settings icon
share icon
คำถาม

ที่หมายสู่กางเขนคืออะไร และเราสามารถเรียนรู้อะไรจากสิ่งนั้น?

คำตอบ


ที่หมายสู่กางเขน ยังเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นทางแห่งความเศร้า เป็นเรื่องราวในชั่วโมงสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระเยซูในโลกนี้ ซึ่งยังคงจัดเป็นความเชื่ออย่างแรงกล้าฝ่ายวิญญาณสำหรับคริสเตียนทุกคน และการนำมาใช้ในชีวิตของเรา ที่หมายสู่กางเขนเป็นเครื่องเตือนเคร่งครัดให้นึกถึงท่าทีถ่อมพระองค์ ซึ่งพระเยซูทรงเต็มพระทัยที่จะวางสิทธิพิเศษความเป็นพระเจ้าลง เพื่อเตรียมทางไปสู่ความรอดโดยการสละพระชนม์เป็นเครื่องบูชา

มีบันทึกหลายฉบับที่บรรยายเรื่องชั่วโมงสุดท้าย อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอย่างแพร่หลาย ฉบับหนึ่งเป็นไปตามหลักพระคัมภีร์ และฉบับอื่นๆ เป็นเรื่องราวที่บันทึกเหตุการณ์ตามประเพณีเรื่องชั่วโมงสุดท้ายของพระเยซู แบบประเพณีดั้งเดิมเรื่องที่หมายสู่กางเขนเป็นดังนี้:
1 พระเยซูทรงถูกตัดสินประหารชีวิต
2 พระเยซูทรงได้รับกางเขน
3 พระเยซูทรงล้มลงเป็นครั้งแรก
4 พระเยซูทรงพบกับมารดาคือนางมารีย์
5 ซีโมนแห่งเมืองไซรีนถูกบังคับให้ต้องแบกกางเขน
6 เวโรนิก้าเช็ดพระโลหิตจากพระพักตร์ของพระเยซู
7 พระเยซูทรงล้มลงเป็นครั้งที่สอง
8 พระเยซูทรงพบกับพวกผู้หญิงในกรุงเยรูซาเล็ม
9 พระเยซูทรงล้มลงเป็นครั้งที่สาม
10 พระเยซูทรงถูกถอดฉลองพระองค์ออก
11 พระเยซูทรงถูกตอกตะปูบนกางเขน- การตรึงกางเขน
12 พระเยซูสิ้นพระชนม์บนกางเขน
13 พระศพของพระเยซูถูกนำลงจากกางเขน การปลดจากตำแหน่งหรือการร้องไห้คร่ำครวญ
14 พระศพของพระเยซูถูกวางไว้ในอุโมงค์

อย่างไรก็ตาม แบบประเพณีดั้งเดิมของที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 3, 4, 6,7 และ9 ไม่ได้อธิบายชัดเจนตามพระคัมภีร์ ผลก็คือ "ทางแห่งกางเขนตามพระคัมภีร์" ได้ถูกพัฒนาขึ้น ข้างล่างเป็นคำอธิบายที่หมายสู่กางเขนทั้ง 14 จุด ตามพระคัมภีร์ และการนำแต่ละจุดมาใช้กับชีวิต

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่1 พระเยซูบนภูเขามะกอกเทศ
ลูกา 22:39-46 "ฝ่ายพระองค์ เสด็จออกไปยังภูเขามะกอกเทศตามเคย และเหล่าสาวกของพระองค์ก็ตามพระองค์ไป เมื่อมาถึงที่นั่นแล้ว พระองค์ตรัสกับเขาทั้งหลายว่า ‘จงอธิษฐานเพื่อมิให้เข้าในการทดลอง’ แล้วพระองค์ดำเนินไปจากเขาไกลประมาณขว้างหินตก และทรงคุกเข่าลงอธิษฐาน ว่า ‘พระบิดาเจ้าข้า ถ้าพระองค์พอพระทัย ขอให้ถ้วยนี้เลื่อนพ้นไปจากข้าพระองค์เถิด แต่อย่างไรก็ดีอย่าให้เป็นไปตามใจข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์เถิด’ ทูตสวรรค์องค์หนึ่งมาปรากฏแก่พระองค์ ช่วยชูกำลังพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงเป็นทุกข์มากนัก พระองค์ยิ่งปลงพระทัยอธิษฐาน พระเสโทของพระองค์เป็นเหมือนโลหิตไหลหยดลงถึงดินเป็นเม็ดใหญ่เมื่อทรงอธิษฐานเสร็จและลุกขึ้นแล้ว พระองค์เสด็จมาถึงเหล่าสาวก พบเขานอนหลับอยู่ด้วยกำลังทุกข์โศก พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า "นอนหลับทำไม จงลุกขึ้นอธิษฐานเพื่อท่านจะไม่ต้องถูกการทดลอง"

พระเยซูทรงอธิษฐานบนภูเขามะกอกเทศ ทูลขอพระบิดาให้ทรงเลื่อนถ้วยจากพระหัตถ์ของพระองค์ นั่นหมายความถึงความตายของพระองค์บนกางเขน; ซึ่งแสดงให้เห็นภาพของพระเยซูในสภาพมนุษย์ มันไม่ยากที่จะนึกภาพความคาดหวังอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งหลายที่จะทรงเผชิญ เมื่อถึงเวลาหนึ่งในชีวิตของคริสเตียนทุกคน เมื่อพวกเขาจะต้องเลือกระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้าและความปรารถนาของตัวเอง และทำการตัดสินใจเลือกนั้น เช่นเดียวกับที่พระเยซูทรงเลือก ที่แสดงความมุ่งมั่นจะทำและเชื่อฟังพระเจ้า รวมทั้งสภาพจิตใจที่แท้จริง แม้ว่าพระเยซูทรงตระหนักถึงชะตากรรมที่กำลังจะเผชิญ เมื่อทรงอธิษฐานบนภูเขามะกอกเทศ เพื่อทูลขอพระเจ้าที่จะเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ คำอธิษฐานของพระองค์ก็คือขอให้พระประสงค์ของพระบิดาสำเร็จโดยไม่คำนึงถึงว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับอนาคตของพระองค์ แม้ทรงถูกตอกตะปูบนกางเขน กับลมหายใจของพระองค์กำลังริบหรี่ไป พระเยซูก็ยังทรงสอนเราถึงความสำคัญของการเชื่อฟังพระวจนะของพระเจ้า และความสำคัญของการไว้วางใจพระองค์ในทุกสถานการณ์

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่2 พระเยซูทรงถูกทรยศหักหลังโดยยูดาสและทรงถูกจับกุม
ลูกา 22:47-48 พระองค์ตรัสยังไม่ทันขาดคำ นี่แน่ะ มีคนเป็นอันมาก และผู้ที่ชื่อว่ายูดาสเป็นคนหนึ่งในสาวกสิบสองคนนั้นนำหน้าเขามา ยูดาสเข้ามาใกล้พระเยซูเพื่อจุบพระองค์ แต่พระเยซูตรัสถามเขาว่า "ยูดาส ท่านจะมอบบุตรมนุษย์ด้วยการจุบหรือ"

ยูดาสไม่เพียงแต่ได้กลายเป็นตัวละครหนึ่งที่ถูกหูหมิ่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อเขาทรยศต่อพระเยซู เขาก็ยังเป็นเครื่องเตือนใจที่ไม่อาจลืมได้แก่คริสเตียนทุกคนว่า เคยมีช่วงเวลาที่พวกเขาได้แพ้ต่อการทดลองใจให้ทำบาป สำหรับคริสเตียน การล้มลงในบาปเป็นเหมือนการทรยศต่อพระองค์ผู้ทรงประทานชีวิตของพระองค์แก่เรา การทรยศนั้นใหญ่หลวงแค่ไหน เมื่อพฤติกรรมที่ได้เลือกไว้คือความบาป จงใจหันจากการยึดความเชื่อมั่นฝ่ายจิตวิญญาณ ยูดาสได้เคยอยู่กับพระเยซูและนั่งอยู่ที่พระบาทของพระองค์เรียนรู้จากพระองค์มาหลายปี แต่เป็นเพราะจิตใจของเขาไม่ได้เปลี่ยนอย่างแท้จริงโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์เขาล้มลงทันทีเมื่อโดนซาตานทดลอง ในฐานะที่เป็นผู้เชื่อ เราถูกสอนให้ " สำรวจตนเอง" เพื่อดูว่าเรามีความเชื่ออย่างแท้จริงไหม

2โครินธ์ 13:5 "ท่านจงพิจารณาดูตัวของท่านว่าท่านตั้งอยู่ในความเชื่อหรือไม่

จงชันสูตรตัวของท่านเองเถิด ท่านไม่สำนึกหรือว่า พระเยซูคริสต์ทรงสถิตอยู่ในท่านทั้งหลาย นอกจากท่านจะแพ้การชันสูตร

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 3 พระเยซูทรงถูกกล่าวโทษโดยสภาแซนเฮดริน
ลูกา 22:66-71 "ครั้นรุ่งเช้าพวกผู้ใหญ่ของพลเมืองกับพวกมหาปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์ได้ประชุมกัน และเขาพาพระองค์เข้าไปในศาลสูงของเขา และพูดว่า "ถ้าท่านเป็นพระคริสต์ จงบอกเราเถิด" แต่พระองค์ทรงตอบเขาว่า "ถึงเราจะบอกท่าน ท่านก็จะไม่เชื่อ และถึงเราถามท่าน ท่านก็จะไม่ตอบเรา แต่ตั้งแต่นี้ไป บุตรมนุษย์จะนั่งข้างขวาพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ คนทั้งปวงจึงถามว่า "ท่านเป็นบุตรของพระเจ้าหรือ" พระองค์ตรัสแก่เขาว่า ‘ก็ท่านว่าแล้วว่าเราเป็น’ เขาทั้งหลายจึงว่า "เราต้องการพยานอะไรอีกเล่า เพราะว่าเราได้ยินจากปากของเขาเองแล้ว" สภาแซนเฮดริน ประกอบด้วยปุโรหิตเจ็ดสิบคนและพวกอาลักษณ์ มหาปุโรหิตคนหนึ่งเรียกร้องให้ปีลาตประหารพระเยซู

เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องเตือนใจคริสเตียนทุกคน ที่จะต้องระวังไม่ให้ยกตัวเองโดยถือว่าตนเองถูกต้องแล้วตัดสินคนอื่น ความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์ และตำแหน่งที่ยกย่องในโลกนี้ ยังน่าสมเพชที่ขาดจากความสมบูรณ์ที่บริสุทธิ์ และการคิดแบบหยิ่งยโสสามารถเป็นการล้มลงได้ แม้แต่คนที่เคร่งศาสนามากที่สุดในบรรดาคนทั้งหลาย พระคัมภีร์สอนให้เราเคารพในตำแหน่งของผู้ที่มีอำนาจ แต่ในท้ายที่สุดก็เป็นไปพระประสงค์ของพระเจ้า และพระวจนะของพระเจ้าที่ควรปกครองสูงสุดในชีวิตของเรา คริสเตียนได้รับฤทธิ์เดชพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าเวลารับบัพติศมา เพื่อปลอบโยน สั่งสอนและให้คำแนะนำพวกเขาในทุกสถานการณ์ ยอมให้พวกเขาเลือกกระทำทุกอย่างตามพระประสงค์ที่สมบูรณ์ของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องปฏิเสธความต้องการของตน ไม่เห็นแก่ผู้ปกครองทางศาสนาเช่นสภาแซนเฮดริน ผู้สิทธิอำนาจทางศาสนาสูงสุดที่เป็นที่ไว้วางใจของชาวยิว นำไปสู่การทุจริตท่ามกลางปุโรหิตและอาลักษณ์ของสภาแซนเฮดริน และเมื่อพระเยซูทรงเริ่มต้นสั่งสอนหลักคำสอนที่ไปบ่อนทำลายสิทธิอำนาจของพวกเขา พวกเขาวางกลอุบายเป็นปฏิปักษ์กับพระองค์ ในที่สุดเรียกร้องให้รัฐบาลโรมันสั่งตรึงกางเขนพระองค์

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 4 เปโตรปฏิเสธพระเยซู
ลูกา 22:54-62 "เขาก็จับพระองค์พาเข้าไปในบ้านมหาปุโรหิตประจำการ เปโตรติดตามพระองค์ไปห่างๆ เมื่อเขาก่อไฟที่กลางลานบ้าน และนั่งลงด้วยกันแล้ว เปโตรก็นั่งอยู่ท่ามกลางเขา มีสาวใช้คนหนึ่งเห็นเปโตรนั่งอยู่ในแสงไฟ จึงเพ่งดูแล้วว่า ‘คนนี้ได้อยู่กับคนนั้นด้วย’ แต่เปโตรปฏิเสธว่า ‘แม่เอ๋ย คนนั้นข้าไม่รู้จัก’ สักครู่หนึ่งมีอีกคนหนึ่งเห็นเปโตร จึงว่า ‘เจ้าเป็นคนในพวกนั้นด้วย’ เปโตรจึงว่า ‘พ่อเอ๋ย ข้ามิได้เป็น’ อยู่มาประมาณอีกชั่วโมงหนึ่งมีอีกคนหนึ่งยืนยันแข็งแรงว่า ‘แน่แล้ว คนนี้อยู่กับเขาด้วย เพราะเขาเป็นชาวกาลิลี’ แต่เปโตรพูดว่า ‘พ่อเอ๋ย ที่ท่านว่านั้นข้าไม่รู้เรื่อง’ เมื่อเปโตรกำลังพูดยังไม่ทันขาดคำ ในทันใดนั้นไก่ก็ขัน องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเหลียวดูเปโตร แล้วเปโตรก็ระลึกถึงคำขององค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้แก่เขาว่า "วันนี้ก่อนไก่ขันท่านจะปฏิเสธเราสามครั้ง’ แล้วเปโตรก็ออกไปข้างนอกร้องไห้เป็นทุกข์นัก"

เมื่อพระเยซูทรงถูกจับกุม ผู้คนมากมายผู้ที่อยู่ในช่วงเวลานั้น กล่าวหาว่าเปโตรเป็นหนึ่งในสาวกของพระเยซู เป็นไปตามที่พระเยซูทรงคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ว่าเปโตรจะปฏิเสธพระเยซูสามครั้ง เปโตรเป็นสาวกที่รักและไว้ใจได้ของพระเยซู ผู้ที่เป็นประจักษ์พยานโดยตรงถึงปาฏิหาริย์มากมาย แม้แต่เคยเดินบนน้ำกับพระเยซู

มัทธิว 14:29-31 "พระองค์ตรัสว่า "มาเถิด" เปโตรจึงลงจากเรือเดินบนน้ำไปหาพระเยซู แต่เมื่อเขาเห็นลมพัดแรงก็กลัว และเมื่อกำลังจะจมก็ร้องว่า ‘พระองค์เจ้าข้า ช่วยข้าพระองค์ด้วย’ ในทันใดนั้นพระเยซูทรงเอื้อมพระหัตถ์จับเขาไว้ แล้วตรัสว่า ‘ท่านสงสัยทำไม ท่านช่างมีความเชื่อน้อยเสียจริง"

แม้กระนั้น เปโตรได้แสดงให้เห็นภาพความอ่อนแอของคนเรา โดยการปฏิเสธพระเยซูเพราะกลัวว่าเขาจะถูกจับกุมตัว คริสเตียนทั่วโลกยังคงเผชิญการกดขี่ข่มเหงและการทำให้ขายหน้า โดยคนในสังคมที่ไม่เชื่อ จากการละเมิดทางวาจาจนถึงการเฆี่ยนตีและความตาย ประชาชนอาจถือความถูกต้องของตนเองไปตัดสินเปโตรที่ได้ปฏิเสธพระเยซู และเขากลัวสิ่งที่ชาวโรมันจะทำกับเขา ถ้าพวกเขาค้นพบว่าเขามีความสัมพันธ์กับพระเยซู แต่คริสเตียนผู้เชื่อในพระคัมภีร์กี่คนที่สามารถพูดได้ว่า พวกเขาไม่เคยนิ่งเงียบเกี่ยวกับความเชื่อของตน เมื่อเผชิญการแบ่งแยกพวกออกในที่สาธารณชนหรือเป็นส่วนตัว การนิ่งเงียบดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของคนเรา ความเชื่อของเปโตรเป็นความเชื่อที่ไม่สมบูรณ์ เบื้องต้นเพราะเขาไม่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสถิตด้วยในช่วงเวลานั้น หลังจากที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาสถิตในใจของผู้เชื่อในวันเพนเทคอส ( กิจการบทที่ (2 เปโตรเป็นผู้เชื่อคนสำคัญที่กล้าหาญ ที่ไม่เคยกลัวการประกาศพระเจ้าของเขาอีกเลย

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 5 พระเยซูทรงถูกตัดสินโทษโดยปอนติอุส ปิลาต
ลูกา 23:13-25 "ปีลาตจึงสั่งมหาปุโรหิต พวกขุนนางและราษฎรให้ประชุมพร้อมกัน และกล่าวแก่เขาว่า ‘ท่านทั้งหลายได้พาคนนี้มาหาเรา ฟ้องว่าเขาได้ยุยงราษฎร ดูเถิด เราได้สืบถามต่อหน้าท่านทั้งหลาย และไม่เห็นว่าคนนี้มีความผิดในข้อที่ท่านทั้งหลายฟ้องเขานั้น และเฮโรดก็ไม่เห็นว่าเขามีความผิดด้วย เพราะเฮโรดได้ส่งตัวเขากลับมายังเราอีกแล้ว ดูเถิด คนนี้ไม่ได้ทำผิดอะไรซึ่งสมควรจะมีโทษถึงตาย เหตุฉะนั้นเมื่อเราเฆี่ยนเขาแล้ว เราก็จะปล่อยเสีย’ อ่านว่า ท่านต้องปล่อยคนหนึ่งให้เขาทั้งหลายในเทศกาลนั้น แต่คนทั้งปวงร้องขึ้นพร้อมกันว่า "กำจัดคนนี้เสีย และจงปล่อยบารับบัสให้เราเถิด’ บารับบัสนั้นติดคุกอยู่ เพราะการจลาจลที่เกิดขึ้นในเมืองและการฆ่าคน ฝ่ายปีลาตยังมีน้ำใจจะใคร่ปล่อยพระเยซู จึงพูดกับเขาอีก แต่คนเหล่านั้นกลับตะโกนร้องว่า ‘ตรึงเสียเถิด ตรึงเขาเสียที่กางเขนเถิด’ ปีลาตจึงถามเขาครั้งที่สามว่า "ตรึงทำไม เขาได้ทำผิดประการใด เราไม่เห็นเขาทำผิดอะไรที่สมควรจะมีโทษถึงตาย เหตุฉะนั้นเมื่อเราเฆี่ยนเขาแล้วก็จะปล่อยเสีย’ ฝ่ายคนทั้งปวงก็เร่งเร้าเสียงดัง ให้ตรึงเสียที่กางเขนและเสียงคนทั้งปวงนั้นมีชัย ปีลาตจึงสั่งให้เป็นไปตามที่เขาทั้งหลายปรารถนา ท่านจึงปล่อยคนที่เขาขอนั้น ซึ่งติดคุกอยู่เพราะการจลาจลและการฆ่าคน แต่ท่านได้มอบพระเยซูไว้ตามใจเขา"

ตามมาตรฐานทางกฎหมายทุกวันนี้ บางทีพระเยซูอาจจะไม่ทรงถูกตัดสินคดีในศาลใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากไม่มีหลักฐานแท้จริงที่สามารถเอาผิดพระองค์ได้ ปอนติอุส ปิลาตไม่สามารถพบความผิดใดในสิ่งที่พระเยซูทรงกระทำ และท่านต้องการที่จะปล่อยพระองค์ไป แต่สภาแซนเฮดรินเรียกร้องให้ปีลาตสั่งประหารพระองค์เสีย สภาแซนเฮดริน ผู้ที่ปกครองตามบทบัญญัติของโมเสสอย่างเข้มงวด ได้ถือว่าพระเยซู เป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อสิทธิอำนาจปกครองชาวยิวของพวกเขา พระเยซูทรงสอนประชาชนว่า ความรอดมาโดยพระคุณของพระเจ้าและไม่ใช่โดยยึดมั่นในกฎข้อบังคับมากมายโดยสภาแซนเฮดริน และคำสอนดังกล่าวไม่เพียงแต่บ่อนทำลายสิทธิอำนาจของผู้นำทางศาสนา แต่ก็ยังเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตของพวกเขา แม้กระทั่งทุกวันนี้ ข่าวประเสริฐเรื่องความรอด โดยอำนาจและตามชอบพระทัยของพระเจ้า ไม่ใช่โดยความพยายามของเราเอง ก็ไม่เป็นที่นิยมกว้างขวาง การที่คนเราล้มลงในธรรมชาติบาป มักต้องการที่จะแสวงหาความรอดด้วยตัวเอง หรืออย่างน้อยมีส่วนร่วมด้วย ดังนั้นเราสามารถประกาศอย่างน้อยที่สุดส่วนหนึ่งของสิ่งประเสริฐ แต่ความรอดคือโดยพระเจ้า ผู้ไม่ทรงประทานพระสิริของพระองค์แก่ผู้ใด

อิสยาห์ 42:8 "เราคือเยโฮวาห์ นั่นเป็นนามของเรา พระสิริของเรา เรามิได้ให้แก่ผู้อื่น หรือให้คำที่สรรเสริญเราแก่รูปแกะสลัก"

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 6 พระเยซูทรงถูกโบยตีและสวมมงกุฎหนาม
ลูกา 22:63-65 "ฝ่ายคนที่คุมพระเยซูก็เยาะเย้ยโบยตีพระองค์ และเมื่อเขาเอาผ้าผูกปิดพระเนตรของพระองค์แล้ว เขาจึงถามว่า ‘จงเผยให้เรารู้ว่า ใครตบเจ้า’ เขาพูดคำหยาบช้าแก่พระองค์อีกหลายประการ"

การรักษาที่กล่าวถึงในพระธรรมตอนนี้ คือการรักษาโรคทางจิตวิญญาณหรือการรักษาโรคบาป การให้อภัยบาป และการฟื้นกลับสู่ความโปรดปรานของพระเจ้า บ่อยครั้งแทนความ หมายการเยียวยารักษา มากกว่าห้าร้อยปีก่อนที่นางมารีย์ให้กำเนิดพระเยซู อิสยาห์ได้พยากรณ์ว่าพระเยซูจะได้รับบาดเจ็บเพราะการล่วงละเมิดต่อบาปของเรา

อิสยาห์ 53:3-6 "ท่านได้ถูกมนุษย์ดูหมิ่นและทอดทิ้ง เป็นคนที่รับความเจ็บปวด และคุ้นเคยกับความเจ็บไข้ และดังผู้หนึ่งซึ่งคนทนมองดูไม่ได้ ท่านถูกดูหมิ่น และเราทั้งหลายไม่ได้นับถือท่าน แน่ทีเดียวท่านได้แบกความเจ็บไข้ของเราทั้งหลาย และหอบความเจ็บปวดของเราไป กระนั้นเราทั้งหลายก็ยังถือว่าท่านถูกตี คือพระเจ้าทรงโบยตีและข่มใจ แต่ท่านถูกบาดเจ็บเพราะความทรยศของเราทั้งหลาย ท่านฟกช้ำเพราะความบาปผิดของเรา การตีสอนอันทำให้เราทั้งหลายสมบูรณ์นั้นตกแก่ท่าน ที่ท่านต้องฟกช้ำนั้นก็ให้เราหายดี เราทุกคนได้เจิ่นไปเหมือนแกะ เราทุกคนต่างได้หันไปตามทางของตนเอง และพระเจ้าทรงวางลงบนท่าน ซึ่งความบาปผิดของเราทุกคน"

พระเยซูทรงถูกทารุณเพราะความชั่วช้าของเรา และที่ท่านต้องฟกช้ำนั้นก็ให้เราหายดี

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 7 พระเยซูทรงแบกกางเขน
มาระโก 15:20 "เมื่อเยาะเย้ยพระองค์แล้ว เขาถอดเสื้อสีม่วงนั้นออก แล้วเอาฉลองพระองค์สวมให้ และนำพระองค์ออกไปเพื่อจะตรึงเสียที่กางเขน"

เมื่อพระเยซูทรงแบกกางเขน พระองค์ทรงแบกหนักยิ่งกว่าไม้
ผู้ชมที่เฝ้าดูมากมายในวันนั้นไม่เข้าใจ พระเยซูทรงแบกบาปของมนุษย์ ทรงแบกรับการลงโทษบาปของผู้ที่สมควรได้รับ ซึ่งพระองค์กำลังจะต้องทนทุกข์ทรมานเพราะเห็นแก่มนุษย์

มัทธิว 16:24 "ขณะนั้นพระเยซูจึงตรัสกับเหล่าสาวกของพระองค์ว่า ‘ถ้าผู้ใดใคร่ตามเรามาให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเอง และรับกางเขนของตนแบกและตามเรามา"

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเปิดเผยให้เห็นว่านี่ไม่ใช่เป็นทางเลือก:

มัทธิว 10:38 "และผู้ใดที่ไม่รับเอากางเขนของตนตามเราไป ผู้นั้นก็ไม่มีค่าควรกับเรา"

จงแบกกางเขนของเราเอง ตราสารแห่งความตาย หมายถึงตายต่อตนเองเพื่อมีชีวิต เป็นคนที่ถูกสร้างใหม่ที่สมบูรณ์เพื่อการรับใช้และการเชื่อฟังพระคริสต์

2โครินธ์ 5:17 "เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสต์ ผู้นั้นก็เป็นคนที่ถูกสร้างใหม่แล้ว สิ่งสารพัดที่เก่าๆก็ล่วงไป นี่แน่ะกลายเป็นสิ่งใหม่ทั้งนั้น"

นี่หมายถึงการยอมละทิ้งเพื่อพระเจ้า ความตั้งใจของเรา ความรักใคร่ของเรา ความทะเยอทะยานของเรา และความปรารถนาของเรา เราต้องไม่แสวงหาความสุขของเราเองโดยถือเป็นเป้าหมายสูงสุด แต่จะยินดีที่จะสละทุกอย่าง และวางชีวิตของเราลงด้วย ถ้าหากจำเป็น

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 8 ซีโมนชาวไซรีน ช่วยพระเยซูแบกกางเขน
ลูกา 23:26 "เมื่อเขาพาพระองค์ออกไป เขาเกณฑ์ซีโมนชาวไซรีนที่มาจากบ้านนอก แล้วเอากางเขนวางบนเขาให้แบกตามพระเยซูไป"

ซีโมน ชาวไซรีน อาจจะถูกคัดให้เป็นผู้รับเคราะห์ในสถานการณ์ เป็นไปได้มากที่สุดที่เขามาถึงกรุงเยรูซาเล็มเพื่องานเทศกาลปัสกา และอาจจะรู้บ้างเล็กน้อย เกี่ยวกับกระบวนการทั้งหลายที่ใกล้จะมาถึง เรารู้เกี่ยวกับซีโมน ชาวไซรีน น้อยมาก เพราะว่าไม่ได้กล่าวถึงเขาในพระคัมภีร์ หลังจากที่เขาได้ช่วยแบกกางเขนไป เพื่อพระเยซูจะทรงถูกตอกตะปู ได้รับคำสั่งให้ช่วยโดยทหารโรมัน ซีโมนก็ไม่ได้ขัดขืน เป็นไปได้ว่าเพราะเกรงกลัวเรื่องชีวิตของตัวเองเมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ที่ใกล้จะมาถึง ซึ่งแตกต่างจากพระเยซู ที่ทรงแบกกางเขนด้วยความเต็มพระทัย ซีโมน ชาวไซรีนถูก ‘บังคับ’ หรือถูกใช้กำลังบังคับให้ต้องแบก ในฐานะคริสเตียน เราต้องเข้าร่วมในความทนทุกข์ของพระเยซูด้วยความเต็มใจ ขณะที่เปาโลเตือนสอนเรา "อย่าละอายที่จะเป็นพยานฝ่ายองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา หรือฝ่ายตัวข้าพเจ้าที่ถูกจำจองอยู่"

1ทิโมธี 1:8 "เราทั้งหลายรู้อยู่ว่าธรรมบัญญัตินั้นดีถ้าผู้ใดใช้ให้ถูก"

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 9 พระเยซูทรงพบพวกผู้หญิงที่กรุงเยรูซาเล็ม
ลูกา 23:27-31 "มีคนเป็นอันมากตามพระองค์ไป ทั้งพวกผู้หญิงที่พิลาปและคร่ำครวญเพราะพระองค์ พระเยซูจึงหันพระพักตร์มาทางเขาตรัสว่า "ธิดาเยรูซาเล็มเอ๋ย อย่าร้องไห้สงสารเราเลย แต่จงร้องไห้สงสารตนเอง และสงสารลูกทั้งหลายของตนเถิด ด้วยว่า ดูเถิด จะมีเวลาหนึ่งที่เขาทั้งหลายจะว่า 'ผู้หญิงเหล่านั้นที่เป็นหมันและครรภ์ที่มิได้ปฏิสนธิ และหัวนมที่มิได้ให้ดูดเลย ก็เป็นสุข' คราวนั้นเขาจะเริ่มว่าแก่ภูเขาทั้งหลายว่า 'จงพังลงทับเรา' และแก่เนินเขาว่า 'จงคลุมเราไว้' เพราะว่าถ้าเขาทำอย่างนี้เมื่อไม้สด อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อไม้แห้งแล้วเล่า"

เมื่อพระเยซูทรงพบพวกผู้หญิงกำลังร้องไห้ และเหล่าสาวกของพระองค์บางคนตามทางที่พระองค์ทรงดำเนินไปถูกตรึงกางเขน ทรงเตือนพวกเขาว่าพวกเขาไม่ควรร้องไห้เพื่อพระองค์ แต่ควรเป็นห่วงตัวพวกเขาเอง และชีวิตของลูกๆ ของพวกเขา เมื่อพิจารณาถึงความชั่วร้ายที่เพิ่มขึ้นทั่วกรุงเยรูซาเล็ม แม้ในขณะที่ทรงกำลังทนทุกข์ความเจ็บปวดและความอัปยศอดสู พระเยซูไม่ได้ทรงห่วงพระองค์เอง แต่ทรงห่วงชีวิตและจิตวิญญาณของผู้ที่ต้องเผชิญกับอันตรายของคำสาปแช่งนิรันดร์ เพราะบาปในชีวิตของพวกเขา การเตือนให้ระมัดระวังแบบเดียวกันนี้สำคัญสำหรับคริสเตียนทุกวันนี้ เราควรจะระวังไม่ควรยอมให้ธุระเรื่องใดในโลกนี้สำคัญกว่าการที่เราจะถวายชีวิตและการเชื่อฟังพระเจ้า

ยอห์น 18:36 "พระเยซูตรัสตอบว่า "ราชอำนาจของเรามิได้เป็นของโลกนี้ ถ้าราชอำนาจของเรามาจากโลกนี้ คนของเราก็คงจะได้ต่อสู้ไม่ให้เราตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกยิว แต่ราชอำนาจของเรามิได้มาจากโลกนี้"

ในฐานะที่เป็นพลเมืองแห่งสวรรค์ จงมุ่งเน้นและให้ความสนใจที่นั่น

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 10 พระเยซูทรงถูกตรึงกางเขน
ลูกา 23:33-47 "เมื่อมาถึงตำบลหนึ่งที่เรียกว่ากระโหลกศีรษะ เขาจึงตรึงพระองค์ไว้ที่กางเขนที่นั่นพร้อมกับผู้ร้ายสองคนนั้น ข้างขวาคนหนึ่งข้างซ้ายคนหนึ่ง ฝ่ายพระเยซูจึงทรงอธิษฐานว่า "โอพระบิดาเจ้าข้า ขอโปรดอภัยโทษเขาเพราะว่า เขาไม่รู้ว่าเขาทำอะไร" เขาก็เอาฉลองพระองค์ จับฉลากแบ่งปันกัน คนทั้งปวงก็ยืนมองดู พวกขุนนางก็เยาะเย้ยพระองค์ด้วยว่า ‘เขาช่วยคนอื่นให้รอดได้ ถ้าเขาเป็นพระคริสต์ของพระเจ้าที่ทรงเลือกไว้ ให้เขาช่วยตัวเองเถิด’ พวกทหารก็เย้ยหยันพระองค์ด้วย เข้ามาเอาเหล้าองุ่นเปรี้ยวส่งให้พระองค์ แล้วว่า "ถ้าท่านเป็นกษัตริย์ของพวกยิว จงช่วยตัวเองให้รอดเถิด" และมีคำเขียนไว้เหนือพระองค์ว่า ‘ผู้นี้เป็นกษัตริย์ของพวกยิว’ ฝ่ายคนหนึ่งในผู้ร้ายที่ถูกตรึงไว้จึงพูดหยาบช้าต่อพระองค์ว่า ‘ท่านเป็นพระคริสต์มิใช่หรือ จงช่วยตัวเองกับเราให้รอดเถิด’ แต่อีกคนหนึ่งห้ามปรามเขาว่า ‘เจ้าก็ไม่เกรงกลัวพระเจ้าหรือ เพราะเจ้าเป็นคนถูกโทษเหมือนกัน และเราก็สมกับโทษนั้นจริง เพราะเราได้รับสมกับการที่เราได้กระทำ แต่ท่านผู้นี้หาได้กระทำผิดประการใดไม่’ แล้วคนนั้นจึงทูลว่า ‘พระเยซูเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงระลึกถึงข้าพระองค์ เมื่อพระองค์เสด็จเข้าในแผ่นดินของพระองค์’ ฝ่ายพระเยซูทรงตอบเขาว่า "เราบอกความจริงแก่เจ้าว่า วันนี้เจ้าจะอยู่กับเราในเมืองบรมสุขเกษม’ เวลานั้นประมาณเวลาเที่ยง ก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน จนถึงบ่ายสามโมง ดวงอาทิตย์ก็มืดไป ม่านในพระวิหารก็ขาดตรงกลาง พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า "พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์’ ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์ ฝ่ายนายร้อยเมื่อเห็นเหตุการณ์ซึ่งบังเกิดขึ้นนั้น จึงสรรเสริญพระเจ้าว่า ‘แท้จริงท่านผู้นี้เป็นคนชอบธรรม’"

สองพันกว่าปีหลังจากความจริงนั้น มันเป็นเรื่องยาก ที่จะนึกภาพความสยองขวัญของช่วงเวลาที่ผู้ที่ใกล้ชิดกับพระเยซูถูกบังคับให้ยืนนิ่งทำอะไรไม่ถูก ขณะที่ของแหลมคมทิ่มแทงทะลุฝ่าพระหัตถ์และพระบาทของพระองค์ลงติดที่ท่อนไม้นั้น ที่ทรงหายใจครั้งสุดท้ายในสภาพมนุษย์ ผู้คนที่ทรงรักและพวกสาวกยังไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น พวกเขายังไม่สามารถที่จะเข้าใจว่า การกระทำชั่วของคนส่งผลให้พระเจ้ามีพระประสงค์และทรงวางแผนเพื่อความรอดของทุกคนที่มาเชื่อในพระเยซูคริสต์

ฮีบรู 2:3 "ดังนั้นถ้าเราละเลยความรอดอันยิ่งใหญ่แล้ว เราจะรอดพ้นไปอย่างไรได้ ความรอดนั้นได้เริ่มขึ้น โดยการประกาศขององค์พระผู้เป็นเจ้าเอง และบรรดาผู้ที่ได้ยินพระองค์ ก็ได้รับรองแก่เราว่าเป็นความจริง"

กิจการ 4:12 "ในผู้อื่นความรอดไม่มีเลย ด้วยว่านามอื่นซึ่งให้เราทั้งหลายรอดได้ ไม่ทรงโปรดให้มีในท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า"

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่ 11 พระเยซูทรงสัญญาว่าโจรที่กลับใจเชื่อจะได้เข้าแผ่นดินสวรรค์
ลูกา 23:43 "ฝ่ายพระเยซูทรงตอบเขาว่า ‘เราบอกความจริงแก่เจ้าว่า วันนี้เจ้าจะอยู่กับเราในเมืองบรมสุขเกษม’"

เป็นไปได้ว่าโจรที่ถูกตรึงกางเขนข้างพระเยซูก็สามารถที่จะเข้าใจแนวคิดว่าชีวิตไม่ได้สิ้นสุดลงสำหรับพระเยซู แต่ว่าพระองค์กำลังแปรสภาพพระกายฝ่ายโลก เข้าสู่พระสัญญานิรันดร์ ที่พระองค์ได้เสด็จมาเพื่อทรงช่วยมนุษยชาติ โจรนั้นจะกลายเป็นหนึ่งในคนพวกแรกที่จะเข้าสู่สวรรค์ โดยพระคุณผ่านทางความเชื่อในพระเยซูคริสต์

เอเฟซัส 2:8-9 "ด้วยว่าซึ่งท่านทั้งหลายรอดนั้นก็รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ และมิใช่โดยตัวท่านทั้งหลายกระทำเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้ ความรอดนั้นจะเนื่องด้วยการกระทำก็หามิได้ เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใดอวดได้"

พระเยซูตรัสบอกโจรว่า เขาจะไปอยู่ในสวรรค์ในวันนั้นกับพระองค์ เพราะเขาได้ยอมรับและเชื่อในพระบุตรของพระเจ้า เห็นได้ชัดว่านี่เป็นตัวอย่างว่าคนที่รอดโดยพระคุณผ่านความเชื่อมากกว่าการประพฤติ เหมือนดังผู้คนที่ข่มเหงและกล่าวโทษพระเยซูที่จะกลับกลายเป็นผู้เชื่อ

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่12 พระเยซูบนกางเขนทรงตรัสกับมารดาและเหล่าสาวกของพระองค์
ยอห์น 19:25-28 "พวกทหารได้กระทำดังนี้ ผู้ที่ยืนอยู่ข้างกางเขนของพระเยซูนั้น มีมารดาของพระองค์กับน้าสาวของพระองค์ มารีย์ภรรยาของเคลโอปัส และมารีย์ชาวมักดาลา เมื่อพระเยซูทอดพระเนตรเห็นมารดาของพระองค์ และสาวกคนที่พระองค์ทรงรักยืนอยู่ใกล้พระองค์ จึงตรัสกับมารดาของพระองค์ว่า ‘หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด’ แล้วพระองค์ตรัสกับสาวกคนนั้นว่า ‘จงดูมารดาของท่านเถิด’ ตั้งแต่เวลานั้นมาสาวกคนนั้นก็รับมารดาของพระองค์มาอยู่ในบ้านของตน หลังจากนั้น พระเยซูทรงทราบว่าทุกสิ่งสำเร็จแล้ว เพื่อให้เป็นจริงตามพระธรรม พระองค์จึงตรัสว่า "เรากระหายน้ำ"

พระเยซู ในช่วงเวลาที่กำลังจะสิ้นพระชนม์ ยังทรงใส่ใจความจำเป็นของคนอื่น ๆ ก่อนตนเอง ทรงมุ่งมั่นสั่งเสียสาวกที่ทรงรักคือยอห์น ให้ดูแลมารดาของพระองค์
ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ รวมทั้งการตายของพระองค์ ได้เป็นตัวอย่างสอนว่าเราต้องนึกถึงความต้องการของคนอื่น ๆ ก่อนตัวเราเอง ยอมทำทุกอย่างตามพระประสงค์ที่สมบูรณ์ของพระเจ้า ความเต็มใจที่จะมีชีวิตตามพระวจนะของพระองค์ และแสดงให้เห็นภาพการกระทำด้วยการเสียสละอย่างสัตย์ซื่อเพื่อคนอื่น ในการเผชิญกับความทุกข์ยาก เป็นลักษณะที่กำหนดเฉพาะของชีวิตคริสเตียนที่แท้จริง

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่13 พระเยซูสิ้นพระชนม์บนกางเขน
ลูกา 23:44-46 "เวลานั้นประมาณเวลาเที่ยง ก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน จนถึงบ่ายสามโมง ดวงอาทิตย์ก็มืดไป ม่านในพระวิหารก็ขาดตรงกลาง พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า "พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์" ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์"

ทันทีที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ ผ้าม่านในพระวิหารซึ่งแยกกั้นคนไม่ให้เข้าในอภิสุทธิสถาน ได้ถูกฉีกขาดจากบนลงล่าง สิ่งนี้น่ากลัวสำหรับชาวยิวทุกคน ที่เป็นพยานเหตุการณ์นั้น ผู้ที่ไม่ได้รู้ว่ามันหมายถึงพันธสัญญาเดิมสิ้นสุดลง และเริ่มต้นพันธสัญญาใหม่ คนไม่ต้องทนทุกข์ที่ถูกแยกจากพระเจ้าเพราะบาปอีกต่อไป แต่ตอนนี้เราจะสามารถที่จะเข้าใกล้พระที่นั่งแห่งพระคุณอย่างกล้าหาญ โดยการอธิษฐานทูลขอการอภัยบาป ชีวิตและการเสียสละพระชนม์ของพระเยซู ได้เคลื่อนย้ายความบาปที่เป็นอุปสรรคออกไป ทำให้คนเราสามารถที่จะได้รับความรอดโดยพระคุณ

ที่หมายสู่กางเขน จุดที่14 พระศพพระเยซูทรงถูกนำไปวางในอุโมงค์
ลูกา 23:50-54 "มีชายคนหนึ่งชื่อโยเซฟ ชาวบ้านอาริมาเธียหมู่บ้านพวกยิว ท่านเป็นสมาชิกสภา เป็นคนดีและชอบธรรม มิได้ยอมเห็นด้วยในมติและการกระทำของเขาทั้งหลาย และโยเซฟเป็นผู้คอยท่าแผ่นดินของพระเจ้า ชายคนนี้จึงเข้าไปหาปีลาตขอพระศพพระเยซู เมื่อเชิญพระศพลงแล้ว เขาจึงเอาผ้าป่านพันหุ้มไว้ แล้วเชิญพระศพไปประดิษฐานไว้ในอุโมงค์ ซึ่งเจาะไว้ในศิลาที่ยังมิได้วางศพผู้ใดเลย วันนั้นเป็นวันจัดเตรียมและวันสะบาโตก็เกือบจะถึงแล้ว

หลังจากที่พระเยซูสิ้นพระชนม์และพระกายถูกนำลงมาจากกางเขน ทรงถูกนำไปนอนพักในอุโมงค์ฝังศพ โดยชายคนหนึ่งชื่อโยเซฟ จากอาริมาเธียเมืองหนึ่งของชาวยิว โยเซฟคนนี้ยังเป็นสมาชิกสภาแซนเฮดริน แต่ไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาคดีและการตรึงกางเขนของพระเยซู โยเซฟเชื่ออย่างลับๆ ว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์ตามพระคัมภีร์ แต่กลัวผลกระทบจากการยอมรับความเชื่อของเขาต่อสาธารณชน

ยอห์น19:38 "หลังจากนี้โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสาวกลับๆของพระเยซู เพราะเขากลัวพวกยิว ก็ได้ขอพระศพพระเยซูจากปีลาต และปีลาตก็ยอมให้ ยเซฟจึงมาอัญเชิญพระศพพระองค์ไป"

หลังจากที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ โยเซฟแอบไปพบปีลาตอย่างลับๆ และขอพระศพพระเยซูเพื่อที่เขาจะจัดการฝังอย่างเหมาะสม การเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพระเยซู ไม่เพียงแต่กลายเป็นการลบมลทินบาปของมนุษย์ แต่มันก็กลายเป็นชัยชนะที่จะพิชิตความตาย ซึ่งมิฉะนั้นจะกลายเป็นชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของทุกคนที่เกิดมาภายใต้คำสาปแช่งแห่งความบาป ความบาปรับการลงโทษที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของตัวเอง และบทลงโทษนั้นคือความตาย พระผู้สร้างของเราทรงยุติธรรมและเป็นธรรม และทรงเรียกร้องให้โทษบาปจะต้องถูกชดใช้ เพราะพระเจ้าทรงรักและทรงพระเมตตาเช่นเดียวกับทรงยุติธรรม พระเจ้าทรงได้ส่งพระบุตรที่สืบสายองค์เดียวเพื่อชดใช้ค่าปรับโทษความผิดบาปของเรา โดยรู้ว่ามิเช่นนั้นแล้วเราจะถูกตัดสินลงโทษชั่วนิรันดร์

ยอห์น 3:16 "เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์"

ความรักและพระเมตตาของพระเจ้าถูกแสดงให้เห็นอย่างมากโดยคำตรัสของพระเยซู ขณะที่ทรงถูกตรึงรับความตายบนกางเขน เมื่อทรงทูลขอให้พระเจ้าทรงอภัยบาปแก่คนที่กำลังประหารพระองค์ด้วยความไม่รู้ของพวกเขา

ลูกา 23:34 "ฝ่ายพระเยซูจึงทรงอธิษฐานว่า "โอพระบิดาเจ้าข้า ขอโปรดอภัยโทษเขาเพราะว่า เขาไม่รู้ว่า เขาทำอะไร" เขาก็เอาฉลองพระองค์ จับฉลากแบ่งปันกัน"

มันง่ายที่จะคาดคะเนได้ว่า ความเต็มใจของคนที่จะยอมจำนนอย่างสิ้นเชิงต่อการเชื่อฟังพระวจนะของพระเจ้าและบทบัญญัติ เป็นเพราะเขาขาดความรู้และสติปัญญา การเยาะเย้ยของการรวบรัดนั้น คือความหายนะถึงตายที่เกิดขึ้นแก่พระเยซูบนกางเขน กลายเป็นความหายนะถึงตายฝ่ายจิตวิญญาณ สำหรับบรรดาผู้ที่ไม่สามารถที่จะเอาชนะความเพิกเฉยแบบเดียวกัน ที่ยังคงระบาดในคนทั่วไปมากทุกวันนี้ คนบาปที่ปฏิเสธไม่รับของประทานแห่งความรอด ที่พระเยซูทรงจัดการโดยการเสียสละพระชนม์ของพระองค์ แน่นอนเป็นผลจากความไม่รู้ที่ดื้อรั้น และความบาปที่แยกคนจากพระปัญญาของพระเจ้า


English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ที่หมายสู่กางเขนคืออะไร และเราสามารถเรียนรู้อะไรจากสิ่งนั้น?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries