คำถาม
พระคัมภีร์กบอกว่าอะไรระหว่างความเชื่อกับความกลัว
คำตอบ
ความเชื่อและความกลัวนั้นอยู่ด้วยกันไม่ได้ มีการอธิบายถึงความเชื่อในฮีบรู 11:1 ว่าเป็นการ “มั่นใจในสิ่งที่เรามองไม่เห็น” เป็นความเชื่อที่แน่นอนซึ่งพระเจ้าทำงานอยู่เบื้องหลังในทุกด้านของชีวิตเรา แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงนั้น ในทางกลับกันความกลัวซึ่งกล่าวอย่างง่ายๆ แล้วคือความไม่เชื่อหรือการมีความเชื่อที่อ่อนแอ เมื่อความไม่เชื่อมีอิทธิพลเหนือความคิดของเรา ความกลัวก็เข้าครอบงำอารมณ์ของเรา ความอิสระจากความกลัวและความกังวลขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อ ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการไม่เชื่อ เราต้องเข้าใจว่าความเชื่อนั้นไม่ใช้สิ่งที่เราสามารถที่จะสร้างขึ้นมาเอง ความเชื่อเป็นของประทาน (เอเฟซัส 2:8-9) และความสัตย์ซื่อได้รับการอธิบายว่าเป็นผล (หรืออุปนิสัย) ซึ่งได้รับการสร้างขึ้นมาในชีวิตของเราโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กาลาเทีย 5:22-23) ความเชื่อของคริสเตียนคือความมั่นใจในพระเจ้าที่ทรงรักเรา ผู้ทรงทราบความคิดของเราและใส่ใจความต้องการส่วนลึกของเรา ความเชื่อนั้นเติบโตอย่างต่อเนื่องในขณะที่เราศึกษาพระคัมภีร์และเรียนรู้ถึงคุณลักษณะอันอัศจรรย์ของพระองค์ ยิ่งเราเรียนรู้เกี่ยวกับพระเจ้ามากเท่าไร เราก็จะยิ่งเห็นพระองค์ทรงทำงานในชีวิตของเราและความเชื่อของเราก็แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ความเชื่อที่เติบโตคือสิ่งที่เราปรารถนาอยากจะได้และเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงปรารถนาที่สร้างขึ้นภายในเรา แต่ในการดำเนินชีวิตแบบวันต่อวันนั้นจะช่วยเราพัฒนาความเชื่อที่เอาชนะความกลัวได้อย่างไร พระคัมภีร์กล่าวว่า “ฉะนั้นความเชื่อจึงเกิดขึ้นจากการได้ยินเรื่องราวนั้น และเรื่องราวที่ได้ยินนั้นคือพระวจนะของพระคริสต์” (โรม 10:17) การศึกษาพระคำของพระเจ้าอย่างระมัดระวังเป็นความสำคัญอันดับแรกในการพัฒนาความเชื่อที่แข็งแกร่ง พระเจ้าอยากให้เรารู้จักพระองค์และพึ่งพาการทรงนำของพระองค์ในชีวิตของเราอย่างสมบูรณ์ ผ่านทางการฟัง การอ่าน และการใคร่ครวญพระคัมภีร์ทำให้เราเริ่มมีประสบการณ์ในความเชื่อที่เข้มเข็งและมั่นคงซึ่งปราศจากความกังวลและความกลัว การใช้เวลาในการอธิษฐานและนมัสการเงียบๆ ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของเรากับพระบิดาในสวรรค์ที่ทรงเห็นเราแม้ในค่ำคืนซึ่งมืดที่สุด ในพระธรรมสดุดีเราเห็นภาพของดาวิด ผู้ซึ่งเหมือนกับเราและประสบกับช่วงเวลาแห่งความกลัว พระธรรมสดุดี 56:3 เปิดเผยความเชื่อของเขาด้วยคำพูดเหล่านี้คือ “เมื่อข้าพระองค์กลัว ข้าพระองค์จะวางใจในพระองค์” พระธรรมสดุดีบทที่ 119 นั้นเต็มไปด้วยข้อต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงวิธีที่ดาวิดรักพระวจนะของพระเจ้าคือ “ข้าพระองค์แสวงหาพระองค์หมดทั้งใจ ขออย่าให้ข้าพระองค์เตลิดจากพระบัญชาของพระองค์” (ข้อ 10) “ข้าพระองค์ใคร่ครวญข้อบังคับของพระองค์ และพิเคราะห์วิถีทางของพระองค์” (ข้อ 15) “ข้าพระองค์จดจำพระวจนะของพระองค์ไว้ในใจ เพื่อจะได้ไม่ทำบาปต่อพระองค์” (ข้อ 11) สิ่งเหล่านี้เป็นถ้อยคำที่เปิดเผยซึ่งบอกถึงปัญญาให้แก่เราในปัจจุบันนี้
พระเจ้าทรงพระกรุณาและเข้าใจความอ่อนแอของเรา แต่พระองค์ทรงต้องการให้เราเดินหน้าต่อไปในความเชื่อ และพระคัมภีร์กล่าวอย่างชัดเจนว่าความเชื่อจะไม่เติบโตอย่างเต็มที่หรือแข็งแกร่งขึ้นหากปราศจากการทดสอบ ความทุกข์ยากเป็นเครื่องมือที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับพระเจ้าเพื่อสร้างความเชื่อที่มั่นคง รูปแบบนี้ชัดเจนในพระคัมภีร์ พระเจ้าทรงนำเราแต่ละคนผ่านสถานการณ์ที่น่ากลัวและในขณะที่เราเรียนรู้ที่จะเชื่อฟังพระคำของพระเจ้าและอนุญาตให้มั่นชุ่มอยู่ในความคิดของเรา เราจะพบว่าการทดสอบแต่ละครั้งเป็นวิธีการในการก้าวไปยังความเชื่อที่แข็งแกร่งและลงลึกมากขึ้น มันทำให้เรามีความสามารถในการกล่าวว่า “พระองค์ทรงค้ำจุนข้าพระองค์ไว้ในอดีต พระองค์จะทรงอุ้มข้าพระองค์ผ่านวันนี้ และพระองค์จะทรงยกเราขึ้นในอนาคต” พระเจ้าทรงทำงานแบบนี้ในชีวิตของดาวิด เมื่อดาวิดอาสาที่จะต่อสู้กับโกลิอัท เขากล่าวว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงช่วยข้าพระบาทจากเขี้ยวเล็บของสิงโตและหมี จะช่วยข้าพระบาทจากมือชาวฟีลิสเตียผู้นี้” (1 ซามูเอล 17:37) ดาวิดรู้จักพระเจ้าผู้ซึ่งค้ำจุนเขาผ่านสถานการณ์ที่อันตรายในอดีต เขาได้เห็นและมีประสบการณ์กับฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าและการปกป้องในชีวิตของเขาและสิ่งนี้ทำให้เกิดการพัฒนาความเชื่อที่ไร้ความกลัวภายในตัวเขา
พระคำของพระเจ้านั้นอุดมไปด้วยพระสัญญาที่ให้เราฉวยไว้และเรียกร้องเพื่อตัวเราเอง เมื่อเราประสบกับปัญหาทางด้านการเงิน ฟิลิปปี 4:19 บอกเราว่า “และพระเจ้าของข้าพเจ้าจะประทานสิ่งที่จำเป็นทุกอย่างแก่ท่านจากความมั่งคั่งอันเลอเลิศของพระองค์ในพระเยซูคริสต์” ถ้าเราวิตกกังวลเกี่ยวกับแผนการในอนาคต สดุดี 32:8 เตือนความจำเราว่าพระเจ้าจะ “สอนและชี้แนะทางที่เจ้าควรเดินไป เราจะให้คำปรึกษาและเฝ้าดูเจ้า” ในความเจ็บป่วยเราจำได้ว่าโรม 5:3-5 กล่าวว่า “ไม่เพียงเท่านั้นแต่เรายังชื่นชมยินดีในความทุกข์ยากของเราด้วย เพราะเรารู้ว่าความทุกข์ยากนั้นก่อให้เกิดความบากบั่น ความบากบั่นทำให้เรามีอุปนิสัยที่พิสูจน์แล้วว่าใช้การได้ และอุปนิสัยเช่นนั้นทำให้มีความหวัง และความหวังไม่ทำให้เราผิดหวัง เพราะพระเจ้าทรงเทความรักของพระองค์เข้ามาในจิตใจของเราโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ผู้ซึ่งพระเจ้าได้ประทานแก่เรา” ถ้าบางคนต่อต้านเรา เราสามารถรับการปลอบโยนจากถ้อยคำในโรม 8:31 คือ “...ถ้าพระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายเราใครเล่าจะต่อสู้เราได้?” ตลอดทั้งชีวิตเราจะพบเจอกับการทดสอบมากมายซึ่งจะทำให้เรากลัว แต่พระเจ้าทรงทำให้เรามั่นใจว่าเราจะรู้จักที่แห่งความสงบในทุกสถานการณ์คือ “อย่ากระวนกระวายในเรื่องใดๆ เลย แต่จงทูลขอทุกสิ่งต่อพระเจ้าด้วยการอธิษฐานและการอ้อนวอนพร้อมกับการขอบพระคุณ แล้วสันติสุขของพระเจ้าซึ่งเกินความเข้าใจจะปกป้องความคิดจิตใจของท่านไว้ในพระเยซูคริสต์” (ฟิลิปปี 4:6-7)
English
พระคัมภีร์กบอกว่าอะไรระหว่างความเชื่อกับความกลัว