settings icon
share icon
คำถาม

กำแพงร้องไห้คืออะไร

คำตอบ


กำแพงร้องไห้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือกำแพงทิศตะวันตก โดยมีขนาด 187 ฟุตซึ่งแยกออกมาจากกำแพงโบราณที่สร้างโดยเฮโรดมหาราชเป็นกำแพงกันดินของบริเวณเนินพระวิหาร กำแพงร้องไห้อยู่ทางทิศตะวันตกของเนินพระวิหารในเมืองเก่าของกรุงเยรูซาเล็ม เฮโรดมหาราชก่อสร้างชั้นที่เก่าแก่ที่สุดของกำแพงระหว่าง 20 ถึง 19 ปีก่อนคริสต์ศักราชในขณะที่พระวิหารแห่งที่สองกำลังถูกสร้างขึ้น กำแพงยื่นออกไป 1,600 ฟุต แต่บ้านที่สร้างอยู่ติดกับมันบดบังความสูงของมันเป็นส่วนมาก ทุกวันนี้ส่วนที่ยื่นออกมาของกำแพงร้องไห้หันหน้าเข้าหาลานกว้างในย่านชาวยิว (Jewish Quarter) และได้เป็นสถานที่พบปะสำหรับการเดินทางไกลและการอธิษฐานสำหรับชาวยิวมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ควรมีการสังเกตว่าชาวยิวส่วนใหญ่ไม่ใช้คำว่ากำแพงร้องไห้แต่ชอบที่จะเรียกว่ากำแพงตะวันตกหรือ Ha-Kotel (“กำแพง”) มากกว่า

อย่างน้อยสิบเจ็ดชั้นของกำแพงร้องไห้ก็อยู่ใต้ระดับถนน แต่หินขนาดใหญ่โตมโหฬารที่อยู่ด้านล่างซึ่งเรียกว่าแอชลาร์ของส่วนที่มองเห็นได้นั้นมีอายุย้อนไปถึงสมัยของเฮโรด หินไลม์สโตนขนาดใหญ่มหึมาแต่ละก้อนหนักระหว่างหนึ่งถึงแปดตัน ซึ่งประดิษฐ์ออกมาอย่างชำนาญและแม่นยำเพื่อให้หินแต่ละก้อนสามารถเรียงกันได้โดยไม่ต้องมีการโบกปูน อย่างไรก็ตามรอยต่อบางจุดมีการถูกกัดกร่อน ชาวยิวออร์โธดอกซ์เติมรอยแยกในหินชั้นด้านล่างด้วยคำอธิฐานที่เป็นแบบลายลักษณ์อักษร ในทุกๆ วันชาวยิวหลายคนรวมตัวกันเพื่ออธิษฐาน ท่องบทสวด และเอนไปเอนมาต่อหน้ากำแพงนี้ พวกเขาปฏิบัติเช่นนี้ทุกวันและในวันสะบาโตคือมาอธิฐาน รวมถึงเฉลิมฉลองวัน Bar Mitzvah (เด็กผู้ชายเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (เพิ่มเติมโดยผู้แปล)) และ Bat mitzvah (เด็กผู้หญิงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (เพิ่มเติมโดยผู้แปล))

กำแพงร้องไห้ได้ชื่อมาจากคำในภาษาอาหรับดั้งเดิมที่หมายถึงกำแพงคือ El-Mabka (“สถานที่แห่งการร้องไห้”) จากความเศร้าโศกที่ชาวยิวได้แสดงออกมาในเรื่องการสูญเสียพระวิหารของพวกเขา ชาวยิวได้หยุดที่จะใช้คำว่ากำแพงร้องไห้หลังจากสงครามหกวันในปีค.ศ. 1967 เมื่อกรุงเยรูซาเล็มเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งภายใต้อำนาจสูงสุดของอิสราเอล ชาวยิวยึดเอาตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่ากำแพงตะวันตกควรเป็นสถานที่สำหรับการเฉลิมฉลองทั่วไปแทนทีจะเป็นสถานที่แห่งการคร่ำครวญ

แต่ละปีของช่วงเวลาทิชอา เบอัฟ (Tisha B’av) ชาวยิวจะอดอาหารอธิษฐานเพื่อระลึกถึงการทำลายพระวิหารทั้งสองหลังของพวกเขาโดยจะมีผู้ที่นมัสการท่องพระธรรมบทเพลงใคร่ครวญและเพลงไว้อาลัยอื่นๆ พระวิหารหลังแรกหรือพระวิหารของซาโลมอนได้รับการสร้างในระหว่างที่พระองค์ทรงครองราชย์คือ 970 – 930 ปีก่อนคริสต์ศักราชและถูกทำลายโดยเนบูคัดเนสซาร์และชนชาติบาบิโลน 586 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระวิหารมีการสร้างขึ้นใหม่ 516 ปีก่อนคริสต์ศักราชด้วยส่วนขยายที่สำคัญใน 19 ปีก่อนคริสต์ศักราชโดยเฮโรด ชาวโรมันภายใต้การปกครองของทิตัสทำลายพระวิหารของเฮโรดในปีค.ศ. 70 เพื่อบดขยี้การปฏิวัติของชาวยิวที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสี่ปี

การทำลายพระวิหารของเฮโรดในปีค.ศ. 70 โดยทิตัสมีการพยากรณ์ไว้โดยพระเยซูในมัทธิว 24:1-2 และลูกา 23:28-31 พระคัมภีร์ยังคงพยากรณ์ถึงการที่ชาวยิวกลับคืนสู่แผ่นดินของบ้านเกิดของพวกเขา (เอเสเคียล 36:24, 33-35) ชาติอิสราเอลนั้นมีการสร้างขึ้นใหม่ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1948 โดยมติของสหประชาชาติ

แม้ว่าชาวยิวจะได้รับการฟื้นฟูสู่การเป็นประเทศทางภูมิศาสตร์และการเมืองของพวกเขาแล้ว แต่พวกเขายังไม่ได้รับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางพันธสัญญากับพระเจ้าเพราะว่าพวกเขาได้ปฏิเสธพระเมสสิยาห์ ก็คือพระเยซูคริสต์ ผลจากการที่อิสราเอลปฏิเสธพระเมสสิยาห์ พระเจ้าจึงทรงหยุดงานของพระองค์เกี่ยวกับประชาชาติทางกายภาพของอิสราเอลแบบชั่วคราว ท้ายที่สุดแล้วอิสราเอลจะได้รับการฟื้นฟู แล้วพระเจ้าจะทำให้พระสัญญาที่พระองค์มีไว้ให้กับอิสราเอลนั้นสำเร็จ ทุกวันนี้พระเจ้ากำลังทำงานผ่านคริสตจักรของพระองค์ ทุกคน ทั้งชาวยิวและชาวต่างชาติซึ่งมีพระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตอยู่ภายใน (โรม 1:16, 2:28-29) ในยุคของพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ในพระเยซูคริสต์ ผู้ที่รับการอภัยและความรอดผ่านการไถ่บาปอย่างเสียสละของพระเยซูนั้นกลายมาเป็นบบุตรของพระเจ้าและดังนั้นจึงได้รับการเรียกว่าเป็น “พงศ์พันธุ์ของอับราฮัม” (กาลาเทีย 3:26-29)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

กำแพงร้องไห้คืออะไร
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries