิ่งที่เขาถูกเรียกให้ทำ ในยอห์น 3:28 กล่าวว่า “พวกท่านเองก็เป็นพยานว่า ข้าพเจ้าพูดว่าข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระคริสต์ แต่ข้าพเจ้าได้รับพระบัญชาให้นำเสด็จพระองค์” ยอห์นตักเตือนสาวกของเขาว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นและได้ยินเป็นเพียงการเริ่มต้นของการอัศจรรย์ที่จะมาในรูปแบบของพระเยซูคริสต์ ยอห์นเป็นเพียงแค่ผู้สื่อสารที่พระเจ้าส่งมาเพื่อประกาศความจริง ข้อความของเขานั้นเรียบง่ายและตรงไปตรงมาคือ “จงกลับใจใหม่ เพราะว่าแผ่นดินสวรรค์มาใกล้แล้ว” (มัทธิว 3:2) เขารู้ว่าเมื่อพระเยซูปรากฏพระองค์เข้ามาในฉาก งานของยอห์นก็จะจบสิ้น เขายอมด้วยหัวใจที่จะให้พระเยซูโดดเด่นด้วยการกล่าวว่า “พระองค์ต้องยิ่งใหญ่ขึ้น แต่ข้าพเจ้าต้องด้อยลง” (ยอห์น 3:30)
เป็นไปได้ว่าไม่มีตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่ใดในด้านความถ่อมใจที่เราเห็นจกาทั้งพระเยซูและยอห์นในมัทธิว 3:13-15 พระเยซูมาจากกาลิลีเพื่อจะรับบัพติศมาโดยยอห์นในแม่น้ำจอร์แดน ยอห์นยอมรับในทันทีว่าพระบุตรของพระเจ้าไม่ต้องรับบัพติศมาแห่งการสำนึกผิดและเขาเองก็ไม่คู่ควรที่จะให้บัพติศมาแด่พระผู้ช่วยให้รอดของเขาเอง แต่พระเยซูตอบความกังวลของยอห์นด้วยการขอบัพติศมา ”เพื่อให้ความชอบธรรมทั้งหมดสำเร็จ” หมายถึงว่าพระองค์กำลังพิสูจน์พระองค์เองกับคนบาปผู้ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วพระองค์จะทรงเสียสละพระองค์เองเพื่อ ดังนั้นเป็นการรับรองความชอบธรรมเพื่อพวกเขา (2 โครินธ์ 5:21) ด้วยความถ่อมใจนั้นยอห์นเชื่อฟังและยินยอมที่จะให้บัพติศมาแก่พระเยซู (มัทธิว 3:13-15) ขณะที่พระเยซูขึ้นมาจากน้ำ “ฟ้าสวรรค์ก็เปิดออก และพระองค์ทรงเห็นพระวิญญาณของพระเจ้าดุจนกพิราบลงมาประทับอยู่กับพระองค์ และมีพระสุรเสียงตรัสจากฟ้าสวรรค์ว่า “นี่เป็นลูกของเรา ผู้ที่เรารัก เราพอใจเขายิ่งนัก” (ข้อ 16-17)
หลังจากนั้นกษัตริย์เฮโรดนำยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาเข้าคุก เฮโรดได้แต่งงานกับภรรยาคนก่อนของฟีลิปน้องชายของเขา ยอห์นกล่าวต่อต้านการแต่งงานนี้ อย่างกล้าหาญ มากจนนางเฮโรเดียสภรรยาคนใหม่ของเฮโรดไม่ชอบเขา (ลูกา 3:19-20, มาระโก 6:17-20) ในขณะที่ยอห์นอยู่ในคุก เขาได้ยินถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเยซูทรงกระทำ ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสงสัย ยอห์นส่งสาวกของเขาไปหาพระเยซูเพื่อถามว่าเขาเป็นพระเมสสิยาห์ที่แท้จริงหรือไม่ พระเยซูทรงตอบสนองด้วยการบอกผู้ชายเหล่านั้นให้บอกยอห์นถึงสิ่งพวกเขาเห็นและได้ยิน การพยากรณ์กำลังสำเร็จ พระเยซูไม่เคยตำหนิยอห์น ในทางกลับกันพระองค์ทรงให้หลักฐานที่ว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดที่ทรงสัญญาไว้ (มัทธิว 11:2-6, ลูกา 7:18-23) จากนั้นพระเยซูทรงตรัสกับฝูงชนเกี่ยวกับยอห์นโดยบอกว่าเขาเป็นผู้ส่งสารที่มีการพยากรณ์ไว้ผู้ซึ่งจะมาก่อนพระเมสสิยาห์ (มัทธิว 11:10, ลูกา 7:27 ให้เปรียบเทียบกับมาลาคี 3:1) พระเยซูตรัสเช่นเดียวกันว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านว่าในบรรดาผู้ที่เกิดจากผู้หญิงไม่มีคนไหนยิ่งใหญ่กว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมา กระนั้นผู้ต่ำต้อยที่สุดในอาณาจักรสวรรค์ก็ยังยิ่งใหญ่กว่ายอห์น” (มัทธิว 11:11, ลูกา 7:28)
พันธกิจของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาเช่นเดียวกับชีวิตของเขานั้นมาถึงอย่างปัจจุบันทันด่วนในตอนท้ายในพระหตถ์ของกษัตริย์เฮโรด ด้วยการกระทำการแก้แค้นที่เลวร้ายจนอธิบายไม่ได้ นางเฮโรเดียสออกอุบายร่วมกับลูกสาวของเธอเพื่อที่จะฆ่ายอห์น ลูกสาวของนางเฮโรเดียสเต้นรำให้เฮโรดและแขกในมื้ออาหารเย็นได้ดูในคืนหนึ่ง และเฮโรดพอใจเธอมากจนกล่าวกับเธอว่า “จงขอสิ่งที่เจ้าต้องการแล้วเราจะให้ตามที่เจ้าขอ” (มาระโก 6:22) หญิงสาวปรึกษากับแม่ของเธอก่อนที่เธอจะตอบว่าอยากได้หัวของยอห์นใส่ถาด (ข้อ 25) เฮโรดกลัวยอห์น “เพราะรู้ว่าเขาเป็นผู้ชอบธรรมและบริสุทธิ์” (ข้อ 20) และจึงไม่เต็มใจที่จะฆ่าผู้เผยพระวจนะคนนี้ แต่เขาได้สัญญาว่าจะให้สิ่งที่หญิงสาวซึ่งเต้นอยากได้ ในเมื่อยอห์นอยู่ในคุกอยู่แล้ว มันก็เป็นเรื่องง่ายที่จะส่งเพชฌฆาตเพื่อไปตัดหัวยอห์น ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน (มาระโก 6:27-28) เป็นการจบชีวิตที่เศร้าและต่ำต้อยของผู้ที่สัตย์ซื่อเหลือเกิน
มีบทเรียนมากมายที่เราสามารถเรียนรู้จากชีวิตของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา หนึ่งบทเรียนคือการเชื่อในพระเยซูคริสต์อย่างเต็มใจนั้นเป็นไปได้ ยอห์นรู้ว่าพระเมสสิยาห์กำลังมา เขาเชื่อด้วยสุดหัวใจของเขาและใช้ชีวิตแต่ละวัน “เพื่อเตรียมทางไว้ให้ท่านล่วงหน้า” (มัทธิว 11:10) แต่เส้นทางไม่ได้ง่ายที่จะเตรียม ทุกๆ วันเขาพบกับผู้ที่สงสัยและไม่ได้ร่วมแบ่งปันความกระตือรือร้นร่วมกับเขาสำหรับการมาของพระเมสสิยาห์ ภายใต้ความสงสัยย่างแรงกล้าของพวกฟาริสี ยอห์นได้แบ่งปันความเชื่อของเขาคือ “เราให้บัพติศมาด้วยน้ำ แต่มีผู้หนึ่งในหมู่พวกท่านซึ่งพวกท่านไม่รู้จัก พระองค์ทรงเป็นผู้ที่จะมาภายหลังเรา เราไม่คู่ควรแม้แต่จะแก้สายรัดฉลองพระบาทของพระองค์” (ยอห์น 1:26-27) ยอห์นเชื่อในพระคริสต์และความเชื่อที่ยิ่งใหญ่ของเขาทำให้เขาแน่วแน่มั่นคงในเส้นทางของเขาจนกระทั่งเวลาที่สามารถกล่าวในขณะที่พระเยซูเข้ามาคือ “จงดูพระเมษโปดกของพระเจ้า ผู้ทรงรับบาปของโลกไป!” (ยอห์น 1:29) ในฐานะผู้เชื่อเราสามารถมีความเชื่อที่แน่วแน่มั่นคงนี้ได้
ในขณะที่มันยากที่จะรู้อย่างแน่ชัดว่ายอห์นมีความรู้สึกอย่างไรเมื่อเขานั่งอยู่ในคุก แน่นอนว่าดูเหมือนว่าเขาจะมีความสงสัย แต่ยอห์นส่งสารออกไปยังพระเยซูเพื่อพยายามค้นหาความจริง ในฐานะคริสเตียนเราทุกคนต้องได้รับการทดสอบความเชื่อ และเราก็จะขาดความมั่นใจในความเชื่อของเราหรือเหมือนกับยอห์น ยึดติดอยู่กับพระคริสต์ แสวงหาความจริง และยืนหยัดมั่นคงในความเชื่อของเราจนสุดท้าย
ชีวิตของยอห์นเป็นตัวอย่างแก่เราในด้านความจริงจังซึ่งเราต้องเผชิญในชีวิตคริสเตียนและการทรงเรียกไปยังพันธกิจของเรา ไม่ว่าจะเป็นในด้านใดก็ตาม ยอห์นดำเนินชีวิตด้วยการแนะนำผู้อื่นให้รู้จักกับพระเยซูคริสต์คือ เขามุ่งเน้นไปที่พันธกิจซึ่งพระเจ้าได้ทรงมอบหมายให้กับเขา ยอห์นยังคงรู้ความสำคัญคัญของการสำนึกผิดในความบาปของคนคนหนึ่งเพื่อดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์และชอบธรรม รวมถึงในฐานะผู้รับใช้พระเจ้า เขายังคงไม่กลัวที่จะกล่าวความจริง แม้ว่ามันจะหมายถึงการเรียกผู้คนออกไป เช่นเฮโรดและพวกฟาริสีสำหรับพฤติกรรมซึ่งบาปของพวกเขา
ยอห์นมอบความไว้วางใจให้ด้วยพันธกิจที่ไม่เหมือนใคร แต่เราเช่นเดียวกันได้รับการเรียกให้แบ่งปันความจริงของพระเยซูแก่ผู้อื่น (มัทธิว 28:18-20, ยอห์น 13:34, 1 เปโตร 3:15, 2 โครินธ์ 5:16-21) เราสามารถทำตามตัวอย่างของยอห์นในการวางฝจพระเจ้าอย่างสัตย์ซื่อและด้วยการเชื่อฟัง ในขณะที่เราดำเนินชีวิตและประกาศความจริงของพระองค์ไม่ว่าจะในเหตุการณ์ใดก็ตามที่พระเจ้าทรงประทานให้กับเรา
English
เราสามารถเรียนรู้อะไรจากชีวิตของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา