คำถาม
ทำไมพระเจ้าทรงประทานพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มแก่เรา?
คำตอบ
นี่เป็นเหตุผลบางอย่างที่พระเจ้าทรงประทานพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มแทนที่เป็นเล่มเดียว
1) เพื่อให้ภาพของพระคริสต์สมบูรณ์มากขึ้น
ในขณะที่พระคัมภีร์ทั้งเล่มได้รับการดลใจจากพระเจ้า Timothy 2 ทิโมธี 3:16 “พระคัมภีร์ ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในทางธรรม”
ทรงใช้มนุษย์ที่มีภูมิหลัง และมีบุคลิกที่แตกต่างกัน เป็นผู้เขียน เพื่อให้บรรลุพระประสงค์ของพระองค์ผ่านการเขียนของพวกเขา ผู้เขียนพระกิตติคุณแต่ละคนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันชัดเจนเบื้องหลังพระกิตติคุณของเขา และในการบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น แต่ละคนเน้นด้านที่แตกต่างกันในความเป็นบุคคลและการปฏิบัติภารกิจของพระเยซูคริสต์
มัทธิวกำลังเขียนถึงชาวฮีบรู และจุดประสงค์อย่างหนึ่งของเขาคือการบอกเล่าการสืบวงศ์ตระกูลของพระเยซู และการทำให้คำพยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมสำเร็จครบถ้วน ที่ว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่รอคอยกันมานานและเราสมควรต้องเชื่อ มัทธิวเน้นย้ำว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าตามพระสัญญา "บุตรแห่งดาวิด" ผู้ซึ่งจะประทับบนบัลลังก์อิสราเอลนิจนิรันดร์
มัทธิว 9:27 “ครั้นพระเยซูเสด็จไปจากที่นั่น ก็มีคนตาบอดสองคนตามพระองค์มาร้องว่า “บุตรดาวิดเจ้าข้า ขอเมตตาข้าพระองค์เถิด” มัทธิว 21:9 “ฝ่ายฝูงชนซึ่งเดินไปข้างหน้า กับผู้ที่ตามมาข้างหลัง ก็พร้อมกันโห่ร้องว่า “โฮซันนา แก่ราชโอรสของดาวิด ขอให้ท่านผู้ที่เสด็จมาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงพระเจริญโฮซันนา ในที่สูงสุด”
มาระโก ลูกพี่ลูกน้องของบาร์นาบัส เป็นสักขีพยานกับเหตุการณ์ในชีวประวัติของพระเยซูคริสต์และเขามีฐานะเป็นสหายของอัครสาวกเปโตร โคโลสี 4:10 “อาริสทารคัส เพื่อนร่วมในการถูกจำจองกับข้าพเจ้าฝากความคิดถึงมายังท่านทั้งหลาย และมาระโก ลูกพี่ลูกน้องของบารนาบัส และเยซูซึ่งมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่ายุสทัส ก็ฝากความคิดถึงมายังท่านด้วย (ท่านได้รับคำสั่งถึงเรื่องมาระโกแล้วว่า ถ้าเขามาหาท่าน ก็จงรับรองเขา)” มาระโกเขียนเพื่อผู้อ่านที่เป็นคนต่างชาติ มีสิ่งที่เขานำเสนอออกไป โดยเขาไม่ได้รวมถึงสิ่งสำคัญสำหรับผู้อ่านชาวยิว (ลำดับวงศ์ตระกูล การโต้แย้งเรื่องของพระคริสต์กับผู้นำชาวยิวในสมัยพระองค์ การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิมบ่อยครั้ง และอื่นๆ) มาระโกเน้นว่าพระคริสต์ทรงเป็นผู้รับใช้ที่ทนทุกข์ทรมาน บุคคลผู้หนึ่งที่ไม่ได้เข้ามาเพื่อรับการปรนนิบัติแต่พลีพระชนม์พระองค์เป็นค่าไถ่สำหรับคนมากมาย มาระโก10:45 “เพราะว่าบุตรมนุษย์มิได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา และประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก”
ลูกา "แพทย์ผู้เป็นที่รัก" นักประกาศ และเพื่อนของอัครทูตเปาโล เขียนทั้งพระกิตติคุณลูกาและกิจการของอัครทูต โคโลสี 4:14 “ลูกา แพทย์ที่รัก กับเดมาส ฝากความคิดถึงมายังพวกท่าน”
ลูกาเป็นผู้เขียนต่างชาติเพียงคนเดียวในพันธสัญญาใหม่ เขาได้รับการยอมรับมานานว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ชั้นยอดที่ขยันโดยเหล่าคนที่ได้ใช้งานเขียนของเขาในการศึกษาประวัติศาสตร์และลำดับพงศ์พันธุ์ ในฐานะที่เป็นนักประวัติศาสตร์ เขากล่าวว่ามันเป็นความตั้งใจของเขาที่จะเขียนเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซูคริสต์บนพื้นฐานของรายงานจากบรรดาพยานผู้เห็นเหตุการณ์
ลูกา 1:1-4 “ท่านเธโอฟีลัส ที่เคารพอย่างสูง ท่านทราบแล้วว่า มีหลายคนได้อุตส่าห์เรียบเรียงเรื่องราวเหล่านั้น ซึ่งสำเร็จแล้วในท่ามกลางเราทั้งหลาย ตามที่เขาผู้ได้เห็นกับตาเองตั้งแต่ต้น และเป็นผู้ประกาศพระวจนะนั้น ได้แสดงให้เรารู้ เหตุฉะนั้น เนื่องจากข้าพเจ้าเองได้สืบเสาะถ้วนถี่ตั้งแต่ต้นมา จึงเห็นดีด้วยที่จะเรียบเรียงเรื่องตามลำดับ เพื่อประโยชน์แก่ท่าน เพื่อท่านจะได้รู้ความจริงอันเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านั้น ซึ่งมีผู้แจ้งให้ท่านทราบ”
เพราะเขาเขียนเฉพาะเป็นพิเศษเพื่อเห็นแก่ท่านธีโอฟีลัส ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นคนต่างชาติที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง พระกิตติคุณของเขามุ่งจะเขียนให้แก่ผู้อ่านที่เป็นคนชาวต่างชาติ และความตั้งใจของเขาคือการแสดงให้เห็นว่าความเชื่อของคริสเตียนวางบนพื้นฐานเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้ ลูกา มักจะอ้างถึงพระคริสต์ในฐานะ "บุตรมนุษย์" เน้นความเป็นสภาพมนุษย์ของพระองค์ และเขาแบ่งปันรายละเอียดหลายอย่างที่ไม่พบเรื่องราวในพระกิตติคุณเล่มอื่น
พระกิตติคุณยอห์นเขียนโดยอัครสาวกยอห์น ที่แตกต่างจากพระกิตติคุณอีกสามเล่ม และมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับศาสนศาสตร์มาก เรื่องสภาพบุคคลของพระคริสต์และความหมายของความเชื่อ
มัทธิว มาระโก และ ลูกา ถูกเรียกว่า "พระกิตติคุณใจความสำคัญ" เพราะรูปแบบที่คล้ายกันและเนื้อหาและเนื่องจากพวกเขาให้บทสรุปชีวประวัติของพระเยซูคริสต์ พระกิตติคุณยอห์นไม่ได้เริ่มต้นที่กำเนิดของพระเยซูหรือพันธกิจในโลก แต่ด้วยกิจกรรมและพระลักษณะพิเศษของพระบุตรของพระเจ้าก่อนที่ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ พระกิตติคุณยอห์นเน้นพระคริสต์ในสภาพพระเจ้า ดังที่เห็นการใช้วลีว่า พระวาทะคือพระเจ้า ยอห์น1:1 “ในปฐมกาลพระวาทะดำรงอยู่ และพระวาทะทรงสถิตอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า ยอห์น1:14 “พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง เราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์ คือพระสิริอันสมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา” "พระผู้ช่วยให้รอดของโลก"
ยอห์น 4:42 "บุตรของพระเจ้า" (ใช้ซ้ำๆ) และ "องค์พระเจ้าและ ... พระเจ้า" ยอห์น 20:28 “โธมัสทูลพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์”
ในพระกิตติคุณยอห์น พระเยซูทรงยืนยันความเป็นพระเจ้าในคำตรัสหลายครั้งว่า “ เราเป็น” ที่สังเกตชัดที่สุดจากหลายครั้ง คือในยอห์น 8:58 “พระเยซูตรัสกับเขาว่า “ข้าพเจ้า บอกความจริงแก่ท่านว่า ข้าพเจ้า ดำรงอยู่ก่อนอับราฮัมเกิด” อพยพ 3:13-14 “ฝ่ายโมเสสทูลพระเจ้าว่า “เมื่อข้าพระองค์ไปหาชนชาติอิสราเอล และบอกพวกเขาว่า 'พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของท่านทั้งหลาย ทรงสั่งข้าพเจ้ามาหาท่าน' และเขาจะถามข้าพระองค์ว่า 'พระองค์ทรงพระนามว่ากระไร' ข้าพระองค์จะตอบเขาอย่างไร” พระเจ้าจึงตรัสกับโมเสสว่า “ข้าพระองค์เป็นผู้ซึ่งข้าพระองค์เป็น” แล้วพระองค์ตรัสว่า “ไปบอกชนชาติอิสราเอลว่า 'พระองค์ผู้ทรงพระนามว่าข้าพระองค์เป็น ทรงใช้ข้าพเจ้ามาหาท่านทั้งหลาย' ” แต่ยอห์นยังเน้นสภาพความเป็นมนุษย์แท้จริงของพระเยซู ปรารถนาที่จะแสดงให้เห็นข้อผิดพลาดของลัทธิศาสนาหนึ่งในยุคของเขา คือพวกนอสติค ที่ไม่เชื่อในความเป็นมนุษย์ของพระคริสต์ พระกิตติคุณยอห์น เขียนแบบค่อย ๆ อธิบายวัตถุประสงค์ทั้งหมด: ยอห์น 20:30-31 “พระเยซูได้ทรงกระทำหมายสำคัญอื่นๆ อีกหลายประการต่อหน้าสาวกเหล่านั้น ซึ่งไม่ได้บันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ แต่การที่ได้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า และเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์”
ดังนั้น สภาพบุคคลของพระคริสต์และพันธกิจของพระองค์ด้านที่แตกต่างกันได้ถูกเปิดเผยเป็น
เรื่องราวของพระคริสต์ในพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มที่แตกต่างและถูกต้องเท่าเทียมกัน เรื่องราวแต่ละเล่มกลายเป็นเหมือนด้ายที่มีสีสันแตกต่างกันถักทอเข้าด้วยกัน เป็นภาพที่สมบูรณ์มากขึ้นของบุคคลผู้หนึ่งที่เหนือกว่าคำอธิบาย และในขณะที่เราไม่มีวันเข้าใจทุกอย่างเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ (ยอห์น 20:30) ผ่านทางพระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม เราสามารถรู้จักพระองค์เพียงพอที่จะชื่นชมว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ใด และสิ่งที่ทรงได้ทำแก่เราเพื่อที่เราจะได้มีชีวิตโดยความเชื่อในพระองค์
2) เพื่อช่วยให้เราสามารถตรวจสอบความจริงของเรื่องราวเหตุการณ์ทั้งหลายอย่างมีเป้าหมาย
พระคัมภีร์จากยุคสมัยแรก กล่าวว่าการตัดสินในศาล ต้องไม่เป็นการต่อต้านบุคคลใด โดยขึ้นอยู่กับคำให้การของพยานที่เห็นเหตุการณ์เพียงคนเดียว แต่จำเป็นต้องมีพยานอย่างน้อยสองหรือสามคน เฉลยธรรมบัญญัติ 19:15 “อย่าให้พยานปากเดียวยืนยันกล่าวโทษผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ว่าในเรื่องอาชญากรรม หรือในเรื่องความผิดใดๆซึ่งเขาได้กระทำผิดไป แต่ต้องมีพยานสองหรือสามปาก คำพยานนั้นจึงจะเป็นที่เชื่อถือได้” ดังนั้น การมีเรื่องราว ที่แตกต่างกันของบุคคลและ การปฏิบัติศาสนกิจในโลกนี้ของพระเยซูคริสต์ ช่วยให้เราสามารถ ประเมิน ความถูกต้องของ ข้อมูลที่เรามีเกี่ยวกับ พระองค์
ไซมอน กรีนลีฟ ผู้มีสิทธิอำนาจ เป็นที่รู้จักและ ได้รับการยอมรับ ในสิ่งที่ก่อให้เกิดหลักฐานที่เชื่อถือได้ในศาล ได้ตรวจสอบพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มจากมุมมองทางกฎหมาย
เขาสังเกตว่าประเภทของเรื่องราวที่มีพยานผู้เห็นเหตุการณ์ในพระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม--- เรื่องราวเหล่านั้นสอดคล้องกัน แต่มีนักเขียนแต่ละคนเลือกที่จะตัดออก หรือเพิ่มรายละเอียดที่แตกต่างจากคนอื่น ๆ---เป็นแบบที่น่าเชื่อถือ แหล่งที่มาที่เป็นตัวของตัวเอง นั่นจะได้รับการยอมรับในชั้นศาลว่าเป็นหลักฐานที่แน่นหนา พระกิตติคุณแท้จริงได้บรรจุข้อมูลที่เหมือนกัน ที่มีรายละเอียดเหมือนกันที่เขียนจากมุมมองเดียวกัน ชี้ให้เห็นการสมรู้ร่วมมือกัน ตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาที่ผู้เขียนมาอยู่ร่วมกันล่วงหน้านี้ "ทำให้เรื่องราวของพวกเขาตรง" เพื่อที่จะทำให้ข้อเขียนของพวกเขาดูน่าเชื่อถือได้ ความแตกต่างระหว่าง พระกิตติคุณ แม้รายละเอียดมีความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดเมื่อทำการตรวจสอบครั้งแรก พูดกับการเขียนที่มีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น ลักษณะของเรื่องราวในพระกิตติคุณทั้งสี่ที่เป็นตัวของตัวเอง เห็นด้วยในข้อมูลของพวกเขา แต่แตกต่างกันในมุมมอง เนื้อหารายละเอียด และเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกไว้ ระบุว่าการบันทึกชีวประวัติ ของพระคริสต์ และบอกเล่าพระราชกิจ ที่ทรงสำแดง ในพระกิตติคุณเป็นจริงและน่าเชื่อถือ
3) เพื่อ ให้สิ่งตอบแทนแก่ ผู้เสาะหาที่ขยัน
การศึกษาของพระกิตติคุณแต่ละฉบับเป็นส่วนบุคคลจะทำให้ได้รับตอบแทนมากมาย แต่ก็ยัง สามารถ ได้รับจากเรื่องราวที่แตกต่างกันโดยการเปรียบเทียบและเปรียบต่างกัน ของเหตุการณ์เฉพาะของพระราชกิจของพระเยซู ตัวอย่างเช่น ใน มัทธิว 14 เราได้ทราบเรื่องราวการเลี้ยงอาหารแก่คนห้าพันคน และ พระเยซูทรงดำเนิน บนน้ำ ใน มัทธิว 14:22 เราทราบว่า "พระเยซูทรงสั่งเหล่าสาวกให้ลงเรือและไปล่วงหน้าพระองค์ ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ในขณะที่ทรงถอยลาจากฝูงชน" คนหนึ่งอาจถามว่าทำไมทรงกระทำเช่นนี้? ในหนังสือมัทธิวไม่เขียนเหตุผลชัดเจนไว้ แต่เมื่อเรารวมกันกับเรื่องราวในมาระโกบทที่ 6 เราจะเห็นว่า เหล่าสาวกได้กลับมาจากการขับผี ปีศาจ และการรักษาผู้คน โดยใช้สิทธิอำนาจ พระองค์ทรงประทานให้แก่เขา เมื่อพระองค์ทรงส่ง พวกเขาออกไปทีละสองคน แต่พวกเขา กลับมาพร้อมกับ "ความสำคัญตนผิด" โดยลืมสถานะของพวกเขาและ ตอนนี้พร้อมที่จะแนะนำพระองค์
มัทธิว14:15 “ครั้นเวลาเย็นแล้วพวกสาวกมาทูลพระองค์ว่า “ที่นี่กันดารอาหารนัก และบัดนี้ก็เย็นลงมากแล้ว ขอพระองค์ทรงให้ประชาชนไปเสียเถิด เพื่อเขาจะได้ไปซื้ออาหารรับประทานตามหมู่บ้าน” ดังนั้นในการส่งพวกเขาออกในตอนเย็นเพื่อไปอีกฝั่งของทะเลกาลิลี พระเยซูทรงเปิดเผยให้พวกเขาเห็นสองสิ่ง ขณะที่พวกเขาต่อสู้กับลมและคลื่นโดยพึ่งกำลังตนเองจนกระทั่งชั่วโมงแรกของรุ่งเช้า มาระโก 6:48-50 “แล้วพระองค์ทอดพระเนตรเห็นเหล่าสาวกตีกรรเชียงลำบากเพราะทวนลมอยู่ ครั้นเวลาสามยามเศษ พระองค์จึงทรงดำเนินบนน้ำทะเลไปยังเหล่าสาวก และพระองค์ทรงดำเนินดังจะเลยเขาไป เมื่อเหล่าสาวกเห็นพระองค์ทรงดำเนินบนทะเล เขาสำคัญว่าผี แล้วพากันร้องอึงไป เพราะว่าทุกคนเห็นแล้วก็กลัว แต่ในทันใดนั้นพระองค์ทรงออกพระโอษฐ์ตรัสแก่เขาว่า “ทำใจให้ดีไว้เถิด ข้าพเจ้า เอง อย่ากลัวเลย”
พวกเขาเริ่มที่จะเห็นว่า 1) พวกเขาไม่สามารถทำอะไรเพื่อพระเจ้าได้เลยโดยใช้ความสามารถของตนเองและ 2) ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้หากพวกเขาร้องเรียกพระองค์และพึ่งพาฤทธิ์อำนาจของพระองค์ มีเนื้อหาหลายตอนที่บรรจุในพระคัมภีร์คล้าย "เพชร" ถูกพบโดยนักศึกษาพระวจนะของพระเจ้าที่ขยัน ผู้ที่ต้องใช้เวลาในการเปรียบเทียบข้อคัมภีร์ด้วยข้อพระคัมภีร์
English
ทำไมพระเจ้าทรงประทานพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มแก่เรา?