settings icon
share icon
คำถาม

กฎทองคำคืออะไร?

คำตอบ


"กฎทองคำ" เป็นชื่อที่ให้แก่หลักการซึ่งพระเยซูสอนในคำเทศนาภูเขาของพระองค์ คำที่แท้จริงที่ว่า "กฎทองคำ" ไม่ได้ปรากฏในพระคัมภีร์ เช่นเดียวกับคำว่า "คำเทศนาบนภูเขา" ก็ไม่พบเจอเช่นเดียวกัน หัวข้อเหล่านี้ถูกเพิ่มขึ้นมาในภายหลังโดยทีมงานแปลพระคัมภีร์เพื่อให้การศึกษาพระคัมภีร์นั้นง่ายมากขึ้น วลีที่ว่า "กฎทองคำ" เริ่มมีการถือว่าเขียนมาจากการสอนของพระเยซูในช่วงศตวรรษที่ 16 – 17

สิ่งที่เราเรียกว่ากฎทองคำอ้างมาจากมัทธิว 7:12 "จงปฏิบัติต่อผู้อื่น อย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน นั่นคือธรรมบัญญัติ และคำสั่งสอนของบรรดาผู้เผยพระวจนะ" พระเยซูรู้ถึงหัวใจและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ ในความเป็นจริงแล้วข้อก่อนหน้านี้พระองค์อธิบายถึงการที่มนุษย์มี "ความชั่ว" มาตั้งแต่เกิด (ข้อ 11) กฎทองคำของพระเยซูให้มาตรฐานแก่เราซึ่งจะทำให้ผู้ที่เห็นแก่ตัวสามารถที่จะประเมินการกระทำของตัวเองโดยการกระทำแก่ผู้อื่นในวิธีการที่เขาอยากให้ผู้อื่นกระทำต่อเขาอย่างกระตือรือร้น

พระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานภาษาอังกฤษแปลกฎทองคำดังนี้ "เหตุฉะนั้น สิ่งสารพัดซึ่งท่านปรารถนาให้มนุษย์ทำแก่ท่าน จงกระทำอย่างนั้นแก่เขาเหมือนกัน เพราะว่านี่คือพระราชบัญญัติและคำของศาสดาพยากรณ์" พระเยซูย่อพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมเป็นหลักการเดียวอย่างฉลาดหลักแหมซึ่งนำมาจากเลวีนิติ 19:18 "เจ้าอย่าแก้แค้นหรือผูกพยาบาทลูกหลานญาติพี่น้องของเจ้า แต่เจ้าจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง เราคือพระเจ้า" อีกครั้งเราเห็นถึงความหมายโดยนัยว่าผู้คนนั้นรักตัวเองและคำสั่งนี้ทำให้มีการใช้ข้อบกพร่องของมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้นที่จะกระทำแก่ผู้อื่น

ผู้คนทั่วโลกต้องการได้รับความเคารพ ความรักและการชมเชยไม่ว่าเราสมควรที่จะได้รับหรือไม่ พระเยซูเข้าใจความปรารถนานี้และใช้สิ่งนี้เพื่อที่จะส่งเสริมพฤติกรรมซึ่งเป็นเหมือนพระเจ้า คุณอยากจะได้รับความเคารพหรือไม่ ฉะนั้นให้คุณเคารพผู้อื่น คุณต้องการคำพูดดีๆ หรือไม่ ฉะนั้นให้คุณกล่าวคำพูดที่มีความกรุณาต่อผู้อื่น "การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ" (กิจการ 20:35) กฎทองคำเป็นส่วนหนึ่งพระมหาบัญชาที่สอง นำหน้าด้วยเพียงแค่คำบัญชาที่ว่ารักพระเจ้า (มัทธิว 22:37 – 39)

สิ่งที่น่าสนใจที่จะบันทึกไว้เกี่ยวกับกฎทองคำคือไม่มีศาสนาหรือระบบปรัชญาใดๆ ที่เท่ากับกฎนี้ กฎทองคำของพระเยซูไม่ใช่ "การตอบโต้" ซึ่งธรรมดาแล้วจะนำมาใช้โดยทั่วไปโดยผู้มีศีลธรรมที่ไม่ใช่คริสเตียน บ่อยครั้งนักวิจารณ์เสรีนิยมและผู้ที่เชื่อในแนวคิดมนุษยธรรมแบบไม่มีศาสนาพยายามที่จะอธิบายถึงลักษณะเฉพาะของกฎทองคำโดยการกล่าวว่าเป็นหลักจริยธรรมที่ทุกศาสนานำมาใช้ แต่ไม่ใช่ในกรณีนี้ คำบัญชาของพระเยซูมีการบอกเป็นนัยแต่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เป็นสิ่งที่แตกต่างออกไป การสำรวจอย่างรวดเร็วของคำกล่าวของศาสนาทางตะวันออกจะทำให้สิ่งนี้เป็นธรรมดา
• ลัทธิขงจื๊อ "สิ่งใดที่ท่านมิต้องการให้ผู้อื่นกระทำแก่ท่าน จงอย่ากระทำสิ่งนั้นแก่ผู้อื่น" (หลุน-อฺวี่ 15:23)
• ศาสนาฮินดู "สิ่งใดที่ตัวเองไม่ชอบ อย่าพึงอำนวยสิ่งนั้นให้แก่ผู้อื่น การกระทำของผู้อื่นประการใดที่เราไม่ชอบ อย่ากระทำการนั้นแก่ผู้อื่น" (มหาภารตะ 5:1517)
• พุทธศาสนา "อย่ากระทำสัตว์ทั้งหลายอื่นๆ ให้เจ็บปวด ความเจ็บปวดจึงจะไม่มีแก่ตน" (อุทานวรรค บท 5, ข้อ 18)

คำกล่าวเหล่านี้คล้ายกับกฎทองคำแต่เป็นการประกาศไว้ในทางลบและขึ้นอยู่กับการไม่โต้ตอบ กฎทองคำของพระเยซูเป็นคำบัญชาทางบวกเพื่อที่จะแสดงความรักอย่างมั่นใจ ศาสนาทางตะวันออกกล่าวว่าเป็นการ "ละเว้นจากการกระทำ" พระเยซูกล่าวว่าให้ "ทำ" ศาสนาทางตะวันออกกล่าวว่าเป็นสิ่งที่เพียงพอที่จะควบคุมพฤติกรรมทางลบ พระเยซูกล่าวว่าให้หาทางที่จะประพฤติในทางบวก เพราะ "การกลับหัวหลับหาง" ทางธรรมชาติของคำกล่าวของผู้ที่ไม่เป็นคริสเตียน พวกเขาอธิบายว่าเป็น "กฎเงิน"

บางคนกล่าวหาว่าพระเยซูได้ "หยิบยืม" ความคิดของกฎทองคำมาจากศาสนาทางตะวันออก อย่างไรก็ตามข้อความของลัทธิขงจื๊อ ศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาที่ได้อ้างมาแล้วถูกเขียนขึ้นระหว่าง 500 ถึง 400 ปีก่อนคริสตศักราชเป็นอย่างเร็วที่สุด พระเยซูนำกฎทองคำมาจากเลวีนิติซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ 1,450 ปีก่อนคริสตศักราช ฉะนั้นแหล่งที่มาของกฎทองคำของพระเยซูเกิดขึ้นก่อน "กฎเงิน" เป็นเวลา 1,000 ปี ใคร "หยิบยืม" มาจากใครกันแน่

คำบัญชาให้รักคือสิ่งที่แยกหลักจริยธรรมของคริสเตียนออกจากหลักจริยธรรมของศาสนาอื่นๆ ทั้งหมด ในความเป็นจริงแล้วการสนับสนุนด้านความรักของพระคัมภีร์รวมถึงคำบัญชาซึ่งรุนแรงที่ให้รักแม้กระทั่งศัตรูของตัวเอง (มัทธิว 5:43 – 44, ดูการอ้างอิงจากอพยพ 23:4 – 5) สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้ยินในศาสนาอื่นๆ

การเชื่อฟังคำสั่งสำหรับคริสเตียนให้รักผู้อื่นเป็นเครื่องหมายของการเป็นคริสเตียนแท้ (ยอห์น 13:35) ในความเป็นจริงแล้วคริสเตียนไม่สามารถที่จะอ้างว่ารักพระเจ้าได้ถ้าพวกเขาไม่รักผู้อื่นอย่างกระตือรือร้น เช่นเดียวกัน "ถ้าผู้ใดว่า "ข้าพเจ้ารักพระเจ้า" และใจยังเกลียดชังพี่น้องของตน ผู้นั้นก็เป็นคนพูดมุสา เพราะว่าผู้ที่ไม่รักพี่น้องของตนที่แลเห็นแล้ว จะรักพระเจ้าที่ไม่เคยเห็นไม่ได้" (1 ยอห์น 4:20) สรุปใจความสำคัญของกฎทองคำในความคิดนี้เป็นลักษณะเฉพาะสำหรับพระคัมภีร์จูเดโอ – คริสเตียน

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

กฎทองคำคืออะไร?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries