คำถาม
ใครเมลคีเซเดค?
คำตอบ
เมลคีเซเดค ชื่อนี้หมายถึง "กษัตริย์แห่งความชอบธรรม" ทรงเป็นกษัตริย์แห่งซาเลม (เยรูซาเล็ม) และปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด ปฐมกาล 14:18–20 “เมลคีเซเดคผู้เป็นทั้งกษัตริย์เมืองซาเลม และปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด ก็นำขนมปังกับเหล้าองุ่นมาให้
แล้วอวยพรท่าน “ขอพระเจ้าผู้สูงสุดผู้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดิน จงโปรดให้อับรามได้รับพระพรเถิด สาธุการแด่พระเจ้าผู้สูงสุด ผู้ทรงมอบศัตรูทั้งหลายไว้ในเงื้อมมือของท่าน” อับรามก็ยกหนึ่งในสิบจากข้าวของนั้นถวาย แก่กษัตริย์เมลคีเซเคด”
บทเพลงสดุดี 110:4 “พระเจ้าทรงปฏิญาณแล้วและจะไม่เปลี่ยนพระทัยของพระองค์ “เจ้าเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามอย่างของเมลคีเซเดค”
ฮีบรู 5:6–11”และได้ตรัสอีกแห่งหนึ่งว่า ท่านเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค ฝ่ายพระเยซูขณะเมื่อพระองค์ทรงเป็นมนุษย์อยู่นั้น พระองค์ได้ทรงร้องอธิษฐาน และทูลวิงวอนด้วยน้ำพระเนตรไหล ต่อพระเจ้าผู้ทรงสามารถช่วยพระองค์ให้พ้นจากความตายได้ และพระเจ้าได้ทรงสดับเนื่องด้วยความยำเกรงของพระเยซู ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงเป็นพระบุตร พระองค์ก็ทรงเรียนรู้ที่จะนอบน้อมยอมเชื่อฟัง โดยความทุกข์ลำบากที่พระองค์ได้ทรงทน เมื่อพระเจ้าทรงทำให้พระเยซูเพียบพร้อมทุกประการแล้ว พระเยซูก็เลยทรงเป็นแหล่ง กำเนิดแห่งความรอดนิรันดร์ สำหรับคนทั้งปวงที่เชื่อฟังพระองค์ โดยพระเจ้าได้ทรงตั้งพระองค์ให้เป็นมหาปุโรหิต ตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค เรื่องเกี่ยวกับมหาปุโรหิตนั้นมีมากและยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ เพราะว่าท่านทั้ง หลายกลายเป็นคนหูตึงเสียแล้ว”
ฮีบรู 6:20—7:28 “ที่พระเยซูผู้ทรงนำหน้าได้เสด็จเข้าไปก่อนเพื่อเราแล้ว เพราะพระองค์ได้ทรงรับการแต่งตั้งเป็นมหาปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามแบบอย่างเมลคีเซเดคนั้น เมลคีเซเดคผู้นี้คือกษัตริย์เมืองซาเลม เป็นปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด ได้พบอับราฮัม ขณะที่กำลังกลับมาจากการรบกับกษัตริย์ทั้งหลายนั้น และได้อวยพรแก่อับราฮัม อับราฮัมก็ได้ถวายของหนึ่งในสิบแห่งของทั้งปวงแก่เมลคีเซเดค เมลคีเซเดคนั้นเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความชอบธรรม ตามความหมายของนามของท่าน และเป็นกษัตริย์แห่งสันติสุข ตามความหมายของชื่อเมืองซาเลม บิดามารดาและตระกูลของท่านไม่มีกล่าวไว้ วันเกิดวันตายก็เช่นกัน แต่เป็นเหมือนพระบุตรของพระเจ้า เมลคีเซเดคนั้นแหละดำรงอยู่เป็นปุโรหิตชั่วกัปป์ชั่วกัลป์ จงคิดดูเถิด ท่านผู้นี้ยิ่งใหญ่เพียงไร ที่อับราฮัมผู้เป็นพ่อหมู่ของเรานั้น ยังได้ชักหนึ่งในสิบแห่งของริบนั้นมาถวายแก่ท่าน และบรรดาเชื้อสายของเลวี ซึ่งได้รับตำแหน่งปุโรหิตนั้น ถึงแม้ว่าท่านเหล่านั้นสืบเชื้อสายจากอับราฮัม ก็ยังมีพระบัญญัติสั่งให้รับทศางค์จากบรรดาประชาชน คือจากพวกพี่น้องของตน
แต่เมลคีเซเดคผู้นี้ไม่ใช่เชื้อสายพวกเขา แต่ก็ยังได้รับทศางค์จากอับราฮัม และได้อวยพรให้อับราฮัม ผู้ที่ได้รับพระสัญญาจากพระเจ้า สิ่งที่ค้านไม่ได้ คือผู้น้อยเป็นผู้รับพรและผู้ใหญ่เป็นผู้ให้พร อีกประการหนึ่ง ในกรณีของปุโรหิตเผ่าเลวีนั้น มนุษย์ที่ต้องตายเป็นผู้รับทศางค์ แต่ในกรณีของเมลคีเซเดคผู้ที่รับทศางค์นั้น มีหลักฐานในพระคัมภีร์ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ ถ้าจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่า เลวีผู้ที่รับทศางค์นั้นก็ได้ถวายทศางค์แก่เมลคีเซเดคทางอับราฮัม เพราะว่าขณะนั้นเขายังอยู่ในสายเลือดของบรรพบุรุษคืออับราฮัม ขณะที่เมลคีเซเดคได้พบกับอับราฮัม อย่างไรก็ดี ถ้าพวกปุโรหิตเผ่าเลวีนำมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ได้ ด้วยว่าประชาชนได้รับธรรมบัญญัติโดยระบบนี้ ไฉนจะต้องมีปุโรหิตอีกตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค แทนพวกปุโรหิตตามแบบอย่างของอาโรนเล่า เพราะเมื่อตำแหน่งปุโรหิตเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ธรรมบัญญัติก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยน แปลงไปด้วย เพราะว่าท่านที่เรากล่าวถึงนั้นมาจากเผ่าอื่น ซึ่งเป็นเผ่าที่ยังไม่มีผู้ใดเคยทำหน้าที่ปรนนิบัติที่แท่นบูชาเลย และเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรานั้น ได้ทรงสืบเชื้อสายมาจากเผ่ายูดาห์ โมเสสไม่ได้ว่าจะมีปุโรหิตมาจากเผ่านั้นเลย ข้อนี้ประจักษ์ชัดยิ่งขึ้นอีก เมื่อปรากฏว่ามีปุโรหิตอีกผู้หนึ่งเกิดขึ้น ตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค ผู้ซึ่งเป็นปุโรหิตโดยไม่ได้รับการแต่งตั้งตามบัญญัติเรื่องเชื้อสาย แต่โดยฤทธิ์เดชแห่งชีวิตอันไม่สามารถจะทำลายได้ เพราะมีพยานกล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค พระบัญญัติที่มีอยู่เดิมนั้นก็ได้ยกเลิกไป เพราะขาดฤทธิ์และไร้ประโยชน์ เพราะธรรมบัญญัตินั้นไม่สามารถนำมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ได้ แต่ในเวลาเดียวกันเราก็ได้รับความหวังที่ดีกว่านั้น ซึ่งโดยความหวังนั้นเอง เราจึงจะเข้าใกล้พระเจ้าได้ ที่ว่าดีกว่านั้นก็เพราะว่า ปุโรหิตใหม่คนนี้พระเจ้าทรงตั้งขึ้นโดยทรงสาบานไว้ บรรดาปุโรหิตเผ่าเลวีนั้นไม่มีการกล่าวปฏิญาณเมื่อเขาเข้ารับตำแหน่ง แต่ส่วนปุโรหิตใหม่นี้มีคำกล่าวปฏิญาณว่า “พระเจ้าทรงปฏิญาณแล้ว และจะไม่ทรงเปลี่ยนพระทัย ท่านเป็นปุโรหิตตลอดกาลW ข้อนี้กระทำให้พันธสัญญาที่พระเยซูทรงรับประกันนั้น ดีกว่าพันธสัญญาเก่าสักเพียงใด ปุโรหิตเผ่าเลวีนั้นมีการสืบตำแหน่งกันหลายคน เพราะความตายขัดขวางไม่ให้เขาปฏิบัติงานได้ตลอดไป
แต่พระเยซูนี้ ทรงดำรงตำแหน่งปุโรหิตตลอดกาล เพราะพระองค์ทรงดำรงชีวิตอยู่เป็นนิตย์ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงสามารถเป็นนิตย์ที่จะช่วยคนทั้งปวงที่ได้เข้ามาถึงพระเจ้าโดยทางพระองค์นั้นให้ได้รับความรอด เพราะว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่เป็นนิตย์ เพื่อช่วยทูลขอพระกรุณาให้คนเหล่านั้น มหาปุโรหิตเช่นนี้แหละที่เหมาะสำหรับเรา คือเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากอุบายไร้มลทิน แยกจากคนบาปทั้งปวง ประทับอยู่สูงกว่าฟ้าสวรรค์ พระองค์ไม่ต้องทรงนำเครื่องบูชามาทุกวันๆ ดังเช่นมหาปุโรหิตอื่นๆ ผู้ซึ่งตอนแรกถวายสำหรับความผิดของตัวเอง แล้วจึงถวายสำหรับความผิดของประชาชน ส่วนพระเยซูได้ทรงถวายเครื่องบูชาเพียงครั้งเดียว คือเมื่อพระองค์ได้ทรงถวายพระองค์เองต่อพระเจ้า แท้จริงมหาปุโรหิตที่ได้รับการแต่งตั้งตามธรรมบัญญัตินั้น ก็เป็นมนุษย์ที่อ่อนแอ แต่พระปฏิญาณของพระเจ้าซึ่งได้ตรัสภายหลังธรรมบัญญัตินั้น ได้ทรงแต่งตั้งพระบุตรขึ้น ผู้ซึ่งถึงความสำเร็จเป็นนิตย์” การปรากฏชื่อของเมลคีเซเดคอย่างฉับพลันและหายไปไม่ปรากฎอีกในหนังสือปฐมกาลเป็นเรื่องค่อนข้างลึกลับ
เมลคีเซเดและอับราฮัมพบกันครั้งแรกหลังจากอับราฮัมรบชนะต่อเคโดลาร์โอเมอร์และพันธมิตรทั้งสามของพระองค์ เมลคีเซเดได้เสนอมอบขนมปังและไวน์แก่อับราฮัมและผู้คนที่เหนื่อยล้าของเขาแสดงให้เห็นถึงมิตรภาพ เขากล่าวให้ศีลให้พรแก่อับราฮัมในนามของเอล เอลีโอน ("พระเจ้าผู้สูงสุด") และสรรเสริญพระเจ้าที่ทรงประทานให้อับราฮัมประสบชัยชนะในการสู้รบ
ปฐมกาล 14:18–20 “เมลคีเซเดคผู้เป็นทั้งกษัตริย์เมืองซาเลม และปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด ก็นำขนมปังกับเหล้าองุ่นมาให้ แล้วอวยพรท่าน “ขอพระเจ้าผู้สูงสุดผู้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดิน จงโปรดให้อับรามได้รับพระพรเถิด สาธุการแด่พระเจ้าผู้สูงสุด ผู้ทรงมอบศัตรูทั้งหลายไว้ในเงื้อมมือของท่าน” อับรามก็ยกหนึ่งในสิบจากข้าวของนั้นถวาย แก่กษัตริย์เมลคีเซเคด” อับราฮัมได้ยกถวายหนึ่งในสิบของรายการทั้งหมดที่เขาได้รวบรวมแก่เมลคีเซเด
โดยการกระทำนี้อับราฮัมได้แสดงให้เห็นว่าเขาได้ยอมรับเมลคีเซเดคเป็นปุโรหิตฝ่ายจิตวิญญาณที่อยู่สูงกว่าเขา ในบทเพลงสดุดีบทที่ 110 เป็นบทเพลงสดุดีพระเมสสิยาห์ เขียนโดยดาวิด เมลคีเซเดคถูกยกขึ้นเป็นแบบพระคริสต์
บทเพลงสดุดี 110 “พระเจ้าตรัสกับพระองค์ผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าว่า ‘จงนั่งที่ข้างขวาของเรา จนกว่าเราจะกระทำให้ศัตรูของเจ้าเป็นแท่นรองเท้าของเจ้า’ พระเจ้าทรงใช้คทาทรงฤทธิ์ของพระองค์ท่านไปจากศิโยน จงครอบครองท่ามกลางศัตรูของพระองค์ท่านเถิด ชนชาติของพระองค์ท่านจะสมัครถวายตัวของเขาด้วย ความเต็มใจ ในวันที่พระองค์ท่านนำพลโยธาของพระองค์ท่านไปบนภูเขาบริสุทธิ์ จากครรภ์ของอรุโณทัย น้ำค้างแห่งวัยหนุ่มเป็นของพระองค์ท่าน พระเจ้าทรงปฏิญาณแล้ว และจะไม่เปลี่ยนพระทัยของพระองค์ “เจ้าเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามอย่างของเมลคีเซเดค”
องค์พระผู้เป็นเจ้าประทับข้างขวาหัตถ์ของพระองค์ท่าน พระองค์ทรงทลายบรรดาพระราชาในวันที่ทรงพระพิโรธ พระองค์ทรงกระทำการพิพากษาท่ามกลางประชาชาติ ให้ซากศพเต็มไปหมด พระองค์จะทรงทลายผู้เป็นประมุขทั่วแผ่นดินโลกอันกว้างขวาง พระองค์ท่านจะทรงดื่มจากลำธารข้างทาง ฉะนั้นพระองค์ท่านจะทรงผงกพระเศียรขึ้น”
มัทธิว 22:43 “พระองค์ตรัสถามเขาว่า “ถ้าอย่างนั้นเป็นไฉนดาวิด โดยเดชพระวิญญาณจึงได้เรียกพระองค์ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้า และรับสั่งว่า”
หัวข้อเรื่องนี้กล่าวซ้ำอีกครั้งในหนังสือฮีบรู ที่ทั้งเมลคีเซเดและพระคริสต์ได้รับการพิจารณาเป็นกษัตริย์แห่งความชอบธรรมและความสงบสุข โดยการอ้างเมลคีเซเดคและเอกลักษณ์ความปุโรหิตของเขาเป็นแบบ นักเขียนแสดงให้เห็นว่าความเป็นปุโรหิตใหม่ของพระคริสต์อยู่เหนือกว่าลำดับตำแหน่งเดิมของพวกเลวี และความเป็นปุโรหิตของอาโรน
ฮีบรู 7:1–10 “เมลคีเซเดคผู้นี้คือกษัตริย์เมืองซาเลม เป็นปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด ได้พบอับราฮัม ขณะที่กำลังกลับมาจากการรบกับกษัตริย์ทั้งหลายนั้น และได้อวยพรแก่อับราฮัม อับราฮัมก็ได้ถวายของหนึ่งในสิบแห่งของทั้งปวงแก่เมลคีเซเดค เมลคีเซเดคนั้นเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความชอบธรรม ตามความหมายของนามของท่าน และเป็นกษัตริย์แห่งสันติสุข ตามความหมายของชื่อเมืองซาเลม บิดามารดาและตระกูลของท่านไม่มีกล่าวไว้ วันเกิดวันตายก็เช่นกัน แต่เป็นเหมือนพระบุตรของพระเจ้า เมลคีเซเดคนั้นแหละดำรงอยู่เป็นปุโรหิตชั่วกัปป์ชั่วกัลป์ จงคิดดูเถิดท่านผู้นี้ยิ่งใหญ่เพียงไร ที่อับราฮัมผู้เป็นพ่อหมู่ของเรานั้น ยังได้ชักหนึ่งในสิบแห่งของริบนั้นมาถวายแก่ท่าน และบรรดาเชื้อสายของเลวี ซึ่งได้รับตำแหน่งปุโรหิตนั้น ถึงแม้ว่าท่านเหล่านั้นสืบเชื้อสายจากอับราฮัม ก็ยังมีพระบัญญัติสั่งให้รับทศางค์จากบรรดาประชาชน คือจากพวกพี่น้องของตน แต่เมลคีเซเดคผู้นี้ไม่ใช่เชื้อสายพวกเขา แต่ก็ยังได้รับทศางค์จากอับราฮัม และได้อวยพรให้อับราฮัม ผู้ที่ได้รับพระสัญญาจากพระเจ้า สิ่งที่ค้านไม่ได้ คือผู้น้อยเป็นผู้รับพรและผู้ใหญ่เป็นผู้ให้พร อีกประการหนึ่งในกรณีของปุโรหิตเผ่าเลวีนั้น มนุษย์ที่ต้องตายเป็นผู้รับทศางค์ แต่ในกรณีของเมลคีเซเดคผู้ที่รับทศางค์นั้น มีหลักฐานในพระคัมภีร์ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ ถ้าจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่า เลวีผู้ที่รับทศางค์นั้นก็ได้ถวายทศางค์แก่เมลคีเซเดคทางอับราฮัม เพราะว่าขณะนั้นเขายังอยู่ในสายเลือดของบรรพบุรุษคืออับราฮัม ขณะที่เมลคีเซเดคได้พบกับอับราฮัม บางคนเสนอข้อคิดว่าเมลคีเซเดแท้จริงเป็นพระเยซูคริสต์ที่ได้จุติลงมาบังเกิดเป็นเนื้อหนังหรือ พระคริสต์ทรงปรากฏ นี้เป็นทฤษฎีที่เป็นไปได้ ดังที่ได้ทรงมาเยี่ยมอับราฮัมล่วงหน้าก่อน พิจารณาปฐมกาลบทที่ 17 ที่อับราฮัมได้เห็นและสนทนากับพระเจ้า ( เอล ชัดได) ในรูปแบบของชายคนหนึ่ง ปฐมกาล 17:1”เมื่ออายุอับรามได้เก้าสิบเก้าปี พระเจ้าทรงปรากฏแก่อับรามและตรัสแก่ท่านว่า “เราเป็นพระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ จงดำเนินอยู่ต่อหน้าเราและเป็นคนดีพร้อม“
ฮีบรู 6:20 “ที่พระเยซูผู้ทรงนำหน้าได้เสด็จเข้าไปก่อนเพื่อเราแล้ว เพราะพระองค์ได้ทรงรับการแต่งตั้งเป็นมหาปุโรหิตเป็นนิตย์ตามแบบอย่างเมลคีเซเดคนั้น”
คำว่า ลำดับ นี้ปกติจะบ่งบอกถึงการสืบทอดตำแหน่งของพวกปุโรหิต อย่างไรก็ตาม ไม่มีการกล่าวถึงเลยทีเดียวในช่วงเวลานานจากเมลคีเซเดจนถึงพระคริสต์ ความผิดปกติที่สามารถสมมติฐานได้ว่าเมลคีเซเดและและพระคริสต์จริงๆเป็นบุคคลเดียวกัน
ดังนั้น "ลำดับ" เป็นสิทธิ์ของพระองค์และพระองค์เดียวเท่านั้น ฮีบรู 7:3 “บิดามารดาและตระกูลของท่านไม่มีกล่าวไว้ วันเกิดวันตายก็เช่นกัน แต่เป็นเหมือนพระบุตรของพระเจ้า เมลคีเซเดคนั้นแหละดำรงอยู่เป็นปุโรหิตชั่วกัปป์ชั่วกัลป์” คำถามคือว่าผู้เขียนพระธรรมฮีบรูหมายถึงตามนี้จริงหรือแค่เปรียบเปรยหรือเปล่า หากคำอธิบายในพระธรรมฮิบรูเป็นจริงแล้ว มันเป็นเรื่องยากจริงๆที่จะพบว่ามันถูกนำมาใช้อย่างคู่ควรกับใครก็ได้ นอกจากพระเยซูคริสต์เจ้า
ไม่เพียงกษัตริย์ฝ่ายโลก "ยังคงเป็นปุโรหิตตลอดไป" และไม่เพียงมนุษย์อยู่ "โดยไม่มีบิดาหรือมารดา." ในพระธรรมปฐมกาลบทที่ 14 อธิบายพระเจ้าผู้ทรงปรากฏในรูปกายมนุษย์ แล้วพระเจ้าพระบุตรทรงสวยพรให้อับราฮัม ทรงปรากฏพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งความชอบธรรม
ปฐมกาล 14:17–19 “เมื่ออับรามกลับจากการรบชนะกษัตริย์เคโดร์ลาโอเมอร์ และกษัตริย์ทั้งหลายที่ร่วมกำลังกันนั้นแล้ว กษัตริย์เมืองโสโดมก็ออกมารับอับราม ณ ที่ราบชาเวห์ (คือที่ราบของกษัตริย์) เมลคีเซเดคผู้เป็นทั้งกษัตริย์เมืองซาเลม และปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด ก็นำขนมปังกับเหล้าองุ่นมาให้ แล้วอวยพรท่าน “ขอพระเจ้าผู้สูงสุดผู้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดิน”
วิวรณ์ 19:11,16 “แล้วข้าพเจ้าก็ได้เห็นสวรรค์เปิดออก และดูเถิด มีม้าขาวตัวหนึ่ง พระองค์ผู้ทรงม้านั้นมีพระนามว่า 'สัตย์ซื่อและสัตย์จริง' พระองค์พิพากษาและทรงกระทำสงครามด้วยความเป็นธรรม พระองค์ทรงมีพระนามจารึกที่ฉลองพระองค์ และที่ต้นพระอูรุของพระองค์ว่า ‘จอมกษัตริย์และจอมเจ้านาย’”
กษัตริย์องค์สันติภาพ
อิสยาห์ 9:6 “ด้วยมีเด็กคนหนึ่งเกิดมาเพื่อเรา มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา และการปกครองจะอยู่ที่บ่าของท่าน และท่านจะเรียกนามของท่านว่า “ที่ปรึกษามหัศจรรย์ พระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ พระบิดานิรันดร์ องค์สันติราช”
คนกลางระหว่างพระเจ้าและมนุษย์
1ทิโมธี 2:5 “ด้วยเหตุว่ามีพระเจ้าองค์เดียว และมีคนกลางแต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ คือพระเยซูคริสต์ผู้ทรงสภาพเป็นมนุษย์”
ถ้าคำอธิบายเมลคีเซเดคเป็นเชิงเปรียบเทียบ แล้วรายละเอียดของการไม่มีเชื้อวงศ์ ไม่มีจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด และพันธกิจอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นคำบรรยายเรียบง่าย เน้นธรรมชาติลึกลับของบุคคลที่ได้พบอับราฮัม ในกรณีนี้เรื่องราวที่เงียบไปในพระธรรมปฐมกาลที่เกี่ยวกับรายละเอียดเหล่านี้ มีเหตุผลและทำหน้าที่เชื่อมโยงเรื่องเมลคีเซเดกับพระคริสต์ได้ดีกว่า เมลคีเซเดคและพระเยซูเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่ กรณีนี้อาจเป็นได้ด้วยวิธีใดก็ได้ อย่างน้อยที่สุด เมลคีเซเดคเป็นแบบพระคริสต์ เป็นการทำนายพระราชกิจของพระเจ้าล่วงหน้า แต่ก็ยังเป็นไปได้ว่าอับราฮัม หลังจากการต่อสู้ที่เหนื่อยล้าของเขา ได้เข้าเฝ้าและถวายเกียรติแด่องค์พระเยซูเอง
English
ใครเมลคีเซเดค?