คำถาม
พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation เป็นพระคัมภีร์ฉบับที่มีเหตุผลหรือไม่?
คำตอบ
พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation (NWT หรือคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลโลกใหม่) ถูกกำหนดโดยองค์กรแม่ของพยานพระยะโฮวาคือ (สมาคมว็อชเทาเวอร์หรือสมาคม หอสังเกตการณ์) เป็น "การแปลพระคัมภีร์บริสุทธิ์โดยตรงจากภาษาฮีบรู ภาอาหรับและภาษากรีกเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้กันในปัจจุบันนี้โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยพยานพระยะโฮวา" NTW เป็นผลงานที่ไม่เปิดเผยของ "คณะกรรมการพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation" พยานพระยะโฮวาอ้างว่าการไม่เปิดเผยในที่นี้เพื่อให้ความเชื่อถือในงานนี้เป็นของพระเจ้า แน่นอนว่าสิ่งนี้ทำให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันผู้แปลในภาระรับผิดชอบไม่ให้ผิดพลาด และป้องกันนักวิชาการที่แท้จริงซึ่งมาตรวจสอบดูใบรับรองจากสถาบันของพวกเขา
พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation มีความเฉพาะตัวอยู่หนึ่งอย่างคือเป็นความพยายาม ที่จะผลิตพระคัมภีร์ที่เสร็จสมบูรณ์อย่างตั้งใจและชัดเจนโดยการแก้ไขและปรับปรุงใหม่สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะฝนการเห็นด้วยกับหลักการของกลุ่มๆ หนึ่ง พยานพระยะโอวา และสมาคมว็อชเทาเวอร์ตระหนักว่าความเชื่อของพวกเขาขัดแย้งกับพระคัมภีร์ ฉะนั้นแทนที่ จะทำให้ความเชื่อของพวกเขาสอดคล้องกับพระคัมภีร์ พวกเขาปรับเปลี่ยนพระคัมภีร์ ให้มาเห็นด้วยกับความเชื่อของพวกเขา "คณะกรรมการพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation" เปลี่ยนพระคัมภีร์ใดๆ ก็ตามที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนศาสตร์ของพยานพระยะโฮวา เป็นการแสดง ให้เห็นว่าเนื่องจากฉบับใหม่ๆ ของพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ได้รับการตีพิมพ์ การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มมากขึ้นนั้นถูกเพิ่มเข้าไปในเนื้อหา ในขณะที่คริสเตียนที่มีความเชื่อ มาจากพระคัมภีร์ดำนเนินการชี้ให้เห็นว่าพระคัมภีร์ฉบับดังกล่าวนี้โต้เถียงความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์อย่างต่อเนื่อง (ยกตัวอย่างเช่น) สมาคมว็อชเทาเวอร์จะตีพิมพ์พระคัมภีร์ New World Translation ฉบับใหม่ด้วยการเปลี่ยนเนื้อหาในพระคัมภีร์ ดังต่อไปนี้คือตัวอย่าง ที่สะดุดตาตัวอย่างของความตั้งใจที่จะปรับปรุงใหม่
พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation แปลคำศัพท์ในภาษากรีกคำว่า staurós ("กางเขน") ว่า "การทนทุกข์ทรมานบนเสา" เพราะพยานพระยะโฮว่าไม่เชื่อว่าพระเยซูถูกตรึงที่ไม้กางเขน พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ไม่ได้แปลคำศัพท์ภาษาฮีบรูคำว่า sheol หรือคำศัพท์ ในภาษากรีกคำว่า hades, Gehenna และ tartarus ว่าคือ "นรก" เพราะพยานพระยะโฮวาไม่เชื่อว่ามีนรก NWT ใช้คำแปลว่า "ทรงพระชนม์อยู่" แทนคำว่า "เสด็จกลับมา" สำหรับคำในภาษากรีกคำว่า Parousia เพราะว่าพยานพระยะโฮว่าเชื่อว่าพระคริสต์ได้เสด็จกลับมาแล้วในต้นปีค.ศ. 1990 ในโคโลสี 1:16 NWT เพิ่มคำว่า "อื่นๆ" ทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่ในเนื้อหาของต้นฉบับภาษากรีก พวกเขาทำอย่างนี้เพื่อที่จะให้เป็นมุมมองว่า "สิ่งอื่นๆ ทั้งหมด" ถูกสร้างโดยพระคริสต์แทนที่ จะกล่าวตามเนื้อหาคือ "ทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างโดยพระคริสต์" พวกเขาทำอย่างนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อของพวกเขาว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้าที่ถูกสร้างมา พวกเขาเชื่อแบบนั้นเพราะว่า พวกเขาปฏิเสธตรีเอกานุภาพ
การเปลี่ยนแปลงที่ผิดซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดสำหรับพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation คือยอห์น 1:1 เนื้อหาของต้นฉบับภาษากรีกอ่านว่า "พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า" NWT แปลว่า "พระวาทะเป็นพระองค์หนึ่ง" นี่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการอ่านศาสนศาสตร์ซึ่งคนๆ หนึ่งได้ไตร่ตรองไว้แล้วแทนที่จะให้เนื้อหานั้นสามารถอธิบายได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่มีคำนำหน้านามที่ไม่กำหนดแน่ชัดในภาษากรีก ( ในภาษาอังกฤษ "a" หรือ "an") ถ้ามีการใช้คำนำหน้านามที่ไม่กำหนดแน่ชัดในการแปลภาษาอังกฤษนั้นน่าจะมาจากผู้แปล สิ่งนี้เป็นที่ยอมรับได้ในหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตราบที่ไม่ได้ทำให้ความหมายของเนื้อหาเปลี่ยน
มีคำอธิบายที่ดีเยี่ยมว่าทำไมคำว่า theos ไม่มีคำนำหน้านามที่ระบุชัดเจนในยอห์น 1:1 และทำไมการแปลของพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ถึงผิดพลาด มีกฎอยู่สามข้อ ที่เราต้องเข้าใจว่าทำไม
1. ในภาษากรีกการลำดับคำในประโยคไม่ได้กำหนดการใช้คำเหมือนในภาษาอังกฤษ ในภาษาอังกฤษประโยคมีโครงสร้างที่ขึ้นอยู่กับการลำดับคำคือ ประธาน กริยา กรรม ดังนั้น "แฮรี่เรียกหมา" ไม่ได้มีค่าเท่ากับ "หมาที่มีชื่อเรียกว่าแฮรี่" แต่ในภาษากรีก หน้าที่ของคำถูกกำหนดโดยคำสุดท้ายที่อยู่ติดกับรากศัพท์ของคำ ในยอห์น 1:1 มีคำสุดท้ายในรากศัพท์ของคำว่า theo... อันหนึ่งมี "s" (theos) และอีกอันคือ "n" (theon) การลงท้ายด้วย "s" โดยธรรมดาแล้วระบุว่าเป็นคำนามที่เป็นประทานของประโยค ส่วน "n" การสิ้นสุดปกติระบุว่านามเป็นกรรมตรง
2. เมื่อนามทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มประทาน (ในภาษาอังกฤษเป็นนามที่ตามด้วยกริยา "being" เช่น "is") คำสุดท้ายต้องคู่กับคำของนามที่มันตั้งชื่อให้ใหม่ เพื่อที่ผู้อ่านจะรู้ ว่าเป็นการระบุถึงนามตัวไหน ดังนั้น theo ต้องลงท้ายด้วย "s" เพราะเป็นการตั้งชื่อใหม่ ให้ logos ดังนั้นยอห์น 1:1 แปลได้ว่า "kai theos en ho logos." Theos เป็นประทานหรือ logos เป็นประทาน ทั้งคู่ลงท้ายด้วย "s" จะพบคำตอบในกฎต่อไป
3. ในกรณีที่มีนามสองตัวปรากฏขึ้นมาและทั้งสองมีคำสุดท้ายคำเดียวกัน ผู้เขียนมักจะเพิ่มคำนำหน้านามที่ระบุชัดเจนให้กับคำที่เป็นประทานเพื่อกันความสับสน ยอห์นใส่คำนำหน้านามที่ระบุชัดเจนไว้ที่ logos ("โลก") แทนคำว่า theos ฉะนั้น logos เป็นประทาน และ theos เป็นประทานในชื่อใหม่ ในภาษาอังกฤษ เป็นเหตุให้ยอห์น 1:1 อ่านว่า "พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า" (แทนที่จะเป็น "พระเจ้าทรงเป็นพระวาทะ")
หลักที่มีการเปิดเผยมากที่สุดของอคติของสมาคมว็อชเทาเวอร์คือความขัดแย้งในเทคนิคการแปล ตลอดทั้งพระกิตติคุณยอห์น คำว่า theon ในภาษากรีกเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีคำนำหน้านาม ที่ระบุชัดเจน พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ไม่ได้แปลคำเหล่านี้ว่าเป็น "พระองค์หนึ่ง" มากกว่านั้นอีกความขัดแย้งในยอห์น 1:18 NWT แปลความหมายเดียวกันของคำศัพท์ "พระเจ้า" และ "พระ" ในประโยคเดียวกัน
สมาคมว็อชเทาเวอร์ อย่างไรก็ตามไม่มีพื้นฐานต้นฉบับสำหรับการแปลคือมีเพียงแค่อคติ ในศาสนศาสตร์ของตัวเอง ในขณะที่ผู้พิทักษ์ของพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation อาจจะประสบความสำเร็จในการแสดงว่ายอห์น 1:1 สามารถที่จะแปลตามที่พวกเขาได้แปลออกมา พวกเขาไม่สามารถแสดงว่าเป็นการแปลที่เหมาะสม เช่นเดียวกันพวกเขาไม่สามาถ ที่จะอธิบายความจริงว่า NWT ไม่ได้แปลตามข้อความในภาษากรีกที่ไหนในพระกิตติคุณยอห์น ให้เป็นข้อความเดียวกัน เป็นอคติเดียวของการปฏิเสธของคนนอกศาสนาว่าพระเยซูเป็นพระเจ้านั้นบังคับให้สมาคมว็อชเทาเวอร์แปลเนื้อหาในภาษากรีกได้ไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นทำให้เกิด ความผิดเพี้ยนที่จะได้มาซึ่งพระคัมภีร์ที่คล้ายกันแก่ผู้ที่ไม่สนใจความจริง
เป็นอคติเดียวของความเชื่อของคนนอกศาสนาของสมาคมว็อชเทาเวอร์ที่อยู่เบื้องหลัง ความไม่สัตย์ซื่อและการแปลที่ขัดแย้งที่เป็นพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ไม่ได้เป็นพระคำของพระเจ้าในฉบับที่ถูกต้อง มีข้อแตกต่างรองๆ ระหว่างการแปลหลักๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษของพระคัมภีร์ ไม่มีการแปลภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามผู้ที่แปลพระคัมภีร์ท่านอื่นๆ มีข้อผิดพลาดน้อยในการแปล จากเนื้อหาภาษาฮีบรูและภาษากรีกให้เป็นภาษาอังกฤษ แต่ NWT ตั้งใจที่จะเปลี่ยนการแปล ของเนื้อหาให้สอดคล้องกับศาสนศาสตร์ของพยานพระยะโฮวา พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation เป็นความผิดปกติ ไม่ใช่การแปลของพระคัมภีร์
English
พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation เป็นพระคัมภีร์ฉบับที่มีเหตุผลหรือไม่?