คำถาม
พระคัมภีร์กล่าวอะไรเกี่ยวกับการแก้แค้นหรือการอาฆาต
คำตอบ
พระคัมภีร์กล่าวถึงการแก้แค้นไว้อย่างมากมาย ทั้งคำในภาษาฮีบรูและภาษากรีกซึ่งแปลว่า “การอาฆาต” “การแก้แค้น” และ “การสนองคืน” ต่างมีรากศัพท์มาจากความหมายของการลงโทษ นี่คือสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจว่าทำไมพระเจ้าถึงสงวนสิทธิ์ที่จะสนองคืนไว้สำหรับพระองค์เอง
ข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญเกี่ยวกับความจริงนี้พบในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและได้รับการอ้างอิงสองครั้งถึงในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ พระเจ้าทรงตรัสว่า “การแก้แค้นเป็นหน้าที่ของเราเอง เราจะคืนสนอง เมื่อถึงเวลาเท้าของพวกเขาจะลื่นไถล วันแห่งหายนะของพวกเขาใกล้เข้ามาแล้ว และความย่อยยับจะถาโถมเข้าใส่พวกเขา” (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:35, โรม 12:19, ฮีบรู 10:30) ในพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติพระเจ้ากำลังตรัสเกี่ยวกับชนชาติอิสราเอลซึ่งดื้อรั้น กบฏ และบูชารูปเคารพ ผู้ซึ่งปฏิเสธพระองค์และทำให้พระพิโรธของพระองค์ต้านความเลวทรามของพวกเขา พระองค์ทรงสัญญาที่จะคืนสนองด้วยพระองค์เองเหนือพวกเขาในวาระเวลาของพระองค์และตามพระประสงค์ซึ่งสมบูรณ์แบบและบริสุทธิ์ของพระองค์ ทั้งสองตอนในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่นี้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคริสเตียนผู้ต้องไม่แย่งชิงอำนาจของพระเจ้า ในทางกลับกันเราควรยอมให้พระองค์พิพากษาอย่างยุติธรรมและเทการลงโทษอันใหญ่หลวงต่อศัตรูของพระองค์ตามที่พระองค์ทรงเห็นว่าเหมาะสม
ไม่เหมือนพวกเรา พระเจ้าไม่เคยกระทำการอาฆาตจากแรงจูงใจที่ไม่บริสุทธิ์ การแก้แค้นของพระองค์มีพระประสงค์เพื่อลงโทษคนเหล่านั้นผู้ที่ทำให้พระองค์ไม่พอพระทัยและปฏิเสธพระองค์ อย่างไรก็ตามเราสามารถอธิษฐานต่อพระเจ้าให้คืนสนองด้วยความสมบูรณ์แบบและด้วยความบริสุทธิ์ต่อศัตรูของพระองค์และเพื่อคืนสนองให้กับผู้ที่ถูกกดขี่จากความชั่วร้าย ในพระธรรมสดุดี 94:1 ผู้เขียนพระธรรมสดุดีอธิษฐานต่อพระเจ้าเพื่อแก้แค้นให้แก่ผู้ชอบธรรม ไม่ใช่ด้วยความรู้สึกของการอาฆาตพยาบาทที่ควบคุมไม่ได้ แต่เป็นการแก้แค้นอย่างยุติธรรมจากผู้พิพากษานิรันดร์ซึ่งการตัดสินของพระองค์นั้นสมบูรณ์แบบ แม้ว่าเมื่อผู้บริสุทธิ์ต้องทนทุกข์และคนเลวทรามมีความเจริญขึ้น แต่พระเจ้าเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่จะลงโทษได้ “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระเจ้าผู้หึงหวงและทำการแก้แค้น องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแก้แค้นและเต็มไปด้วยพระพิโรธ องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแก้แค้นเหล่าปฏิปักษ์ของพระองค์ และยังทรงพระพิโรธต่อศัตรูของพระองค์” (นาฮูม 1:2)
มีเพียงสองครั้งเท่านั้นในพระคัมภีร์ที่พระเจ้าทรงอนุญาตให้มนุษย์ล้างแค้นในพระนามของพระองค์ ครั้งแรกคือหลังจากชนชาติมีเดียนกระทำการอันน่าสะพรึงกลัวและกระทำรุนแรงต่อชนชาติอิสราเอล ส่งผลให้ถ้วยแห่งพระพิโรธของพระเจ้าต่อชนชาติมิเดียนนั้นเต็ม และพระองค์ก็ได้ทรงบัญชาโมเสสให้นำประชากรเข้าไปทำสงครามศักดิ์สิทธิ์กับพวกเขา “พระเยโฮวาห์ตรัสกับโมเสสว่า “จงแก้แค้นคนมีเดียนเพื่อคนอิสราเอล แล้วภายหลังเจ้าจะถูกรวบให้ไปอยู่กับประชาชนของเจ้า”” (กันดารวิถี 31:1-2) นี่เป็นอีกครั้งที่โมเสสไม่ได้กระทำการด้วยตัวเองคือ เขาเป็นเพียงแค่เครื่องมือเพื่อให้แผนการของพระเจ้าเสร็จสมบูรณ์ภายใต้คำแนะนำและคำสั่งของพระองค์ ครั้งที่สองคือคริสเตียนต้องยอมจำนนต่อผู้ที่ปกครองซึ่งพระเจ้าตั้งไว้เหนือเราเพราะว่าพวกเขาเป็นเครื่องมือของพระองค์เพื่อ “ลงโทษผู้กระทำชั่ว” (1 เปโตร 2:13-14) เพราะว่าในกรณีของโมเสสนั้นผู้ที่ปกครองไม่ได้กระทำเพื่อตัวพวกเขาเองแต่เพื่อทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับการลงโทษคนเลวทราม
มันเป็นการล่อลวงอย่างมากในการพยายามสวมบทบาทเป็นพระเจ้าและพยายามลงโทษคนเหล่านั้นซึ่งเรารู้สึกว่าสมควรได้รับ แต่เพราะว่าเราคือสิ่งทรงสร้างที่เต็มไปด้วยความบาป จึงเป็นไปไม่ได้สำหรับเราที่จะแก้แค้นด้วยแรงจูงใจที่บริสุทธิ์ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมธรรมบัญญัติของโมเสสประกอบด้วยพระบัญชาที่ว่า “เจ้าจงอย่าแก้แค้นหรือเก็บความเคียดแค้นที่มีต่อบุตรหลานชนชาติเดียวกัน แต่จงรักเพื่อนบ้านของเจ้าให้เหมือนรักตนเอง เราคือพระผู้เป็นเจ้า” (เลวีนิติ 19:18) แม้แต่ดาวิดซึ่งเป็น “ชายคนหนึ่งผู้เป็นที่โปรดปรานของพระองค์ยิ่งนัก” (1 ซามูเอล 13:14) ก็ปฏิเสธที่จะแก้แค้นซาอูลแม้ว่าดาวิดจะเป็นฝ่ายบริสุทธิ์ซึ่งโดนกระทำก็ตาม ดาวิดยอมจำนนต่อพระบัญชาของพระเจ้าให้ละทิ้งการแก้แค้นและเชื่อวางใจในพระองค์คือ “ขอพระเยโฮวาห์ทรงพิพากษาระหว่างข้าพระองค์และพระองค์ ขอพระเยโฮวาห์ทรงแก้แค้นแทนข้าพระองค์ต่อพระองค์ แต่มือของข้าพระองค์จะไม่กระทำอะไรต่อพระองค์” (1 ซามูเอล 24:12)
ในฐานะคริสเตียนเราควรปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้าที่จะ “จงรักศัตรูของท่านและอธิษฐานเผื่อบรรดาผู้ที่ข่มเหงท่าน” (มัทธิว 5:44) และมอบการแก้แค้นให้พระเจ้า
English
พระคัมภีร์กล่าวอะไรเกี่ยวกับการแก้แค้นหรือการอาฆาต