settings icon
share icon
คำถาม

ฉันสามารถเอาชนะความเจ็บปวดจากการถูกทรยศได้อย่างไร?

คำตอบ


การทรยศเป็นการละเมิดความเชื่อใจอย่างร้ายแรงและอาจเป็นหนึ่งในรูปแบบของความเจ็บปวดซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดซึ่งเกิดแก่มนุษย์ การทนทุกข์จากการถูกทรยศมักจะขยายตัวใหญ่ขึ้นจากความรู้สึกเปราะบางและการเปิดเผยตัวตน สำหรับหลายๆ คนความเจ็บปวดของการถูกทรยศนั้นแย่ยิ่งกว่าความรุนแรงทางร่างกาย การหลอกลวง หรืออคติ การถูกทรยศทำลายรากฐานของความเชื่อใจ

ดาวิดไม่ใช่คนแปลกหน้าสำหรับการทรยศก็คือ “หากว่าเป็นศัตรูที่เหยียดหยามข้าพเจ้า ข้าพเจ้าย่อมทนได้ หากว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามที่โอ้อวดข่มข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ซ่อนตัวเสียให้พ้นหน้าเขา แต่เป็นท่านเอง เป็นคนที่ใจตรงกันกับข้าพเจ้า เพื่อนคู่หู เพื่อนสนิทของข้าพเจ้า เราเคยร่วมสังสรรค์กันอย่างดี และเราดำเนินร่วมกันในพระตำหนักของพระเจ้า” (สดุดี 55:12‭-‬14) ความสัมพันธ์ที่ยิ่งใกล้ชิด ความเจ็บปวดจากการถูกทรยศ‬‬‬‬‬‬ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น‬‬‬

พระเยซูทรงทราบความเจ็บปวดของการถูกทรยศจากประสบการณ์โดยตรง สิ่งที่เลวร้ายที่สุดซึ่งเป็นการทรยศอย่างไม่น่าเชื่อที่สุดตลอดกาลนั่นก็คือการทรยศของยูดาสต่อพระเยซูเพียงแค่เพื่อเหรียญเงินสามสิบเหรียญ (มัทธิว 26:15) “แม้แต่เพื่อนสนิท ที่ข้าพเจ้าเคยไว้ใจ คนที่รับประทานอาหารของข้าพเจ้า ได้ยกส้นเท้าต่อต้านข้าพเจ้า” (สดุดี 41:9, ซีเอฟ ยอห์น 13:18) แต่พระเยซูไม่ได้อาฆาต ขมขื่น หรือโกรธเกรี้ยว แต่กลับเป็นทางตรงกันข้าม เพราะหลังจากที่ได้รับการจูบจากคนทรยศ พระเยซูทรงตรัสแก่ยูดาสว่า “เพื่อนเอ๋ย” (มัทธิว 26:50)

แม้ว่าจะเจ็บปวด แต่ก็ยังมีหนทางที่เราสามารถเอาชนะการถูกทรยศได้ ซึ่งฤทธิ์อำนาจนั้นมาจากพระเจ้าโดยตรงรวมทั้งกำลังในการให้อภัย

หลังจากที่ดาวิดโศกเศร้าจากความเชื่อใจที่แตกสลายในพระธรรมสดุดีบทที่ 55 เขาได้เกริ่นถึงวิธีที่จะเอาชนะความเจ็บปวด เขากล่าวว่า “แต่ข้าพเจ้าร้องเรียกถึงพระเจ้า และพระผู้เป็นเจ้าจะช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้น ข้าพเจ้าพร่ำเพ้อและคร่ำครวญ ทั้งในยามเช้า เที่ยงวัน และยามค่ำ และพระองค์จะได้ยินเสียงของข้าพเจ้า” (สดุดี 55:16‭-‬17)

กุญแจสำคัญประการแรกคือร้องทูลต่อพระเจ้า แม้ว่าเราอาจจะต้องการโจมตีคนทรยศ เราก็จำเป็นต้องนำเรื่องของเรามาให้พระเจ้า “อย่าสนองตอบความเลวร้ายด้วยความเลวร้าย หรือสบประมาทด้วยการสบประมาท แต่จงตอบด้วยการอวยพรเขา พระองค์เรียกท่านมาด้วยจุดประสงค์นี้ เพื่อท่านจะได้รับพระพร” (1 เปโตร 3:9)

อีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการเอาชนะความเจ็บปวดจากการถูกทรยศคือให้เราจดจำตัวอย่างของพระเยซู ธรรมชาติบาปของเราบังคับให้เรา “สนองตอบความเลวร้ายด้วยความเลวร้าย” แต่พระเยซูทรงสอนเราในทางตรงกันข้ามก็คือ “อย่าแก้แค้นคนประพฤติชั่ว ถ้าใครตบแก้มขวาของท่าน ท่านก็จงหันให้เขาตบอีกข้างด้วย….อธิษฐานให้บรรดาคนที่กดขี่ข่มเหงท่าน” (มัทธิว 5:39, 44) เมื่อพระเยซู “ทรงทนทุกข์พระองค์ก็ไม่ได้ทรงอาฆาต” (1 เปโตร 2:23) เราควรเห็นพ้องกับตัวอย่างของพระองค์โดยการไม่ตอบสนองต่อการละเมิดด้วยการละเมิด รวมไปถึงการละเมิดจากการถูกทรยศ ผู้เชื่อควรทำความดีแม้กระทั้งต่อคนเหล่านั้นที่ทำร้ายพวกเขา [โปรดทราบว่าสิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรที่จะแสวงหาความยุติธรรมทางอาญาที่เหมาะสมในกรณีที่มีการล่วงละเมิด การละเมิดทางด้านธุรกิจ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามการแสวงหาความยุติธรรมไม่ควรกระตุ้นความต้องการที่จะแก้แค้น

กุญแจสำคัญที่เปี่ยมไปด้วยฤทธิ์อำนาจในการเอาชนะความขมขื่นจากการถูกทรยศอีกประการหนึ่งคือความสามารถซึ่งพระเจ้าทรงประทานให้แก่เราในการให้อภัยคนทรยศ คำว่าการให้อภัยนั้นได้รวมคำว่าให้อยู่ด้วย เมื่อเราเลือกที่จะให้อภัยใครสักคน เราก็ให้ของขวัญคนนั้นอย่างแท้จริงคือการเป็นอิสระจากการแก้แค้นส่วนตัว แต่คุณเองก็กำลังให้ของขวัญแก่ตัวคุณเองด้วยคือ “ชีวิตที่ปราศจากความคับแค้นใจ” การแลกเปลี่ยนความขมขื่นและความโกรธของเราด้วยความรักของพระเจ้าเป็นการแลกเปลี่ยนชีวิตที่มีแต่การให้อย่างมหัศจรรย์

พระเยซูทรงสอนว่า “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” ควรเป็นการตอบสนองแบบเชิงรุกคือ “แต่เราขอบอกท่านว่า จงรักศัตรูของท่าน และอธิษฐานให้บรรดาคนที่กดขี่ข่มเหงท่าน” (มัทธิว 5:44) แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ยากเป็นอย่างมากที่จะให้อภัยคนที่ทรยศต่อความไว้วางใจของเรา และมันจะสามารถเป็นไปได้เฉพาะกับพระเจ้าเท่านั้น (ดูลูกา 18:27)

คนเหล่านั้นที่มีประสบการณ์ในความรักของพระเจ้าเข้าใจถึงความหมายของการได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขและอย่างไม่สมควรได้รับ ด้วยความช่วยเหลือจากพระวิญญาณของพระเจ้าเท่านั้นที่จะสามารถช่วยให้เรารักและอธิษฐานเผื่อคนเหล่านั้นที่พยายามทำร้ายเราได้ (โรม 12:14-21)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ฉันสามารถเอาชนะความเจ็บปวดจากการถูกทรยศได้อย่างไร?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries