เรื่องราวของพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่คืออะไร?

คำตอบ


สี่ร้อยกว่าปีหลังจากที่พระเจ้าตรัสผ่านผู้พยากรณ์มาลาคี พระเจ้าตรัสอีกครั้ง ข้อความคือการพยากรณ์ของมาลาคี 3:1 ว่าในไม่ช้าก็จะเสร็จสมบูรณ์ ผู้พยากรณ์จะจัดเตรียมทางสำหรับองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเมสสิยาห์นั้นกำลังเสด็จมา

ผู้พยากรณ์นั้นมีชื่อว่ายอห์น พระเมสสิยาห์มีชื่อว่าพระเยซูซึ่งเกิดจากหญิงพรหมจารีชื่อมารีย์ พระเยซูเติบโตขึ้นในฐานะผู้ปฏิบัติตามบัญญัติของยิว เมื่อพระองค์อายุประมาณสามสิบปี พระองค์เริ่มทำพันธกิจสาธารณะเพื่อมุ่งหน้าไปยังอิลราเอล ยอห์นได้เทศนาสั่งสอนเกี่ยวกับอาณาจักรของพระเมสสิยาห์ที่กำลังจะมาและให้บัพติศมาแก่ผู้ที่เชื่อในข้อความของเขาและกลับใจจากบาปของพวกเขา เมื่อพระเยซูมาเพื่อบัพติศมา พระเจ้าทรงตรัสให้ได้ยินและพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาให้เห็นเหนือพระเยซูทรงระบุว่าพระองค์คือพระเมสสิยาห์ตามพระสัญญา นับจากนั้นเป็นต้นมาพันธกิจของยอห์นค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ โดยการทำให้จุดประสงค์ของเขาสำเร็จคือการแนะนำพระคริสต์ให้กับโลก (มัทธิว 3)

พระเยซูทรงเรียกสาวกสิบสองคนจากชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ให้อำนาจพวกเขาในการรับใช้และเริ่มต้นอบรมพวกเขา ขณะที่พระเยซูเดินทางและเทศนาสั่งสอน พระองค์ทรงรักษาคนป่วยและทำการอัศจรรย์อื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้ข้อความของพระองค์น่าเชื่อถือ พันธกิจของพระเยซูเติบโตอย่างรวดเร็ว ฝูงชนมากมายเกรงกลัวการอัศจรรย์และประหลาดใจกับคำสอนของพระองค์ พวกเขาติดตามพระองค์ไปไม่ว่าพระองค์จะไปที่ไหน (ลูกา 9:1, มัทธิว 19:2)

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่ยินดีกับพระเยซู ผู้นำทางการเมืองและผู้นำศาสนาของชุมชนชาวยิวกล่าวหาว่าพระเยซูผิดโดยการสอนว่ากฎและประเพณีของพวกเขาไม่ใช่เส้นทางสู่ความรอด พวกเขาเผชิญหน้ากับพระเยซูหลายครั้งและพระเยซูกล่าวอย่างเปิดเผยว่าพวกเขาเป็นคนหน้าซื่อใจคด พวกฟาริสีสังเกตเห็นการอัศจรรย์ของพระเยซู แต่กล่าวว่าการอัศจรรย์เหล่านี้เป็นการทำงานของมารมากกว่าที่จะถวายเกียรติแด่พระเจ้า (มัทธิว 12:24, 15:3, มัทธิว 23)

ฝูงชนที่ติดตามพระเยซูก็เบาบางลง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าพระเยซูไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้พระองค์เองเป็นกษัตริย์หรือล้มล้างอำนาจผู้กดขี่ชาวโรมัน ยอห์นถูกจับกุมและในที่สุดก็ถูกประหารชีวิตในคุก พระเยซูเริ่มต้นให้ความสำคัญกับสาวกสิบสองคนของพระองค์มากขึ้น ผู้ซึ่งส่วนใหญ่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้า มีเพียงคนเดียวที่ไม่เชื่อ เขามีชื่อว่ายูดาสและเขาเริ่มกระตือรือร้นที่จะแสวงหาหนทางในการทรยศพระเยซูต่อพวกเจ้าหน้าที่ (ยอห์น 6:66, มัทธิว 16:16, 26:16)

ในการเดินทางไปกรุงเยรูซาเล็มครั้งสุดท้ายของพระองค์ พระเยซูทรงฉลองเทศกาลปัสกากับสาวกของพระองค์ คืนนั้นในช่วงเวลาแห่งการอธิษฐาน ยูดาสได้นำฝูงชนติดอาวุธมาหาพระเยซู พระเยซูถูกจับกุมและถูกลากผ่านการทดลองแห่งการเยาะเย้ยอย่างต่อเนื่อง พระเยซูทรงถูกลงโทษถึงตายด้วยการถูกตรึงที่กางเขนโดยเจ้าเมืองโรม แต่ถึงอย่างไรก็ตามเขาก็เป็นคนที่ยอมรับว่าพระเยซูเป็นผู้บริสุทธิ์ พระเยซูถูกตรึงที่กางเขน ในช่วงเวลาแห่งการตายของพระองค์ก็เกิดแผ่นดินไหวครั้งยิ่งใหญ่ พระศพของพระเยซูถูกนำลงมาจากกางเขนแล้ววางไว้ในอุโมงค์ใกล้เคียงอย่างรีบเร่ง (ลูกา 22:14-23, 39-53, มาระโก 15:15, 25, มัทธิว 27:51, ยอห์น 19:42)

ในวันที่สามหลังจากที่พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ อุโมงค์ฝั่งศพของพระเยซูถูกค้นพบว่าว่างเปล่าและเหล่าทูตสวรรค์ก็ประกาศว่าพระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์แล้ว จากนั้นพระเยซูทรงปรากฏในสภาพเนื้อหนังแก่เหล่าสาวกของพระองค์และใช้เวลากับพวกเขาในช่วงเวลาสี่สิบวัน ในตอนท้ายของช่วงเวลานั้น พระเยซูทรงมอบหมายหน้าที่แก่เหล่าสาวกและพระองค์ทรงเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ขณะที่พวกเขากำลังมองดูอยู่ (ลูกา 24:6, 24, ยอห์น 21:1, 14, กิจการ 1:3-9)

สิบวันหลังจากที่พระเยซูทรงเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ สาวกประมาณ 120 คนมาร่วมตัวกันที่กรุงเยรูซาเล็ม เพื่ออธิษฐานและรอคอยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งจะเสด็จมาตามพระสัญญาของพระเยซู เมื่อวันเทศกาลเพ็นเทคอสต์มาถึงพวกสาวกก็เต็มเปี่ยมด้วยพระวิญญาณ ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถพูดภาษาที่พวกเขาไม่เคยเรียนได้ เปโตรและสาวกคนอื่นๆ ได้เทศนาสั่งสอนในกรุงเยรูซาเล็มและมีผู้คนจำนวน 3,000 คนเชื่อข้อความที่ว่าองค์พระเยซูคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์และฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง ผู้คนเหล่านี้ที่เชื่อก็ได้รับบัพติศมาในพระนามของพระเยซูและคริสตจักรได้เริ่มต้นขึ้น (พระธรรมกิจการ 2)

คริสตจักรในกรุงเยรูซาเล็มเติบโตอย่างต่อเนื่องขณะที่เหล่าอัครสาวกทำการอัศจรรย์และสอนด้วยฤทธิ์อำนาจอันยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตามในไม่ช้าผู้เชื่อใหม่เผชิญหน้ากับการกดขี่ข่มเหงโดยผู้นำฟาริสีหนุ่มชื่อเซาโล ผู้เชื่อจำนวนมากได้ออกจากกรุงเยรูซาเล็มและเมื่อพวกเขาไปพวกเขาได้ประกาศข่าวประเสริฐของพระเยซูที่เมืองอื่นๆ การชุมนุมของผู้เชื่อเริ่มเกิดขึ้นในชุมชนอื่นๆ (กิจการ 2:43, 8:1, 4)

หนึ่งในสถานที่ที่ได้รับพระกิตติคุณคือแคว้นสะมาเรีย คริสตจักรกรุงเยรูซาเล็มได้ส่งเปโตรและยอห์นไปที่แคว้นสะมาเรียเพื่อยืนยันถึงรางานที่พวกเขาได้ยินเกี่ยวกับคริสตจักรที่นั้น เมื่อเปโตรกับยอห์นมาถึงพวกเขาเป็นพยานถึงการเสด็จมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์บนชาวสะมาเรียในแบบเดียวกันกับที่พระองค์เสด็จมาเหนือพวกเขา โดยไม่ต้องสงสัยเลยว่าคริสตจักรได้แพร่กระจายไปยังแคว้นสะมาเรีย หลังจากนั้นไม่นานเปโตรเป็นพยานถึงการเสด็จมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์บนนายร้อยชาวโรมและครัวเรือนของเขา ดังนั้นคริสตจักรก็แพร่กระจายไปยังโลกของคนต่างชาติเช่นเดียวกัน (กิจการ 8:14-17, 10:27-48)

ยากอบซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกสิบสองคนนั้นทุกข์ทรมานอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม เซาโลวางแผนที่จะนำความเกลียดชังต่อคริสเตียนไปยังเมืองดามัสกัส แต่ในระหว่างทางพระเยซูทรงปรากฏต่อเขาในนิมิต ในอดีตเซาโลเป็นผู้ข่มเหงในคริสตจักรและถูกเปลี่ยนเป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐที่กระตือรือร้นของพระคริสต์ ไม่กี่ปีต่อมาเซาโลหรือเปาโลก็กลายเป็นอาจารย์ในคริสตจักรเมืองอันทิโอก ในขณะที่อยู่ที่นั่นเปาโลและบารนาบัสได้รับเลือกโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้เป็น "มิชชันนารีชาวต่างชาติ" กลุ่มแรกของโลกและพวกเขาเดินทางไปยังไซปรัสและเอเชียไมเนอร์ เปาโลและบารนาบัสทนทุกข์ทรมานต่อการถูกข่มเหงและความยากลำบากในการเดินทาง แต่มีหลายคนได้รับการช่วยให้รอด รวมถึงชายหนุ่มที่ชื่อว่าทิโมธีและมีการสร้างคริสตจักร (กิจการ 9:1-22, 12:1-2, 13-14)

ย้อนกลับไปในกรุงเยรูซาเล็มมีคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับการยอมรับคนต่างชาติเข้าไปในคริสตจักร คนต่างชาติเป็นคริสเตียน (อดีตพวกนอกศาสนา) ซึ่งต้องได้รับตำแหน่งเท่าเทียมกับคริสเตียนชาวยิวผู้ที่รักษากฎหมายมาตลอดชีวิตของพวกเขาหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เชื่อต่างชาติจะต้องเข้าสุหนัตเพื่อที่จะได้รับความรอดหรือไม่ สภาประชุมกันที่ในกรุงเยรูซาเล็มได้พิจารณาคำถามนี้ เปโตรและเปาโลต่างก็เป็นพยานถึงวิธีที่พระเจ้าประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้เชื่อต่างชาติโดยปราศจากพิธีการเข้าสุหนัต การลงความเห็นของสภาคือว่าความรอดนั้นเกิดจากพระคุณทางความเชื่อและการเข้าสุหนัตนั้นไม่จำเป็นสำหรับความรอด (กิจการ 15:1-31)

เปาโลออกเดินทางในฐานะมิชชันนารีอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้ไปพร้อมกับสิลาส ระหว่างทางทิโมธีก็ไปด้วยกันกับพวกเขาพร้อมกับหมอที่ชื่อว่าลูกา ตามคำสั่งของพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้นเปาโลและกลุ่มของเขาออกจากเอเชียไมเนอร์และเดินทางไปยังกรีกซึ่งมีการสร้างคริสตจักรมากมายขึ้นในเมืองฟิลิปปี เมืองเทสซาโลนิกา เมืองโครินธ์ เมืองเอเฟซัสและเมืองอื่นๆ ต่อมาเปาโลออกเดินทางในฐานะมิชชันนารีเป็นครั้งที่สาม วิธีการทำพันธกิจของเปาโลเหมือนกันเกือบจะทุกครั้งคือเทศนาสั่งสอนในธรรมศาลาเป็นประการแรกโดยการประกาศข่าวประเสริฐแก่ชาวยิวในแต่ละชุมชน โดยปกติแล้วเปาโลมักจะถูกปฏิเสธภายในธรรมศาลาและเขาจะนำข้อความไปยังคนต่างชาติแทน (กิจการ 15:40-21:17)

ในการต่อต้านคำเตือนของเพื่อน เปาโลได้เดินทางไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ที่นั่นเปาโลถูกโจมตีโดยกลุ่มคนก่อจลาจลซึ่งมีเจตนาที่จะฆ่าเขา เขาได้รับการช่วยเหลือโดยผู้บังคับบัญชาชาวโรมและถูกควบคุมตัวไว้เพื่อความปลอดภัยในค่ายทหาร เปาโลยืนขึ้นต่อหน้าศาลสูงสุดในกรุงเยรูซาเล็ม แต่ศาลได้ปะทุขึ้นเกิดความโกลาหลและเปาโลถูกนำตัวไปยังเมืองซีซารียาเพื่อการพิจารณาคดีต่อหน้าผู้พิพากษาชาวโรม หลังจากผ่านไปสองสามปีในเมืองซีซารียาเปาโลได้ถวายฎีกาต่อซีซาร์ ตามสิทธิของเขาภายใต้กฎหมายโรม (กิจการ 21:12, 27-36, กิจการ 23:1-25:12)

เปาโลโดยถูกพาตัวไปยังยังกรุงโรมด้วยเรือในฐานะนักโทษและลูกาไปกับเขาด้วย ระหว่างทางมีพายุแรงทำให้เรือแตก แต่ทุกคนบนเรือได้เดินทางไปยังเกาะมอลตาอย่างปลอดภัย ที่นั่นเปาโลทำการอัศจรรย์ที่ดึงดูดความสนใจของผู้ปกครองของเกาะนั้น อีกครั้งหนึ่งที่พระกิตติคุณได้แพร่กระจายออกไป (กิจการ 27:1-28:10)

เมื่อเขาถึงกรุงโรม เปาโลมาก็ถูกคุมขังในบ้าน เพื่อนของเปาโลสามารถไปเยี่ยมและเปาโลมีความเป็นอิสระส่วนหนึ่งที่สามารถจะสอนได้ ทหารโรมันบางคนได้กลับใจใหม่และแม้แต่ผู้คนในครัวเรือนของซีซาร์บางคนก็เชื่อในพระเยซู (กิจการ 28:16, 30-31, ฟิลิปปี 4:22)

ในขณะที่เปาโลยังถูกคุมขังอยู่ในกรุงโรม งานของพระเจ้าก็ยังคงดำเนินต่อไปรอบๆ โลกแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิโมธีทำพันธกิจในเมืองเอเฟซัส ติตัสดูแลงานในเกาะครีต อปอลโลรับใช้ในเมืองโครินธ์ เป็นไปได้ที่เปโตรจะไปยังกรุงโรม (1 ทิโมธี 1:3, ทิตัส 1:5, กิจการ 19:1, เปโตร 5:13)

สาวกส่วนใหญ่ยอมเสียชีวิตเพราะความเชื่อในพระคริสต์ อัครทูตคนสุดท้ายคือยอห์น เมื่อเขาแก่ตัวลงเขาถูกเนรเทศไปยังเกาะปัทมอสที่นั่นเขาได้รับข้อความต่างๆ จากองค์พระเยซูสำหรับคริสตจักรและนิมิตเกี่ยวกับยุคสุดท้ายที่เขาบันทึกไว้เป็นพระธรรมวิวรณ์ (วิวรณ์ 1:9,4,19)

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

เรื่องราวของพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่คืออะไร?
© Copyright Got Questions Ministries