คำถาม
คำสอนเกี่ยวกับ “การเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์” เป็นไปตามหลักการของพระคัมภีร์ไหม
คำตอบ
“การเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์” หรือ “ข่าวประเสริฐเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรือง” ไม่ได้มากจากพระคัมภีร์และในหลายๆ ด้านก็ตรงกันข้ามกับข้อความของข่าวประเสริฐและการสอนที่ชัดเจนของพระคัมภีร์ ในขณะที่มีการเทศนาเกี่ยวกับปรัชญาการเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์หลายหลายรูปแบบในทุกวันนี้ แต่ปรัชญาเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะที่คล้ายคลึงกัน โดยอย่างดีที่สุดนั้นคำสอนนี้มากจากการตีความผิดและความเข้าใจผิดในพระคัมภีร์บางตอน มันเป็นคำสอนซึ่งนอกรีตอย่างที่สุดซึ่งมีลักษณะเฉพาะของหลักคำสอนที่เป็นลัทธิ
รากฐานของขบวนการถ้อยคำแห่งศรัทธาและข้อความการเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์นั้นเหมือนกับอภิปรัชญาของลัทธินิวเอจมากกว่าศาสนาคริสต์ที่เชื่อในหลักการของพระคัมภีร์ อย่างไรก็ตามแทนที่จะสร้างความจริงด้วยความคิดของเราตามที่ผู้สนับสนุนลัทธินิวเอจแนะนำ ผู้สอนเกี่ยวกับการเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์บอกเราว่าเราสามารถใช้ “ฤทธิ์อำนาจของความเชื่อ” เพื่อสร้างความเป็นจริงของเราเองหรือเพื่อที่จะได้ในสิ่งที่เราอยากได้ สาระสำคัญคือความเชื่อนั้นมีการจำกัดความใหม่จาก “การเชื่อวางใจในพระเจ้าผู้บริสุทธิ์และมีอำนาจสูงสุดโดยที่ไม่คำนึงถึงสถานการณ์ของเรา” ไปเป็น “วิธีในการควบคุมพระเจ้าเพื่อให้พระองค์ประทานในสิ่งที่เราต้องการ” ความเชื่อกลายเป็นอำนาจโดยเราสามารถที่จะได้ในสิ่งซึ่งอยากได้แทนที่จะอาศัยการเชื่อวางใจในพระเจ้าแม้กระทั่งในช่วงเวลาแห่งการทดลองและความทุกข์ทรมาน
มีหลายอย่างที่การเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์แยกออกมาจากศาสนาคริสต์ที่เชื่อในหลักการของพระคัมภีร์ คำสอนนั้นยกย่องมนุษย์และ “ความเชื่อ” ของเขาให้เหนือพระเจ้า อันที่จริงแล้วผู้สอนหลายคนเกี่ยวกับถ้อยคำแห่งศรัทธาที่มีหัวรุนแรงมากกว่านั้นสอนว่ามนุษย์ถูกสร้างมาในแง่ของการที่เท่าเทียมกับพระเจ้าและมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกับที่พระเจ้าทรงเป็น คำสอนที่อันตรายและผิดจารีตนี้ปฏิเสธหลักการพื้นฐานของศาสนาคริสต์ที่เชื่อในหลักการของพระคัมภีร์ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสาเหตุว่าทำไมผู้สนับสนุนที่มีหัวรุนแรงของการสอนเกี่ยวกับการเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์ถึงต้องถูกพิจารณาว่ามีส่วนในลัทธิและไม่ใช่ศาสนาคริสต์อย่างแท้จริง
