คำถาม
พระคัมภีร์สอนเราเกี่ยวกับการให้อภัยและการลืมหรือไม่?
คำตอบ
วลีที่ว่า “การให้อภัยและการลืม” นั้นไม่พบในพระคัมภีร์ อย่างไรก็ตามมีข้อพระคัมภีร์มากมายที่สอนให้เรา “ให้อภัยซึ่งกันและกัน” (ยกตัวอย่างเช่นมัทธิว 6:14 และเอเฟซัส 4:32) คริสเตียนที่ไม่เต็มใจให้อภัยผู้อื่นนั้นจะพบว่าการสามัคคีธรรมของเขากับพระเจ้าถูกขัดขวาง (มัทธิว 6:15) และสามารถเก็บเกี่ยวเป็นความขมขื่นและรางวัลแห่งการสูญเสีย (ฮีบรู 12:14-15, 2 ยอห์น 1:8)
การให้อภัยเป็นการตัดสินใจด้วยความตั้งใจ ในเมื่อพระเจ้าทรงบัญชาให้เราให้อภัย เราจึงต้องเลือกอย่างมีจิตสำนึกที่จะเชื่อฟังพระเจ้าและให้อภัย ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่ปรารถนาการให้อภัยและอาจจะไม่อยากเปลี่ยนแปลง แต่นั่นไม่ได้ลบล้างความปรารถนาของพระเจ้าที่อยากจะให้เราจะมีวิญญาณแห่งการให้อภัย (มัทธิว 5:44) ตามหลักการแล้วผู้กระทำความผิดจะแสวงหาการคืนดี แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นผู้ที่ถูกกระทำผิดก็ยังสามารถตัดสินใจที่จะให้อภัยได้
แน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะลืมอย่างแท้จริงถึงความบาปที่ได้มีการกระทำต่อเรา เราไม่สามารถเลือก “ลบ” เหตุการณ์ต่างๆ จากความทรงจำของเราได้ พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าไม่ทรง “จดจำ” ความชั่วร้ายของเรา (ฮีบรู 8:12) แต่พระเจ้ายังคงรอบรู้ในทุกสิ่ง พระเจ้าทรงจำได้ว่าเรา “ทำบาปและเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า” (โรม 3:23) แต่เมื่อได้รับการอภัยแล้วเรามีตำแหน่งตามความชอบธรรม (หรือตามกฎหมาย) สวรรค์เป็นของเราราวกับว่าบาปของเราไม่เคยเกิดขึ้น หากเราเป็นของพระองค์โดยทางความเชื่อในพระคริสต์แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงลงโทษเราเพราะบาปของเรา (โรม 8:1) ในความรู้สึกนั้นพระเจ้าทรง “ให้อภัยและลืม”
หากโดย “การให้อภัยและการลืม” คนคนหนึ่งหมายถึง “ฉันเลือกที่จะให้อภัยผู้กระทำความผิดเพื่อเห็นแก่พระคริสต์และดำเนินชีวิตต่อไป” ฉะนั้นนี่เป็นวิธีการที่เฉลียวฉลาดและมีศีลธรรม เป็นไปได้เท่าที่จะทำได้คือเราควรลืมสิ่งที่ผ่านพ้นมาแล้วโน้มตัวไปยังสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า (ฟิลิปปี 3:13) เราควรให้อภัยแก่กันและกัน “เหมือนอย่างที่พระเจ้าทรงให้อภัยพวกท่านในพระคริสต์” (เอเฟซัส 4:32) เราต้องไม่ปล่อยให้รากแห่งความขมขื่นผุดขึ้นในใจของเรา (ฮีบรู 12:15)
อย่างไรก็ตามหากโดย “การให้อภัยและการลืม” คนคนหนึ่งหมายถึง “ฉันจะกระทำราวกับว่าบาปนั้นไม่เคยเกิดขึ้นและใช้ชีวิตราวกับว่าฉันจำมันไม่ได้” ดังนั้นเราจะประสบปัญหาได้ ยกตัวอย่างเช่นผู้เสียหายจากการถูกข่มขืนสามารถเลือกที่จะให้อภัยผู้ข่มขืน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเธอควรจะกระทำราวกับว่าบาปนั้นไม่เคยเกิดขึ้น การใช้เวลาตามลำพังกับผู้ข่มขืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเขาไม่สำนึกผิดนั้นไม่ใช่สิ่งที่พระคัมภีร์มีสอนไว้ การให้อภัยรวมถึงการไม่ถือเอาความบาปมากล่าวโทษบุคคลหนึ่งบุคคลใดอีกต่อไป แต่การให้อภัยแตกต่างจากความไว้วางใจเป็นความเฉลียวฉลาดที่จะระมัดระวังในการกระทำและบางครั้งความเคลื่อนไหวของความสัมพันธ์ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงไป “คนสุขุมเห็นอันตรายและซ่อนตัวเสีย แต่คนรู้น้อยเดินเรื่อยไปและรับอันตรายนั้น” (สุภาษิต 22:3) พระเยซูตรัสกับสาวกของพระองค์ว่า “จงเฉลียวฉลาดเหมือนงู และไม่มีพิษมีภัยเหมือนนกพิราบ” (มัทธิว 10:16) ในบริบทของการรักษาความสัมพันธ์ร่วมกับคนบาปที่ไม่สำนึกผิดนั้นเราจำเป็นจะต้อง “บริสุทธิ์” (เต็มใจที่จะให้อภัย) แต่ในขณะเดียวกันก็ต้อง “เฉลียวฉลาด” (มีความระมัดระวัง)
แบบอย่างที่ดีในการให้อภัยและการลืม คือความรักนั้นไม่ช่างจดจำความผิด (1 โครินธ์ 13:5) และให้อภัยบาปมากมายได้ (1 เปโตร 4:8) อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงจิตใจนั้นเป็นหน้าที่ของพระเจ้าและจนกว่าผู้กระทำความผิดจะมีการเปลี่ยนแปลงจิตใจแบบอัศจรรย์อย่างแท้จริง ซึ่งก็เป็นเพียงความเฉลียวฉลาดในระดับของความไว้วางใจอย่างเดียวในบุคคลนั้น การระมัดระวังไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้ให้อภัย ความหมายที่ชัดเจนคือเราไม่ใช่พระเจ้าและเราไม่สามารถมองเห็นหัวใจของคนคนนั้นได้
English
พระคัมภีร์สอนเราเกี่ยวกับการให้อภัยและการลืมหรือไม่?