settings icon
share icon
คำถาม

เราควรเรียนรู้อะไรจากชีวิตของโยชูวา

คำตอบ


โยชูวาเป็นที่รู้จักดีในฐานะคนที่สองต่อจากโมเสสซึ่งเข้ามารับตำแหน่งและนำคนอิสราเอลเข้าสู่ดินแดนพันธสัญญาหลังจากโมเสสเสียชีวิต โยชูวาถือเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการทหารซึ่งดีที่สุดในพระคัมภีร์สำหรับการนำเจ็ดปีเพื่อพิชิตดินแดนพันธสัญญา และมักจะได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างสำหรับการเป็นผู้นำและแหล่งข้อมูลที่นำไปใช้ปฏิบัติได้จริงถึงวิธีการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ให้เรามาดูชีวิตของเขาจากมุมมองทางพระคัมภีร์

ในฐานะผู้นำทหารนั้นโยชูวาจะได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ แต่จะเป็นข้อผิดพลาดหากยกความดีความชอบในการที่อิสราเอลได้รับชัยชนะให้กับทักษะทางทหารของโยชูวาเพียงอย่างเดียว เราเห็นโยชูวาครั้งแรกในพระธรรมอพยพบทที่ 17 ในการต่อสู้กับชาวอามาเลข พระธรรมอพยพ 17:13 บอกเราว่าโยชูวา “ใช้คมดาบปราบอามาเลขและพรรคพวกได้” ดังนั้นเราอาจเผลอคิดว่าความชำนาญในทางการทหารของโยชูวาช่วยให้สถานการณ์ที่เลวร้ายนั้นดีขึ้น แต่ในข้อนี้เราได้เห็นบางสิ่งที่แปลกเกิดขึ้น โดยในข้อ 11 ที่เราอ่านคือ “เมื่อใดก็ตามที่โมเสสยกแขนขึ้น อิสราเอลก็ชนะ และทุกครั้งที่ท่านลดแขนลง อามาเลขชนะ” ท้ายที่สุดแล้วแขนของโมเสสก็เหนื่อยล้าจึงต้องมีการนำหินมาให้เขานั่ง แล้วอาโรนกับเฮอร์ก็ประคองมือของเขาขึ้น ดังนั้นเราจะเห็นในเรื่องสั้นๆ นี้ว่าโยชูวาชนะเพราะพระเจ้าทรงประทานการต่อสู้นี้ให้กับเขา

อาจจะกล่าวได้แบบเดียวกันกับชัยชนะทางการทหารในดินแดนพันธสัญญา องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาว่าจะให้ชัยชนะอย่างแน่นอนและให้โดยวิธีการทำให้มั่นใจ ข้อยกเว้นเดียวคือการต่อสู้กับเมืองอัย (พระธรรมโยชูวาบทที่ 7) มีหลายๆ สิ่งที่ต้องสังเกตเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ อิสราเอลหลุดจากความเชื่อในพระเจ้าเนื่องจาก “สิ่งที่ถวายแล้ว” (โยชูวา 7:1) พระเจ้าทรงบัญชาชาวอิสราเอลให้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง (โยชูวา 6:17) และอาคานได้เก็บของที่ริบมาบางส่วนจากการต่อสู้ไว้สำหรับตัวเขาเอง ด้วยเหตุนี้พระเจ้าทรงตัดสินพวกเขาโดยที่ไม่ให้ชัยชนะกับพวกเขาที่เมืองอัย ข้อสังเกตอีกอย่างคือว่าไม่มีพระบัญชาที่ชัดเจนจากพระเจ้าที่จะไปต่อสู้กับเมืองอัย จุดประสงค์ของการนำเรื่องราวการรบสองเรื่องนี้มาเปรียบเทียบกันก็เพื่อแสดงให้เราเห็นว่าเมื่อพระเจ้าทรงกำหนดวาระและแผนการ ชัยชนะก็จะตามมา แต่เมื่อมนุษย์เป็นผู้กำหนดวาระและแผนการ ความผ่ายแพ้ก็จะเป็นผลที่ตามมา เยรีโคเป็นการต่อสู้ของพระเจ้าส่วนอัยนั้นไม่ใช่ พระเจ้าทรงกู้สถานการณ์และท้ายที่สุดแล้วมอบชัยชนะให้กับพวกเขา แต่ไม่ใช่จนกว่าจะได้บทเรียนอันมีตัวอย่างให้เห็นประจักษ์แก่ตา

หลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นผู้นำของโยชูวาสามารถเห็นได้จากความเชื่ออันแน่วแน่ของเขาในพระเจ้า เมื่อชาวอิสราเอลอยู่ที่ขอบของดินแดนพันธสัญญาในพระธรรมกันดารวิถีบทที่ 13 พระเจ้าบัญชาโมเสสให้ส่งคนสิบสองคนออกไปสอดแนมดินแดนนั้น หนึ่งคนจากแต่ละเผ่าของอิสราเอล เมื่อพวกเขากลับมามีสิบคนรายงานว่าดินแดนนั้นอุดมสมบูรณ์ตามที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาไว้แต่เต็มไปด้วยนักรบที่แข็งแกร่งและดุร้ายอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีป้อมปราการ มากไปกว่านั้นพวกคนเนฟิล (ยักษ์ในมุมมองของคนอิสราเอล) ยังอยู่ในดินแดนนั้น โยชูวาและคาเลบเป็นเพียงแค่สองคนที่เร่งเร้าให้ประชาชนยึดครองแผ่นดินนั้น (กันดารวิถี 14:6-10) ตรงนี้เราเห็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้โยชูวา (และคาเลบ) แตกต่างจากชาวอิสราเอลที่เหลือ คือว่าพวกเขาเชื่อในพระสัญญาทั้งหลายของพระเจ้า พวกเขาไม่หวาดกลัวกับขนาดของนักรบหรือความแข็งแกร่งของเมืองนั้นๆ ในทางกลับกันพวกเขารู้จักพระเจ้าของพวกเขาและจดจำวิธีที่พระองค์ทรงจัดการกับอียิปต์ ซึ่งเป็นชนชาติที่แข่งแกร่งที่สุดในโลกในช่วงเวลานั้น หากพระเจ้าสามารถจัดการกับกองทัพอียิปต์ที่แข็งแกร่งได้ พระองก็สามารถจัดการกับเผ่าต่างๆ ของคานาอันได้อย่างแน่นอน พระเจ้าทรงให้รางวัลกับความเชื่อของโยชูวาและคาเลบด้วยการยกเว้นพวกเขาจากคนอิสราเอลทั้งหมดสำหรับกลุ่มคนรุ่นที่จะพินาศในถิ่นทุรกันดาร

เราเห็นความสัตย์ซื่อของโยชูวาในการเชื่อฟังอย่างอุทิศตนต่อประชาชนก่อนที่จะบุรุกเข้าสู่ดินแดนพันธสัญญาและหลังจากที่เอาชนะเมืองอัยได้ แต่ไม่มีอะไรที่ชัดเจนไปกว่าความสัตย์ซื่อของโยชูวาที่ปรากฎในตอนท้ายของพระธรรมซึ่งใช้ชื่อของเขาเมื่อเขารวบรวมผู้คนเป็นครั้งสุดท้ายและนับการงานของพระเจ้าที่กระทำในนามของพวกเขาอีกครั้ง หลังจากการกล่าวนั้นโยชูวาโน้มน้าวให้ประชาชนละทิ้งพระเทียมเท็จของพวกเขาแล้วยังคงสัตย์ซื่อกับพันสัญญาที่พระเจ้าทรงประทานให้กับพวกเขาในภูเขาซีนายโดยที่ตรัสว่า “และถ้าท่านเห็นว่าการรับใช้พระผู้เป็นเจ้าเป็นสิ่งไม่ดี ท่านก็จงเลือกในวันนี้ว่า ท่านจะรับใช้ผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้าที่บรรพบุรุษของท่านรับใช้ที่โพ้นแม่น้ำ หรือบรรดาเทพเจ้าของชาวอาโมร์ในแผ่นดินที่ท่านอาศัยอยู่ แต่สำหรับข้าพเจ้าและครอบครัวของข้าพเจ้า พวกเราจะรับใช้พระผู้เป็นเจ้า”” (โยชูวา 24:15)

ดังนั้นเราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากชีวิตของโยชูวา เราสามารถดึงหลักการด้านการเป็นผู้นำมาจากชีวิตของเขาได้ไหม แน่นอน การที่พระเจ้าทรงให้ชัยชนะกับเขาในการเข้ายึดดินแดนพันธสัญญาไม่ได้หมายความว่าเขาขาดความสามารถในการเป็นผู้นำทางทหาร นอกจากนี้เขายังเป็นผู้นำสำหรับชาวอิสราเอลมากเกินกว่าที่คาดไว้ แต่ทักษะในการเป็นผู้นำของเขาไม่ใช่บทเรียนหลักที่เราควรเรียนรู้จากชีวิตของโยชูวา บทเรียนที่ดีกว่านั้นคือความสัตย์ซื่อของโยชูวา การคัดค้านผู้สอดแนมอีกสิบคนที่นำการรายงานด้านชื่อเสียงที่แย่เกี่ยวกับอุปสรรคในการเข้าครอบครองดินแดนพันธสัญญา และความร้อนรนของเขาในการรักษาพันธสัญญาของประชาชน แต่ความเชื่อของเขาก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบ มีข้อเท็จจริงที่ว่าโยชูวาส่งผู้สอดแนมเข้าไปในเมืองเยรีโคแม้ว่าพระเจ้าจะทรงรับประกันถึงชัยชนะแล้ว และการที่เขาแสดงออกถึงความมั่นใจมากเกินไปในการต่อสู้กับเมืองอัย

บทเรียนหลักที่ควรดึงมาจากชีวิตของโยชูวาคือพระเจ้าทรงสัตย์ซื่อต่อพระสัญญาของพระองค์ พระเจ้าทรงสัญญากับอับราฮัมว่าลูกหลานของเขาจะอาศัยอยู่ในดินแดนนั้น และภายใต้โยชูวา พระเจ้าทรงนำประชากรเข้าสู่ดินแดนที่พระองค์ทรงสัญญาว่าจะประทานให้พวกเขา การกระทำนี้ทำให้ภารกิจแห่งการไถ่ที่พระเจ้าเริ่มต้นกับโมเสสในการนำอิสราเอลออกจากอียิปต์นั้นสำเร็จลุล่วง และยังเป็นประเภทที่ชี้ไปยังการไถ่บาปครั้งสุดท้ายที่พระเยซูนำมายังชุมชนแห่งความเชื่อ เช่นเดียวกับโมเสส พระเยซูนำเราออกจากการผูกมัดและการเป็นทาสของบาป และเหมือนกับโยชูวานั้นพระเยซูจะนำเราเข้าไปในดินแดนพันธสัญญานิรันดร์และสะบาโตแห่งการพักผ่อนที่เป็นนิรันดร์ (ฮีบรู 4:8-10)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

เราควรเรียนรู้อะไรจากชีวิตของโยชูวา
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries