settings icon
share icon
คำถาม

เราสามารถเรียนรู้อะไรจากชีวิตของเปาโล

คำตอบ


มีสิ่งต่างๆ มากมายที่เราสามารถเรียนรู้จากชีวิตของอัครทูตเปาโล เป็นเรื่องไม่ธรรมดาที่เปาโลได้รับโอกาสในการทำสิ่งที่พิเศษเพื่ออาณาจักรของพระเจ้า เรื่องของเปาโลเป็นเรื่องการได้รับการไถ่ในพระเยซูคริสต์และคำพยานไม่มีใครเหนือกว่าพระคุณแห่งการช่วยให้รอดขององค์พระผู้เป็นเจ้า อย่างไรก็ตามการที่จะรู้การกระทำทั้งหมดของชายผู้นี้ เราต้องตรวจสอบด้านลบของเขาและสิ่งเขาแสดงถึงก่อนมาเป็น “อัครทูตแห่งความกรุณา” ชีวิตช่วงต้นของเปาโลเป็นสัญลักษณ์ของความกระตือร้นในศาสนาที่มากเกินไป ความรุนแรงที่โหดเหี้ยม และการข่มเหงที่ไม่ยอมผ่อนปรนต่อคริสตจักร ดีที่ในช่วงปีหลังๆ ของชีวิตเปาโลนั้นแสดงสัญลักษณ์แห่งความแตกต่างในขณะที่เขาดำเนินชีวิตเพื่อพระคริสต์และเพื่อการเติบโตของอาณาจักรของพระองค์

เปาโลนั้นแท้จริงแล้วเกิดมาชื่อเซาโล เขาเกิดในทาร์ซัสในซีลีเซียเมื่แประมาณค.ศ. 1-5 ในจังหวัดซึ่งอยู่ทางมุมตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเตอร์ซุส (Tersous) ประเทศตุรกีปัจจุบัน เขาเป็นเชื่อสายเบนยามินและมีบรรพบุรุษเป็นชาวฮีบรู (ฟิลิปปี 3:5-6) พ่อแม่ของเขาเป็นฟาริสีคือเป็นชาตินิยมชาวยิวอย่างรุนแรงผู้ซึ่งปฏิบัติตามกฎหมายของโมเสสอย่างเคร่งครัด เป็นผู้ซึ่งมองหาวิธีการปกป้องลูกๆ ของเขาจาก “การถูกทำให้แปดเปื้อน” จากคนต่างชาติ สิ่งใดก็ตามที่เป็นกรีกจะถูกเหยียดหยามในบ้านของเซาโล แต่เขาก็พูดภาษากรีกและภาษาลาตินได้ดีพอสมควร ในบ้านของเขาน่าจะพูดภาษาแอราเมอิกซึ่งเป็นเป็นคำศัพท์ย่อยของภาษาฮีบรูซึ่งเป็นภาษาทางการของยูดัย ครอบครัวของเซาโลเป็นพลเมืองโรมันแต่มองเยรูซาเล็มเป็นเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์และบริสุทธิ์อย่างแท้จริง (กิจการ 22:22-29)

เมื่ออายุสิบสามปีเซาโลถูกส่งไปยังปาเลไตน์เพื่อเรียนจากรับบีชื่อกามาลิเอล ผู้ซึ่งทำให้เซาโลสำเร็จในด้านประวัติศาสตร์ยิว สดุดี และการทำงานของผู้เผยพระวจนะ การศึกษาของเขาจะดำเนินต่อไปเป็นเวาลห้าหรือหกปีในขณะที่เซาโลเรียนสิ่งต่างๆ เช่นการวิเคราะห์พระคัมภีร์ (กิจการ 22:3) เป็นช่วงเวลานี้ที่เขาพัฒนาวิธีการสอนเป็นรูปแบบการถามตอบซึ่งเป็นที่รู้จักกันสมัยโบราณคือ “คำพูดที่โจมตีคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง” วิธีการในระดับที่ชัดเจนนี้ช่วยเหล่ารับบีในการพิจารณาจุดที่ดีว่าในกฎหมายยิวเพื่อปกป้องหรือดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เซาโลดำเนินต่อไปเพื่อเป็นทนาย ทุกสัญญาณนั้นชี้ไปยังการที่เขาจะไปเป็นสมาชิกของสภาแซนเฮดริน ซึ่งก็คือศาลสูงสุดของยิวซึ่งมีชาย 71 คนที่ปกครองเหนือวิถีชีวิตและศาสนาของชาวยิว เซาโลกระตือรือร้นในความเชื่อของเขา และความเชื่อของเขาไม่ได้ทำให้มีการประนีประนอม มันคือความกระตือรือร้นนี้ที่นำเซาโลไปยังเส้นทางของความสุดโต่งในด้านศาสนา

ในพระธรรมกิจการ 5:27-42 เปโตรนำคำพยานของเขาเกี่ยวกับข่าวประเสริฐของรพะเยซูไปต่อหน้าสภาแซนเฮดรินซึ่งเซาโลก็น่าจะได้ยิน กามาลิเอเอลก็อยู่ที่นั่นและเขาส่งสารไปยังสภาเพื่อทำให้พวกเขาสงบลง รวมถึงป้องกันไม่ให้พวกเขาขว้างเปโตรด้วยหิน เซาโลอาจจะอยู่ที่มีการทรมานสเทเฟน (กิจการ 7:58) หลังจากการตายของสเทเฟน “เกิดการข่มเหงคริสตจักรครั้งใหญ่ที่กรุงเยรูซาเล็ม” (กิจการ 8:1) เซาโลตัดสินใจกำจัดคริสเตียนอย่าไม่มีเมตตาในสิ่งที่เขาดำเนินต่อไปตามที่เขาเชื่อว่าเขากำลังกระทำสิ่งนี้ในนามของพระเจ้า โดยที่มีเหตุผลนั้นไม่มีใครน่ากลัวหรือชั่วช้าไปมากกว่าผู้ก่อการร้ายด้านศาสนา โดยเฉาพะเมื่อเขาเชื่อว่าเขากำลังทำตามน้ำพระทัยของพระเจ้าด้วยการฆ่าคนบริสุทธิ์ นี่สิ่งที่แน่นอนในสิ่งที่เซาโลแห่งทาร์ซัสเป็นคือเป็นผู้ก่อการร้ายด้านศาสนา พระธรรมกิจการ 8:3 กล่าวว่า “ฝ่ายเซาโลเริ่มทำลายล้างคริสตจักร เขาเข้าไปบ้านนั้นบ้านนี้ฉุดลากชายหญิงไปขังไว้ในคุก”

ตอนที่สำคัญในเรื่องราวของเปาโลในกิจการ 9:1-22 ซึ่งบรรยายถึงการที่เปาโลพบกับพระเยซูบนถนนจากเยรูซาเล็มไปดามัสกัส เป็นระยะทางประมาณ 150 ไมล์ (ประมาณ 241.4 กิโลเมตร; เพิ่มเติมโดยผู้แปล) เซาโลถูกทำให้โกรธโดยสิ่งที่เขาเห็นและเต็มไปด้วยความเดือดดาลที่จะฆ่าคริสเตียน ก่อนออกเดินทางเขาขอจดหมายจากปุโรหิตถึงธรรมศาลาในดามัสกัสเพื่อขออนุญาตนำคริสเตียน (เป็นที่รู้จักกันคือผู้ที่ติดตาม “ทางนั้น”) กลับไปยังกรุงเยรูซาเล็ม บนถนนนั้นเซาโลเจอกับแสงที่จ้ามาดจากสวรรค์ซึ่งทำให้ล้มลงหน้าทิ่มพื้น เขาได้ยินคำเหล่านี้ “เซาโล เซาโลเอ๋ย เจ้าข่มเหงเราทำไม?” เขาตอบ “องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์เป็นใคร?” พระเยซูทรงตออบอย่างตรงไปตรงมาและชัดเจน “เราคือเยซูผู้ที่เจ้าข่มเหง” (ข้อ 4-5) กล่าวเพิ่มเติมคือนี่อาจจะไม่ได้เป็นการเผชิญหน้ากับพระเยซูเป็นครั้งแรกของเซาโล ตามที่นักวิชาการหลายคนเสนอแนะคือว่าเซาโลที่เป็นหนุ่มอาจจะรู้ถึงพระเยซูและอาจจะได้เห็นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์

จากช่วงเวลานั้นเป็นต้นไปชีวิตของเซาโลก็กลับด้าน แสงขององค์พระผู้เป็นเจ้าทำให้เขาตาบอดและในขณะที่เขาเดินทางเขาต้องพึ่งพาเพื่อนๆ ของเขา ตามที่พระเยซูแนะนำ เซาโลเดินทางต่อไปยังดามัสกัสเพื่อติดต่อกับอานาเนีย ผู้ซึ่งลังเลใจในตอนแรกที่จะพบกับเซาโล เพราะเขารู้ถึงชื่อเสียงของเซาโลในฐานะคนชั่ว แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าบอกอานาเนียว่าเซาโลเป็น “เครื่องมือที่ได้รับเลือก” เพื่อนำชื่อของพระองค์ไปยังคนต่างชาติ กษัตริย์ และลูกหลานของอิสราเอล (กิจการ 9:15) และจะทุกข์ทรมานในการทำสิ่งนี้ (กิจการ 9:17) อานาเนียทำตามคำสั่งขององค์พระผู้เป็นเจ้าแล้วพบเซาโล ผู้ซึ่งเขาวางมือ ปละบอกเขาถึงนิมิตของพระเยซูคริสต์ ผ่านทางการอธิษฐานเซาโลได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ได้มองเห็นอีกครั้ง และได้รับบัพติศมา (กิจการ 9:18) เซาโลก็ไปในธรรมศาลาทันทีและประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า (กิจการ 9:20) ผู้คนอัศจรรย์ใจและสงสัย ในเมื่อชื่อเสียงของเซาโลนั้นโด่งดังมาก ชาวยิวคิดว่าเขามาพาคริสเตียนไป (กิจการ 9:21) แต่แท้จริงแล้วเขามาเข้าร่วมกับพวกเขา ความกล้าหาญของเซาโลเพิ่มมากขึ้นเมื่อชาวยิวซึ่งอาศัยอยู่ในดามัสกัสถูกทำให้สับสนจากการโต้ถียงของเซาโลที่พิสูจน์ว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ (กิจการ 9:22)

เซาโลใช้เวลาในอาราเบีย ดามัสกัส กรงุเยรูซาเล็ม ซีเรีย และบ้านของเขาคือซีลีเซีย แล้วบารนาบัสก็ขอความช่วยเหลือจากเขาให้สอนผู้ที่อยู่ในคริสตจักรเมืองอันทิโอก (กิจการ 11:25) เป็นที่น่าสนใจว่าคริสเตียนที่ถูกขับออกจากยูเดียโดยการถูกข่มเหงซึ่งลุกขึ้นมาหลังจากการตายของสเทเฟนพบคริสตจักรที่มีหลายเชื้อชาตินี้ (กิจการ 11:19-21)

เซาโลออกเดินทางเป็นมิชชันนารีสามครั้งแรกในตอนปลายช่วงค.ศ. 40 ตามที่เขาใช้เวลามากขึ้นในพื้นที่ของคนต่างชาติ เซาโลเริ่มใช้ชื่อโรมันของเขาคือเปาโล (กิจการ 13:9) เปษโลเขียนพระธรรมหลายเล่มในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ นักศาสนศาสตร์หลายเห็นตรงกันว่าเขาเขียนพระธรรมโรม พระธรรม 1 และ 2 โครินธ์ พระธรรมกาลาเทีย พระธรรมฟิลิปปี พระธรรม 1 และ 2 เธสะโลนิกา พระธรรมฟีเลโมน พระธรรมเอเฟซัส พระธรรมโคโลสี พระธรรม 1 และ 2 โครินธ์ และพระธรรมทิตัส “จดหมาย” สิบสามฉบับนี้ทำให้เกิด “เปาโลผู้เป็นเจ้าของผลงานเขียน” (Pauline Authorship) และมีแหล่งหลักของศาสนศาสตร์ของเขา ตามที่ได้สังเกตก่อนหน้านี้ พระธรรมกิจการให้เราเห็นถึงประวัติศาสด้านชีวิตและช่วงเวลาของเปาโล อัครทูตเปาโลใช้ชีวิตในการประกาศการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ตลิดทั้งโลกของโรมัน มักจะเป็นเรื่องอันตรายส่วนตัว (2 โครินธ์ 11:24-27) มีการคาดการณ์ว่าเปาโลตายในการสละชีวิตเพื่อศาสนาในช่วงตอนต้นถึงตอนกลางค.ศ. 60 ในโรม

ดังนั้นเราสามารถเรียนรู้อะไรจากชีวิตของอัครทูตเปาโล ประการแรกเราเรียนรู้ว่าพระเจ้าสามารถช่วยใครก็ได้ให้รอด เรื่องราวที่โดดเด่นของเปาโลเกิดขึ้นซ้ำๆ ทุกวันในขณะที่คนบาปซึ่งแตกสลายทั่วโลกได้รับการเปลี่ยนแปลงโดยพระคุณแห่งความรอดของพระเจ้าในพระเยซูคริสต์ คนเหล่านี้บางคนได้ทำสิ่งทีชั่วร้ายต่อมนุษย์คนอื่น ในขณะที่บางคนเพียงแค่พยายามดำเนินชีวิตตามจริยธรรมโดยที่คิดว่าพระเจ้าจะยิ้มให้พวกเขาในวันพิพากษา เมื่อเราอ่านเรื่องราวของเปาโล เรารู้อัศจรรย์ใจที่พระเจ้าจะอนุญาตให้ผู้ที่มีหัวรุนแรงทางด้านศาสนาผู้ซึ่งฆาตกรรมผู้หญิงและเด็กที่บริสุทธิ์นั้นเข้าสู่สวรรค์ได้ ทุกวันนี้เราอาจจะเห็นผู้ก่อการร้ายหรือผู้ร้ายคนอื่นๆ ว่าไม่มีค่าแก่การไถ่เพราะคดีความที่ต้านความเป็นมนุษยชาตินั้นมากเกินไป เรื่องราวของเปาโลเป็นเรื่องราวที่สาทารถเล่าได้ในทุกวันนี้ เพราะว่าเขาไม่ได้มีค่าพอในสายตาของเราสำหรับโอกาสครังที่สอง แต่พระเจ้าทรงประทานพระเมตตาให้แก่เขา ความจริงคือว่าทุกคนมีความหมายสำหรับพระเจ้า จากคน “ดี, น่านับถือ” แบบทั่วๆ ไปจนถึงคนที่ “เลวทราม, ชั่วช้า” ซึ่งแย่ลง มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่จะช่วยจิตวิญญาณหนึ่งจากนรกได้

ประการที่สองเราเรียนรู้จากชีวิตเปาโลว่าทุกคนสามารถที่จะเป็นพยานที่ถ่อมใจและมีฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าได้ น่าจะเป็นจริงว่าไม่มีมนุษย์ในรูปแบบใดในพระคัมภีร์ที่จะแสดงถึงความถ่อมใจในณะที่ประข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ได้มากไปกว่าเปาโล พระธรรมกิจการ 20:19 บอกเราว่าเขา “รับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยความถ่อมใจและด้วยน้ำตา ต้องทนต่อการทดลองที่มาถึงตัวเองอันเนื่องจากแผนร้ายของพวกยิว” ในพระธรรมกิจการ 28:31 เปาโลแบ่งปันข่าวประเสริฐขอพระเยซูคริสต์คือ “ทั้งประกาศแผ่นดินของพระเจ้าและสั่งสอนเรื่องพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยความกล้าหาญอย่างยิ่งโดยปราศจากการขัดขวาง” เปาโลไม่กลัวที่จะบอกผู้อื่นว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงทำอะไรเพื่อเขา เปาโลใช้ชีวิตทุกวันของเขาจากการเปลี่ยนความเชื่อไปเป็นการเสียสละและทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่ออาณาจักรของพระเจ้า

ท้ายที่สุดเราเรียนรู้ว่าใครก็ตามสามารถยอมจำนนอย่างที่สุดต่อพระเจ้า เปาโลให้คำมั่นสัญญากับพระเจ้าอย่างเต็มที่ ในพระธรรมฟิลิปปี 1:12-14 เปาโลเขียนจากในคุกว่า “พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าปรารถนาให้ท่านรู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้านั้น ได้กลับเป็นเหตุให้ข่าวประเสริฐแผ่ขยายออกไป ฉะนั้นจึงเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้คุมประจำกองบัญชาการทั้งหมดและคนอื่นๆ ทุกคนว่า การที่ข้าพเจ้าถูกคุมขังนั้นก็เพื่อพระคริสต์ และพี่น้องส่วนมากก็เกิดความมั่นใจในองค์พระผู้เป็นเจ้าจากการที่ข้าพเจ้าถูกคุมขัง และพวกเขามีความกล้ามากขึ้นที่จะกล่าวพระวจนะโดยปราศจากความกลัว” โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ เปาโลสรรเสริญพระเจ้าและแบ่งปันข่าวประเสริฐอย่างต่อเนื่อง (ดูกิจการ 16:22-25 และฟิลิปปี 4:11-13 เช่นเดียวกัน) ผ่านทางความยากลำบากและความทุกข์ทรมาน เปาโลรู้ผลของการดำเนินชีวิตอย่างดีเพื่อพระคริสต์ เขายอมจำนนชีวิตอย่างเต็มที่ เชื่อวางใจในพระเจ้าสำหรับทุกอย่าง เขาเขียนว่า “การมีชีวิตอยู่ก็เพื่อพระคริสต์ และการตายก็ได้กำไร” (ฟิลิปปี 1:21) เราสามารถอ้างอิงเหมือนกับเขาได้ไหม



English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

เราสามารถเรียนรู้อะไรจากชีวิตของเปาโล
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries