คำถาม
ความเชื่อในพระเจ้าเป็นเครื่องค้ำจุนไหม?
คำตอบ
เจสซี เวนทูรา อดีตผู้ว่าการมลรัฐมินนิโซตาเคยกล่าวว่า "ศาสนาที่จัดไว้เป็นเรื่องหลอกลวงและเป็นเครื่องค้ำจุนสำหรับคนที่ชักจูงได้ง่ายที่ต้องการพลังอย่างมากมาย" ผู้ชอบทำลามกอนาจารชื่อ ลาร์รี่ ฟลินท์ เห็นด้วยกับเขา ผู้แสดงความเห็นว่า "ไม่มีอะไรที่ดีที่ฉันสามารถพูดเกี่ยวกับศาสนาได้ ผู้คนใช้มันเป็นเครื่องค้ำจุน" เทด เทอร์เนอร์ ครั้งหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาสำหรับผู้แพ้!" เวนทูร่า ฟลิ้นท์ เทอร์เนอร์ และคนอื่น ๆ ที่คิดเหมือนพวกเขา มองว่าพวกคริสเตียนอ่อนแอด้านอารมณ์และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนในจินตนการเพื่อดำเนินชีวิต การพูดเป็นนัยของพวกเขาคือว่า พวกเขาเองเข้มแข็งและไม่จำเป็นต้องให้พระเจ้าที่ถูกสมมุติมาทรงช่วยในชีวิตพวกเขา
คำกล่าวเช่นนั้นก่อให้เกิดคำถามมากมาย: ความคิดดังกล่าวเริ่มต้นจากที่ไหนหรือ มีความจริงในเรื่องนี้ไหม และพระคัมภีร์ตอบสนองต่อคำกล่าวยืนยันเช่นนั้นอย่างไร
ความเชื่อในพระเจ้าคือเครื่องค้ำจุนหรือ – ผลกระทบของฟรอยด์
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (ปี ค.ศ 1856-1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้ก่อตั้งปฏิบัติการทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า แรงจูงใจที่ขาดสติสัมปชัญญะบ่งบอกพฤติกรรมของมนุษย์มากมาย แม้มีความเชื่อระดับแชมเปี้ยนว่าไม่มีพระเจ้า ฟรอยด์ยอมรับความจริงของศาสนาว่าไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าผิดได้ และว่าความเชื่อทางศาสนาก่อให้เกิดความสุขสบายแก่ผู้คนนับไม่ถ้วนตลอดประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ฟรอยด์คิดว่าความคิดรวบยอดเรื่องพระเจ้าเป็นภาพลวงตา ผลงานทางศาสนาชิ้นหนึ่งของเขาชื่อ อนาคตแห่งภาพลวงตา เขาเขียนว่า "พวกเขา [ผู้เชื่อทั้งหลาย] ตั้งพระนามของ" พระเจ้า " เป็นนามธรรมที่คลุมเครือ ซึ่งพวกเขาสร้างขึ้นมาเพื่อตนเอง"
เกี่ยวกับแรงจูงใจในการสร้างภาพลวงตาดังกล่าวนั้น ฟรอยด์เชื่อในพื้นฐานสองด้านคือ (1) คนที่มีความเชื่อสร้างเทพเจ้าขึ้นเพราะพวกเขามีความปรารถนาและความหวังแรงกล้าภายในพวกเขาเอง ซึ่งแสดงเป็นความสุขสบายต่อต้านความรุนแรงในชีวิต (2) ความคิดเรื่องพระเจ้ามาจากความต้องการมีรูปทรงของบิดาที่งามสง่า ที่ลดความ สำคัญของบิดาที่แท้จริงที่ไม่มีจริงหรือไม่สมบูรณ์ในชีวิตของคนที่มีใส่ใจเคร่งครัดศาสนา พูดถึงประเด็นการบรรลุสมความปรารถนาตามที่สมมุติในศาสนา ฟรอยด์เขียนว่า" พวกมัน (ความเชื่อทางศาสนา) เป็นภาพลวงตา การบรรลุผลสำเร็จสมความปรารถนาของมนุษยชาติด่วนที่สุดเข้มแข็งที่สุดและดั้งเดิมที่สุด เราเรียกความเชื่อนั้นว่าภาพลวงตาเมื่อการบรรลุสมความปรารถนาเป็นปัจจัยสำคัญของแรงจูงใจของมัน และการทำเช่นนั้นทำให้เราละเลยสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริง เช่นเดียวกับภาพลวงตาเองที่ไม่ได้จัดเก็บไว้ในการตรวจสอบ"
สำหรับฟรอยด์นั้น พระเจ้าไม่ใช่อะไรมากไปกว่าภาพที่ฉายทางจิตวิทยา ที่ทำหน้าที่ปกป้องบุคคลจากความเป็นจริง ที่เขาไม่ต้องการเผชิญ และไม่สามารถจัดการกับมันได้ด้วยตัวเอง หลังจากฟรอยด์ก็มาถึงนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาคนอื่น ๆ ผู้ที่ยืนยันสิ่งเดียวกันและกล่าวว่าศาสนาเป็นเพียงภาพลวงตาหรืออาการหลงผิดด้านความคิดจิตใจ โรเบิร์ต เพียสิก นักเขียนและนักปรัชญาชาวอเมริกัน ผู้เป็นแบบอย่างลูกศิษย์ของฟรอยด์ กล่าวว่า "เมื่อคนหนึ่งทนทุกข์จากอาการหลงผิด เราเรียกอาการนั้นว่าวิกลจริต เมื่อหลายคนทนทุกข์จากอาการหลงผิด มันถูกเรียกว่าศาสนา
ข้อกล่าวหาข้างบนเป็นยังไงบ้าง มีความจริงใดบ้างต่อคำยืนยันโดยฟรอยด์และคนอื่น ๆ
การตรวจสอบคำอ้างของ " ฝูงชนคอยค้ำจุน"
เมื่อทำการตรวจสอบอย่างซื่อตรงต่อคำกล่าวอ้างเหล่านี้ สิ่งแรกที่ต้องยอมรับคือสิ่งที่การสร้างคำยืนยันเหล่านี้กำลังอ้างเกี่ยวกับพวกเขาเอง ผู้ที่ดูถูกศาสนากำลังกล่าวว่า พวกคริสเตียนมีแนวโน้มต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดผลทางจิตวิทยาและการบรรลุสมความปรารถนาที่พวกผู้สงสัยไม่ได้เป็น แต่พวกเขารู้เรื่องนั้นได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ฟรอยด์เห็นว่า ความต้องการมีพระเจ้าพระบิดาเป็นผลงานของคนยากไร้ที่หวั่นไหวตามอารมณ์ที่ต้องการรูปทรงของพระบิดา แต่มันอาจเป็นไปได้ว่า ฟรอยด์เอง ก็มีความต้องการทางอารมณ์ที่จะไม่ให้มีรูปทรงของพระบิดาปรากฏให้เห็น และบางทีฟรอยด์ก็มีผลงานของการบรรลุสมความปรารถนา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้องค์พระวิญญาณบริสุทธิ์และการพิพากษาในชีวิตหลังความตายมีอยู่จริง และมีความปรารถนาไม่ให้นรกนั้นเป็นจริง การแสดงให้เห็นความน่าเชื่อถือของการคิดเช่นนี้ คืองานเขียนของฟรอยด์เองที่เคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า "ส่วนที่ไม่ดีของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับฉัน ตั้งอยู่บนความจริงที่ว่าศาสตร์ของทุกสิ่งทั้งหมด ดูเหมือนจะเรียกร้องต้องการพระเจ้าให้ทรงดำรงอยู่"
มันดูเหมือนมีเหตุผลที่จะสรุปได้ว่า เนื่องจากฟรอยด์และลูกศิษย์ของเขาได้ถกเถียงกันเรื่องสถานภาพของพวกเขา ที่ว่าทางเดียวที่คนจะสามารถเอาชนะหลักฐานของบางสิ่ง ดำและขาว" ที่เรียกร้อง” ได้ ก็คือโดยการสร้างความหวังลวงตา ที่เอาชนะการตรวจสอบว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่จริง แม้กระนั้นพวกเขาก็ไม่คำนึงว่านี่คือความเป็นไปได้สำหรับพวกเขา อย่างไรก็ตามผู้ที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าบางคน ได้ยอมรับความเป็นไปได้นี้อย่างซื่อตรงและเปิดเผย ขอยกมาตัวอย่างหนึ่ง ศาสตราจารย์นักปรัชญาผู้ที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า โทมัส เนกัล กล่าวว่า "ฉันต้องการให้ลัทธิที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าเป็นจริง และทำให้ฉันรู้สึกไม่สบายใจโดยข้อเท็จจริงที่ว่า คนฉลาดที่สุดและรอบรู้ที่สุดบางคนที่ฉันรู้จักก็เป็นผู้เชื่อที่เคร่งครัดศาสนา” ไม่ใช่เพราะฉันไม่เชื่อในพระเจ้าและหวังตามธรรมชาติว่าความเชื่อของฉันถูกแล้ว นั่นคือฉันหวังว่าไม่มีพระเจ้า! ฉันไม่ต้องการพระเจ้าทรงอยู่ที่นั่น ฉันไม่ต้องการให้จักรวาลเป็นเช่นนั้น"
ข้อควรคำนึงถึงอีกอย่างที่ควรจดจำไว้ คือว่าไม่ใช่ทุกด้านของศาสนาคริสต์ที่เป็นการปลอบโยน ตัวอย่างเช่น หลักคำสอนเรื่องนรก การยอมรับว่ามวลมนุษยชาติเป็นคนบาป ผู้ที่ตัวเขาเองไม่สามารถทำให้พระเจ้าทรงพอพระทัยได้ และคำสอนที่คล้ายคลึงกันอื่น ๆ ไม่ได้เป็นแบบที่ให้ความอบอุ่นและสบายฟรอยด์ได้อธิบายเรื่องการสร้างหลักคำสอนเหล่านี้
อย่างไร ความคิดเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นจากคำถามข้างต้นคือทำไม ถ้ามนุษยชาติเพียงแค่คิดค้นความคิดรวบยอดเรื่องพระเจ้าเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น ผู้คนจะสร้างข้อมูลที่ไม่เป็นจริงของพระเจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์ไหม พระเจ้าเช่นนั้นดูเหมือนจะขัดแย้งกับการปฏิบัติและความปรารถนาตามปกติของผู้คน ในความเป็นจริง พระเจ้าเช่นนั้นดูเหมือนจะเป็นเทพเจ้าแบบสุดท้ายที่พวกเขาจะสร้างขึ้น แทนที่ดังนั้น คนเราจะคาดหวังให้ผู้คนสร้างเทพเจ้าที่ไปกันได้กับหลายๆ สิ่งที่ปกติพวกเขาอยากจะทำ แทนการคัดค้านการปฏิบัติที่พวกเขาเอง (ด้วยเหตุผลบางอย่างที่ยังไม่ได้อธิบาย) ถูกตราหน้าว่า "บาป"
คำถามสุดท้ายข้อหนึ่งคือ การยก "เครื่องค้ำจุน" มาอ้างจะอธิบายแก่ประชาชนผู้ที่เริ่มต้นเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา และไม่ต้องการจะเชื่อได้อย่างไร ผู้คนดังกล่าวดูเหมือนจะไม่มีความปรารถนาหรืออยากที่จะให้ศาสนาคริสต์เป็นจริง แต่กระนั้นหลังจากการตรวจสอบหลักฐานอย่างซื่อตรง และการยอมรับเอา "ความจริง" ของมัน พวกเขาก็กลายเป็นผู้เชื่อไปเลย นักวิชาการชาวอังกฤษ ซี เอส ลิวอิส เป็นหนึ่งในบุคคลเช่นนั้น ลิวอิสมีชื่อเสียงในการพูดว่า ไม่มีคนที่เปลี่ยนแปลงความเชื่ออย่างฝืนใจยิ่งกว่าตัวเขาเองทั่วทั้งอังกฤษเลย อันที่จริงเขาถูกชักนำมารับเชื่อด้วยความตื่นเต้นอย่างมากและกรีดร้อง ซึ่งแทบจะไม่มีคำกล่าวใดๆ ที่คนจะคาดหวังจากบุคคลที่เข้าส่วนร่วมในความเพ้อฝันเพื่อบรรลุผลสมความปรารถนา
ประเด็นและคำถามเหล่านี้ดูเหมือนจะขัดแย้งกับคำยืนยันของฝูงชนที่คอย "ค้ำจุน" และถูกพวกเขาเพิกเฉยไปอย่างสะดวกสบาย แต่พระคัมภีร์กล่าวอะไรเกี่ยวกับคำยืนยันของพวกเขา พระคัมภีร์ตอบคำกล่าวหาของพวกเขาอย่างไรบ้าง
ความเชื่อในพระเจ้าเป็นเครื่องค้ำจุนไหม – พระคัมภีร์ตอบสนองอย่างไรบ้าง
มีคำตอบหลัก ๆ สามข้อที่พระคัมภีร์ใช้ตอบคำอ้างว่าผู้คนได้คิดค้นความคิดของพระเจ้าว่าเป็นเครื่องค้ำจุนแก่พวกเขาเอง ประการแรก พระคัมภีร์กล่าวว่า พระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์เพื่อพระองค์เอง และทรงออกแบบให้มวลมนุษย์ปรารถนาจะมีสามัคคีธรรมกับพระองค์ตามธรรมชาติ โดยความจริงนี้ ออกัสตินเขียนว่า" โอพระเจ้า พระองค์ทรงสร้างเราเพื่อพระองค์เอง และจิตใจของเรากระสับกระส่ายจนกระทั่งได้พักสงบในพระองค์" พระคัมภีร์กล่าวว่ามนุษยชาติถูกสร้างขึ้นตามพระฉายของพระเจ้า
ปฐมกาล 1:26 “แล้วพระเจ้าตรัสว่า “ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของเรา ให้ครอบครองฝูงปลาในทะเล ฝูงนกในอากาศและฝูงสัตว์ ให้ปกครองแผ่นดินทั่วไป และสัตว์ต่างๆที่เลื้อยคลานบนแผ่นดิน”
โดยความจริงนี้ มันไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อว่าเรารู้สึกปรารถนาจะมีพระเจ้า เพราะเราถูกสร้างขึ้นด้วยแรงปรารถนานี้หรือ ลายนิ้วพระหัตถ์ของพระเจ้าและความเป็นไปได้เรื่องการสามัคคีธรรมระหว่างสรรพสิ่งที่ทรงสร้างกับพระผู้สร้างไม่ควรดำรงอยู่หรือ
ประการที่สอง พระคัมภีร์กล่าวว่าแท้จริงผู้คนกระทำในลักษณะตรงกันข้ามกับสิ่งที่ฟรอยด์ และลูกศิษย์ของเขากล่าวอ้าง พระคัมภีร์กล่าวว่ามนุษยชาติก่อการกบฏต่อพระเจ้า และโดยธรรมชาติผลักดันพระองค์ออกไปแทนที่จะปรารถนาพระองค์ และการปฏิเสธดังกล่าวเป็นเหตุผลทำให้พระเจ้าทรงพระพิโรธต่อพวกเขา ความจริงก็คือโดยปกติธรรมดาผู้คนทำทุกอย่างเพื่อให้พวกเขาสามารถบีบคั้นความจริงเรื่องพระเจ้า ซึ่งเป็นบางสิ่งที่เปาโลได้เขียนไว้:
โรม 1:18–22 “เพราะว่าพระเจ้าทรงสำแดงพระพิโรธของพระองค์จากสวรรค์ ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ที่ เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง เหตุว่าเท่าที่จะรู้จักพระเจ้าได้ก็แจ้งอยู่กับใจเขาทั้งหลาย เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงโปรดสำแดงแก่เขาแล้ว ตั้งแต่เริ่มสร้างโลกมาแล้ว สภาพที่ไม่ปรากฏของพระเจ้านั้น คือฤทธานุภาพอันถาวรและเทวสภาพของพระองค์ ก็ได้ปรากฏชัดในสรรพสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ฉะนั้นเขาทั้งหลายจึงไม่มีข้อแก้ตัวเลย เพราะถึงแม้ว่าเขาทั้งหลายได้รู้จักพระเจ้าแล้ว เขาก็มิได้ถวายพระเกียรติแด่พระองค์ให้สมกับที่ทรงเป็นพระเจ้า หรือหาได้ขอบพระคุณไม่ แต่เขากลับคิดในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ และจิตใจโง่เขลาของเขาก็มืดมัวไป เขาอ้างตัวว่าเป็นคนมีปัญญา เขาจึงกลายเป็นคนโง่เขลาไป”
ความจริงที่ว่าพระเจ้าทรงปรากฏชัดแก่ทุกคนในสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง ตามที่ระบุในบันทึกของเปาโล ถูกสรุปไว้อย่างดีเลยโดยซี เอส ลิวอิส ผู้เขียนว่า "เราอาจเมินเฉยได้ แต่เราไม่มีสถานที่จะหลบเลี่ยงได้ การปรากฏต่อพระพักตร์ของพระเจ้า โลกเนืองแน่นไปด้วยผู้คนกับพระองค์"
ฟรอยด์เองยอมรับว่าศาสนาเป็น "ศัตรู" และแท้จริงนี่คือวิธีที่พระเจ้าทรงพรรณนาแก่มนุษยชาติ ก่อนที่เขาจะรู้แจ้งเห็นจริงฝ่ายวิญญาณ - เหมือนดังพวกศัตรูของพระเจ้านี่คือสิ่งที่เปาโลได้ยอมรับด้วย:
โรม 5:10 “เพราะว่าถ้าขณะที่เรายังเป็นศัตรูต่อพระเจ้าเราได้กลับคืนดีกับพระองค์ โดยที่พระบุตรของพระองค์สิ้นพระชนม์ ยิ่งกว่านั้นอีกเมื่อเรากลับคืนดีแล้ว เราก็จะรอดโดยพระชนม์ชีพของพระองค์แน่”
ประการที่สาม พระคัมภีร์เองกล่าวว่าชีวิตนั้นแสนยากลำบาก ความทุกข์ลำบากเป็นเรื่องปกติธรรมดา และทุกคนจะประสบกับการกลัวความตาย เหล่านี้คือความจริงที่พบได้ง่ายในโลกรอบตัวเรา พระคัมภีร์กล่าวด้วยว่า พระเจ้าทรงประทับที่นั่น ทรงคอยช่วยเราให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบาก และทรงสัญญาให้เรามั่นใจว่าพระเยซูทรงพิชิตการกลัวความตาย
ยอห์น 16:33 “เราได้บอกเรื่องนี้แก่ท่าน เพื่อท่านจะได้มีสันติสุขในเรา ในโลกนี้ท่านจะประสบความทุกข์ยาก แต่จงชื่นใจเถิด เพราะว่าเราได้ชนะโลกแล้ว”
พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าทรงห่วงใยและช่วยเหลือประชากรของพระองค์ และพระองค์ทรงสั่งให้สาวกของพระองค์ช่วยซึ่งกันและกัน และช่วยแบกรับภาระของกันและกัน
กาลาเทีย 6:2 “จงช่วยรับภาระของกันและกัน ท่านจึงจะได้ปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระคริสต์”
1 เปโตร 5:6-7 “เหตุฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงถ่อมใจลงภายใต้พระหัตถ์อันทรงฤทธิ์ของพระเจ้า เพื่อว่าพระองค์จะได้ทรงยกท่านขึ้นเมื่อถึงเวลาอันควร จงละความกระวนกระวายของท่านไว้กับพระองค์ เพราะว่าพระองค์ทรงห่วงใยท่านทั้งหลาย”
มัทธิว 11:28–30 “บรรดาผู้ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลาย หายเหนื่อยเป็นสุข จงเอาแอกของเราแบกไว้ แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพและใจอ่อนน้อม และจิตใจท่านทั้งหลายจะได้พัก ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะ และภาระของเราก็เบา”
นอกเหนือจากการช่วยเหลือทุกวันแล้ว การกลัวความตายยังได้รับการพิชิตแล้วโดยพระคริสต์ด้วย โดยการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์นั้น พระเยซูทรงพิสูจน์ว่าความตายไม่มีอำนาจเหนือพระองค์ และพระวจนะของพระเจ้ากล่าวว่าการฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์เป็นหลักฐานการฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้งและชีวิตนิรันดร์ของทุกคนที่วางใจในพระองค์
1โครินธ์ 15:20 “แต่ความจริงพระคริสต์ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว และทรงเป็นผลแรกในพวกคนทั้งหลายที่ได้ล่วงหลับไปแล้วนั้น”
การปลดปล่อยตัวจากการกลัวความตายเป็นความจริงที่ผู้เขียนพระธรรมฮีบรูประกาศไว้
ฮีบรู 2:14–15 “บุตรทั้งหลายร่วมสายโลหิตกันฉันใด พระองค์ก็ทรงเป็นเช่นนั้นด้วย เพื่อโดยทางความตายนั้นเอง พระองค์จะได้ทรงทำลายผู้ที่มีอำนาจแห่งความตาย คือมารเสียได้ และจะได้ทรงช่วยเขาเหล่านั้นให้พ้นจากการเป็นทาสชั่วชีวิต เพราะเหตุกลัวความตาย”
ดังนั้น แน่นอนทีเดียว พระคัมภีร์พูดถึงการทรงพิทักษ์รักษาและห่วงใยของพระเจ้าและการทรงช่วยสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง ความจริงดังกล่าวได้ทำให้เกิดความสุขสบาย แต่ก็เป็นความสุขสบายที่ได้วางรากฐานบนความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ความปรารถนาที่จะบรรลุสมความปรารถนา
ความเชื่อในพระเจ้าคือเครื่องค้ำจุนหรือ – ข้อสรุป
เจสซี เวนทูรา ผิดพลาดเมื่อเขากล่าวว่าศาสนาไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าเครื่องค้ำจุน ถ้อยแถลงดังกล่าวพูดถึงลักษณะที่น่าภาคภูมิใจของมนุษย์ และเป็นตัวอย่างชัดเจนประเภทของคนที่ถูกตำหนิโดยพระเยซูในพระธรรมวิวรณ์:
วิวรณ์ 3:17 “เพราะเจ้าพูดว่า 'เราเป็นคนมั่งมีได้ทรัพย์สมบัติมาก และเราไม่ต้องการสิ่งใดเลย' เจ้าไม่รู้ว่าเจ้าเป็นคนแร้นแค้นเข็ญใจ เป็นคนขัดสน เป็นคนตาบอด และเปลือยกายอยู่”
การเรียกร้องให้บรรลุสมความปรารถนาของฟรอยด์ เวนทูรา และคนอื่น ๆ เพียงแต่กระทำเหมือนข้อกล่าวหาต่อต้านพวกเขาเอง และเป็นตู้โชว์ความปรารถนาที่จะปฏิเสธพระเจ้าและกรรมสิทธิ์ของพระองค์ที่มีต่อชีวิตของพวกเขา ซึ่งแท้จริงเป็นสิ่งที่พระคัมภีร์กล่าวว่ามนุษยชาติที่ล้มลงได้กระทำ แต่สำหรับคนพวกเดียวกันนี้ พระเจ้าทรงขอให้พวกเขายอมรับความปรารถนาที่แท้จริงและถวายตัวเองแทนที่ความหวังเท็จของมนุษยนิยมที่พวกเขายึดติด
ถ้อยคำต่างๆ ของพระคัมภีร์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและหลักฐานเรื่องพระคริสต์ทรงฟื้นคืนพระชนม์นำความสุขและความหวังอย่างแท้จริง ความหวังที่จะไม่ทำให้ผิดหวัง และสั่งสอนเราให้เดินในทางที่วางใจพระเจ้าและตระหนักถึงสถานะที่ "อ่อนแอ" จริงๆ ของเราต่อพระพักตร์พระองค์ เมื่อทำเสร็จดังนั้นแล้ว เราก็กลายเป็นคนเข้มแข็งเช่นเดียวกับที่เปาโลกล่าวไว้:
2โครินธ์ 12:10 “เหตุฉะนั้นเพราะเห็นแก่พระคริสต์ ข้าพเจ้าจึงชื่นใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้า ในการประทุษร้ายต่างๆในความยากลำบาก ในการถูกข่มเหง ในความอับจน เพราะว่าข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงมากเมื่อนั้น”
English
ความเชื่อในพระเจ้าเป็นเครื่องค้ำจุนไหม?