ทั้งลัทธิแบบอภิปรัชญาและการเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์บิดเบือนความจริงและยึดหลักของการสอนเท็จที่กล่าวว่าความคิดของเราควบคุมความเป็นจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของการคิดบวกหรือข่าวประเสริฐที่เกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรือง ข้อสนับสนุนเหล่านั้นเป็นเหมือนกันคือ สิ่งที่คุณคิดหรือเชื่อว่าจะเกิดขึ้นนั้นท้ายที่สุดแล้วเป็นสิ่งที่ควบคุมว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าคุณมีความคิดในด้านลบหรือขาดความเชื่อ คุณจะทุกข์ทรมานหรือจะไม่ได้รับในสิ่งที่อยากได้ แต่ในทางกลับกันถ้าคุณคิดในด้านบวกหรือเพียงแค่ “มีความเชื่อที่เพียงพอ” คุณก็จะสามารถได้รับสุขภาพที่ดี ความร่ำรวย และความสุขในตอนนี้ การสอนเท็จนี้ดึงดูดสัญชาตญาณพื้นฐานที่สุดของของมนุษย์ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมมันถึงเป็นที่นิยมอย่างมาก
ในขณะที่ข่าวประเสริฐเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองและแนวความคิดในการควบคุมอนาคตของคนคนหนึ่งด้วยความคิดหรือความเชื่อนั้นดึงดูดมนุษย์ที่เป็นคนบาป แต่นี่เป็นการดูถูกพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่สูงสุดผู้ซึ่งเปิดเผยพระองค์เองในพระคัมภีร์ แทนที่จะยอมรับฤทธิ์อำนาจยิ่งใหญ่สูงสุดที่แน่นอนของพระเจ้าตามที่มีการเปิดเผยในพระคัมภีร์ ผู้ติดตามปรัชญาของการเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์กลับยึดเอาพระเทียมเท็จผู้ซึ่งไม่สามารถทำงานแยกออกจากความเชื่อของพวกเขาได้ พวกเขานำเสนอมุมมองเท็จเกี่ยวกับพระเจ้าโดยการสอนว่าพระองค์ต้องการอวยพรคุณด้วยสุขภาพที่ดี ความร่ำรวย และความสุขและไม่สามารถที่จะทำได้นอกจากว่าคุณมีความเชื่อที่เพียงพอ ดังนั้นพระเจ้าไม่ได้ทรงควบคุมอยู่อีกต่อไปแต่เป็นมนุษย์ที่ควบคุมอยู่ แน่นอนว่าสิ่งนี้ตรงกันข้ามกับสิ่งที่พระคัมภีร์สอน พระเจ้าไม่ได้พึ่งพา “ความเชื่อ” ของมนุษย์เพื่อที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ตลอดทั้งพระคัมภีร์เราเห็นพระเจ้าอวยพระพรคนที่พระองค์ทรงเลือกที่จะอวยพระพรและรักษาคนที่พระองค์ทรงเลือกที่จะรักษา
ปัญหาอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับคำสอนของการเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์คือการไม่ตระหนักว่าพระเยซูทรงเป็นทรัพย์สมบัติสูงสุดซึ่งควรค่าสำหรับการเสียสละทุกอย่างให้กับพระองค์ (มัทธิว 13:44) แต่กลับมองว่าพระเยซูเป็นมากกว่าหนทางที่จะได้ในสิ่งที่เราต้องการในตอนนี้เพียงเล็กน้อย ข้อความของพระเยซูคือว่าคริสเตียนได้รับการเรียก “ให้ผู้นั้นปฏิเสธตนเอง รับกางเขนของตนแบก และตามเรามา เพราะผู้ใดต้องการเอาชีวิตรอดผู้นั้นจะเสียชีวิต แต่ผู้ใดพลีชีวิตเพื่อเราผู้นั้นจะได้ชีวิต จะมีประโยชน์อะไรถ้าคนๆ หนึ่งจะได้โลกนี้ทั้งโลกแต่ต้องสูญเสียจิตวิญญาณของตน? หรือใครจะเอาอะไรมาแลกกับจิตวิญญาณของตนได้?” (มัทธิว 16:24-26) ให้ลองเปรียบเทียบกับข้อความของข่าวประเสริฐที่เกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองนั้นดู แทนที่สิ่งนี้จะเป็นข้อความเกี่ยวกับการปฏิเสธตัวเอง ข่าวประเสริฐเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองกลับเป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ตัวเอง เป้าหมายของมันไม่ใช่การเป็นเหมือนพระคริสต์มากขึ้นผ่านการเสียสละแต่เป็นการมีในสิ่งที่เราอยากได้ในตอนนี้ ซึ่งขัดแย้งกับพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดของเราอย่างชัดเจน
พระคัมภีร์สอนว่า “บรรดาผู้ที่ปรารถนาจะดำเนินชีวิตตามทางพระเจ้าในพระเยซูคริสต์จะถูกข่มเหง” (2 ทิโมธี 3:12) แต่ข้อความของการเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์คือทุกๆ ความทุกข์ทรมานที่เราประสบนั้นเป็นเพียงแค่ผลของการขาดความเชื่อ ข่าวประเสริฐที่เกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองนั้นมุ่งเน้นอย่างที่สุดไปยังการได้ในสิ่งที่โลกมีให้ แต่ 1 ยอห์น 2:15 บอกเราว่าเราไม่ควร “รักโลกหรือสิ่งใดๆ ในโลก” และโดยแท้จริงแล้วผู้ที่รักใคร่สิ่งของในโลกก็กลายเป็นศัตรูของพระเจ้า (ยากอบ 4:4) ข้อความของข่าวประเสริฐเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองไม่สามารถเป็นอะไรซึ่งมากไปกว่าการที่มันสวนทางกับสิ่งที่พระคัมภีร์สอนอย่างแท้จริง
ในหนังสือเรื่องชีวิตที่ยอดเยี่ยม (Your Best Life Now) ผู้ที่สอนเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองนามว่าโจเอล โอสติน (Joel Osteen) กล่าวว่ากุญแจสำคัญสำหรับชีวิตที่มีคุณค่ามากขึ้นคือ บ้านที่ดีกว่าเดิม ชีวิตแต่งงานที่มั่นคงกว่าเดิม และงานที่ดีกว่าเดิมนั้นพบได้ใน “ขั้นตอนที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้งเพื่อที่จะเปลี่ยนวิธีการคิดของคุณเกี่ยวกับชีวิตและช่วยให้คุณกระทำสิ่งที่สำคัญอย่างแท้จริงให้สำเร็จ” มันช่างแตกต่างอะไรเช่นนี้จากความจริงในพระคัมภีร์ที่ว่าชีวิตนี้ไม่ได้มีอะไรซึ่งเปรียบเทียบได้กับชีวิตที่จะมาถึง ข้อความของข่าวประเสริฐเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองนั้นมุ่งเน้นไปยัง “ทรัพย์สมบัติ” หรือสิ่งดีๆ ที่เราต้องการและสามารถได้รับตอนนี้ ในขณะที่พระเยซูตรัสว่า “อย่าสะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตนในโลกที่ซึ่งแมลงและสนิมอาจทำลายได้และที่ซึ่งโจรอาจงัดแงะเข้าไปขโมยได้ แต่จงสะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตนในสวรรค์ที่ซึ่งแมลงและสนิมไม่อาจทำลายได้และที่ซึ่งโจรไม่อาจงัดแงะเข้าไปขโมยได้ เพราะทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหน ใจของท่านก็อยู่ที่นั่นด้วย” (มัทธิว 6:19-21)
พระเยซูไม่ได้มาเพื่อที่จะให้เรามีสุขภาพที่ดี ความมั่งคั่ง และความสุขในตอนนี้ พระองค์มาเพื่อช่วยเราจากบาปของเราเพื่อที่เราจะสามารถมีความสุขอันล้นพ้นตลอดนิรันดร์กับพระองค์ได้ การติดตามพระคริสต์ไม่ใช่วิธีการที่จะได้รับสิ่งของที่เป็นวัตถุซึ่งมนุษย์ปรารถนาในชีวิตนี้แต่เป็นวิธีเดียวในการมีประสบการณ์แบบนั้นซึ่งเป็นชีวิตที่แท้จริงและการทำแบบนั้นตลอดนิรันดร์ ความปรารถนาของเราไม่ควรเป็นการมีชีวิตที่ดีที่สุดในตอนนี้แต่ให้มีทัศนคติอย่างอัครทูตเปาโลผู้ซึ่งเรียนรู้ที่จะมีความพึงพอใจ “ไม่ว่าสภาพการณ์จะเป็นเช่นไร” (ฟิลิปปี 4:11)
English
คำสอนเกี่ยวกับ “การเอ่ยถึงแล้วเรียกร้องสิทธิ์” เป็นไปตามหลักการของพระคัมภีร์ไหม