settings icon
share icon

พระธรรมฮีบรู

ผู้ประพันธ์: ถึงแม้ว่าบางคนรวมพระธรรมฮีบรูด้วยกันกับจดหมายฝากของอัครทูตเปาโลมันยังคงเป็นปริศนาว่าผู้ใดกันแน่ที่เขียนพระธรรมนี้ ที่ขาดหายไปคือคำขึ้นต้นทักทายตามธรรมเนียมประเพณีที่เปาโลมักใช้เขียนในจดหมายฝากฉบับอื่น ๆ ของท่าน นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะว่าผู้เขียนจดหมายฝากฉบับนี้พึ่งพาความรู้และข้อมูลจากพยานอื่นๆ ที่เห็นพระเยซูคริสต์ด้วยตาจริงๆ ทำให้น่าสงสัยว่าไม่ได้เป็นผลงานเขียนของเปาโล

ฮีบรู 2:3 “ดังนั้นถ้าเราละเลยความรอดอันยิ่งใหญ่แล้ว เราจะรอดพ้นไปอย่างไรได้ ความรอดนั้นได้เริ่มขึ้น โดยการประกาศขององค์พระผู้เป็นเจ้าเอง และบรรดาผู้ที่ได้ยินพระองค์ ก็ได้รับรองแก่เราว่าเป็นความจริง”

บางคนอ้างเหตุผลว่าท่านลูกาเป็นผู้เขียน คนอื่นๆ เสนอแนะว่าพระธรรมฮีบรูอาจจะถูกเขียนขึ้นโดยอปอลโล บารนาบัส สิลาส ฟิลิปหรืออาควิลลาและปริสคิลลา โดยไม่คำนึงถึงว่ามนุษย์ใช้มือจับปากกาเขียน พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าทรงดลใจให้มนุษย์เขียนพระคัมภีร์ทุกเล่ม พระธรรมฮีบรูพูดเรื่องสิทธิอำนาจตามหลักศาสนาเช่นเดียวกับพระธรรมอีกหกสิบห้าเล่มในพระคัมภีร์

2 ทิโมธี 3:16 “พระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และ เป็นประโยชน์ใน การสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในทางธรรม”

วันที่เขียน: บาดหลวงเคลเมนต์ในคริสตจักรสมัยแรกได้อ้างข้อพระคัมภีร์จากพระธรรมฮีบรูในปี ค.ศ. 95 อย่างไรก็ตาม หลักฐานภายในประเทศเช่นข้อเท็จจริงที่ว่า ทิโมธีมีชีวิตอยู่ในสมัยที่จดหมายฝากนี้ถูกเขียน และการสูญเสียหลักฐานใดๆ ที่แสดงการสิ้นสุดของระบบการถวายเครื่องบูชาในพันธสัญญาเดิมนั้น ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยกรุงเยรูซาเล็มถูกทำลายล้างในปี ค.ศ. 70 บ่งชี้ว่าพระธรรมเล่มนี้ถูกเขียนในปี ค.ศ. 65

จุดประสงค์ของการเขียน: ดร. วอลเตอร์ มาร์ติน ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัยคริสเตียนคนล่าสุดและผู้เขียนหนังสือที่ขายดีที่สุดชื่อ ราชอาณาจักรแห่งลัทธิทั้งหลาย พูดแดกดันตามลักษณะปกติของเขาว่า พระธรรมฮีบรูนั้นเขียนโดยชาวฮีบรูให้แก่ชาวฮีบรูอื่น ๆ บอกให้ชาวฮีบรูหยุดประพฤติอย่างชาวฮีบรู แท้จริง ผู้เชื่อชาวยิวในสมัยแรกหลายคนกำลังไถลกลับเข้ามาสู่ประเพณีปฏิบัติและพิธีกรรมของศาสนายูดาย เพื่อที่จะหลบหนีการกดขี่ข่มเหงที่กำลังทวีขึ้น ถ้าเช่นนั้น จดหมายฉบับนี้เป็นคำแนะนำตักเตือนแก่บรรดาผู้เชื่อที่ถูกกดขี่ข่มเหง ขอให้พวกเขาดำรงอยู่ในพระคุณของพระเยซูคริสต์

ข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญ
ฮีบรู 1:1-2: “ในโบราณกาลพระเจ้าได้ตรัสด้วยวิธีต่างๆมากมายแก่บรรพบุรุษของเราทางพวกผู้เผยพระวจนะ แต่ในวาระสุดท้ายนี้พระองค์ได้ตรัสแก่เราทั้งหลายทางพระบุตร ผู้ซึ่งพระองค์ได้ทรงตั้งให้เป็นผู้รับสรรพสิ่งทั้งปวงเป็นมรดก พระองค์ได้ทรงสร้างกัลปจักรวาลโดยพระบุตร”

ฮีบรู 2:3: “ดังนั้นถ้าเราละเลยความรอดอันยิ่งใหญ่แล้ว เราจะรอดพ้นไปอย่างไรได้ ความรอดนั้นได้เริ่มขึ้น โดยการประกาศขององค์พระผู้เป็นเจ้าเอง และบรรดาผู้ที่ได้ยินพระองค์ ก็ได้รับรองแก่เราว่าเป็นความจริง”

ฮีบรู 4:14-16: “เหตุฉะนั้น เมื่อเรามีมหาปุโรหิตผู้เป็นใหญ่ที่ผ่านฟ้าสวรรค์เข้าไปถึงพระเจ้าแล้ว คือพระเยซูพระบุตรของพระเจ้า ขอให้เราทั้งหลายมั่นคงในพระศาสนาของเรา เพราะว่า เรามิได้มีมหาปุโรหิตที่ไม่สามารถจะเห็นใจในความอ่อนแอของเรา แต่ได้ทรงถูกทดลองใจเหมือนอย่างเราทุกประการ ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป ฉะนั้นขอให้เราทั้งหลาย จงมีใจกล้าเข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณ เพื่อเราจะได้รับพระเมตตา และจะได้รับพระคุณที่จะช่วยเราในขณะที่ต้องการ”

ฮีบรู 11:1: “ความเชื่อคือความแน่ใจในสิ่งที่เราหวังไว้ เป็นความรู้สึกมั่นใจว่า สิ่งที่ยังไม่ได้เห็นนั้นมีจริง”

ฮีบรู 12:1-2: “เหตุฉะนั้นเมื่อเรามีพยานพรั่งพร้อมอยู่รอบข้างเช่นนี้แล้ว ก็ขอให้เราละทิ้งทุกอย่างที่ถ่วงอยู่ และบาปที่เกาะแน่น ขอให้เราวิ่งแข่งด้วยความเพียรพยายาม ตามที่ได้กำหนดไว้สำหรับเรา หมายเอาพระเยซูเป็นผู้บุกเบิกความเชื่อ และผู้ทรงทำให้ความเชื่อของเราสมบูรณ์ พระองค์ได้ทรงอดทนต่อกางเขน เพื่อความรื่นเริงยินดีที่ได้เตรียมไว้สำหรับพระองค์ ทรงถือว่าความละอายนั้น ไม่เป็นสิ่งสำคัญและพระองค์ได้ประทับ ณ เบื้องขวาพระที่นั่ง ของพระเจ้า”

บทสรุปโดยย่อ: พระธรรมฮีบรูเขียนถึงคนแตกต่างกันสามประเภทคือ: ผู้เชื่อในพระคริสต์ ผู้ไม่เชื่อที่มีความรู้และยอมรับอย่างฉลาดในสัจจธรรมของพระคริสต์ และบรรดาผู้ไม่เชื่อที่ถูกชักนำมาถึงพระคริสต์ แต่เป็นผู้ที่ปฏิเสธพระองค์ในท้ายที่สุด เป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าใจว่ากลุ่มคนประเภทใดที่พระธรรมนี้กำลังกล่าวถึง การไม่ทำเช่นนั้นอาจทำให้เกิดข้อสรุปที่ไม่สอดคล้องกับพระคัมภีร์ส่วนที่เหลือ ผู้เขียนพระธรรมฮีบรูยังคงพูดถึงสิ่งที่เหนือกว่าของพระคริสต์ต่อไป ทั้งในพระลักษณภาพและในพระราชกิจของพระองค์ ในเนื้อหาพระธรรมของพันธสัญญาเดิม เราเข้าใจพิธีกรรมและพิธีการของศาสนายูดายที่เป็นสัญลักษณ์ชี้ไปที่การเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ อีกนัยหนึ่ง พิธีกรรมของศาสนายูดายเป็นแต่เพียงเงาของสิ่งทั้งหลายที่จะมาถึง พระธรรมฮีบรูบอกเราว่า พระเยซูคริสต์ทรงประสริฐกว่าสิ่งใดที่เป็นเพียงศาสนาที่ต้องบูชา พิธีฉลองเอิกเกริกและสถานการณ์ทั้งหมดในศาสนาไม่มีชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคล พันธกิจรับใช้ และพระราชกิจของพระเยซูคริสต์ องค์พระเยซูของเราทรงเหนือกว่าทั้งปวง แล้วนั่นก็ยังคงเป็นสาระสำคัญของจดหมายฉบับนี้ที่เขียนอย่างมีวาทะศิลป์

การเชื่อมโยง: บางทีอาจจะไม่มีเล่มไหนในพันธสัญญาใหม่ ที่มุ่งใช้พระคำในพันธสัญญาเดิมมากกว่าในพระธรรมฮีบรู ซึ่งมีการวางรากฐานตำแหน่งพระสอนศาสนาตามอย่างบทบัญญัติของพวกเลวี ผู้เขียนถึงชาวฮีบรูเปรียบเทียบข้อบกพร่องของระบบการถวายเครื่องบูชาในพันธสัญญาเดิม กับความบริบูรณ์และความสำเร็จครบถ้วนในองค์พระคริสต์ตลอดเวลา

ขณะที่พันธสัญญาเดิมจำต้องมีการถวายเครื่องบูชาเป็นประจำตลอดเวลา และการทำพิธีชดใช้ไถ่โทษบาปปีละครั้ง โดยปุโรหิตธรรมดาทำพิธีถวาย ในพันธสัญญาใหม่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นคือการที่พระคริสต์ทรงถวายพระองค์เองเป็นเครื่องบูชาแทนทุกคน และตรงถึงพระบัลลังก์ของพระเจ้าเพื่อทุกคนที่อยู่ในพระองค์

ฮีบรู 10:10 “และโดยน้ำพระทัยนั้นเองที่เราทั้งหลายได้รับการทรงชำระให้บริสุทธิ์ โดยการถวายพระกายของพระเยซูคริสต์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น”

การประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ: จดหมายฝากไปยังชาวฮีบรู อุดมสมบูรณ์ไปด้วยหลักความเชื่อพื้นฐานคริสเตียน ได้ให้ตัวอย่างที่ช่วยหนุนกำลังใจเราใน "วีรบุรุษความเชื่อ"ของพระเจ้า ผู้ที่ที่มีความอดทนต่อความทุกข์ยากลำบากมาก และสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ (ฮีบรูบทที่ 11) บรรดาวีรบุรุษของหอแห่งความเชื่อในพระเจ้าได้ให้หลักฐานอย่างมากมายท่วมท้น เพื่อเป็นการรับประกันอย่างไม่มีเงื่อนไขและความเชื่อถือวางใจในพระเจ้าได้แน่นอนที่สุด ในทำนองเดียวกัน เราสามารถรักษาความเชื่อมั่นในพระสัญญาที่อุดมสมบูรณ์ของพระเจ้า โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ของเรา โดยการใคร่ครวญภาวนาความสัตย์ซื่อมั่นคงดังศิลาแห่งพระราชกิจของพระเจ้า ในชีวิตธรรมิกชนของพระองค์ในพันธสัญญาเดิม ผู้เขียนพระธรรมฮีบรได้หนุนน้ำใจพอควรแก่บรรดาผู้เชื่อ แต่มีคำเตือนเคร่งครัดห้าอย่างที่เราจะต้องเอาใจใส่ มีอันตรายจากการเพิกเฉยละเลย

ฮีบรู2:1-4 “เหตุฉะนั้น เราจะต้องสนใจในข้อความเหล่านั้นที่เราได้ยินได้ฟังให้มากขึ้นอีก เพราะมิฉะนั้น เราจะห่างไกลไปจากข้อความเหล่านั้น ด้วยว่า เมื่อพระดำรัสซึ่งทูตสวรรค์ได้กล่าวไว้นั้นปรากฏเป็นความจริง และการล่วงละเมิดกับการไม่เชื่อฟังทุกอย่าง ได้รับผลตอบสนองตามความยุติธรรมแล้ว ดังนั้นถ้าเราละเลยความรอดอันยิ่งใหญ่แล้ว เราจะรอดพ้นไปอย่างไรได้ ความรอดนั้นได้เริ่มขึ้น โดยการประกาศขององค์พระผู้เป็นเจ้าเอง และบรรดาผู้ที่ได้ยินพระองค์ ก็ได้รับรองแก่เราว่าเป็นความจริง ทั้งนี้พระเจ้าก็ทรงเป็นพยานด้วย โดยทรงแสดงหมายสำคัญและการอัศจรรย์ และโดยการอิทธิฤทธิ์ต่างๆ และโดยของประทานจาก พระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งทรงประทาน ตามน้ำพระทัยของพระองค์”

อันตรายจากความไม่เชื่อ (ฮีบรู 3: 7-4: 13) อันตรายของจิตวิญญาณที่ยังไม่เติบโต (ฮีบรู 5: 11-6: 20) อันตรายจากการไม่ยอมอดทน

ฮีบรู 10:26-39 “เมื่อเราได้รับความรู้เรื่องความจริงแล้ว แต่เรายังขืนทำผิดอีก เครื่องบูชาลบบาปนั้นก็จะไม่มีเหลืออยู่เลย แต่จะมีความหวาดกลัวในการรอคอยการพิพากษาโทษ และไฟอันร้ายแรง ซึ่งจะเผาผลาญบรรดาคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้า คนที่ได้ฝ่าฝืนบัญญัติของโมเสสนั้น ถ้ามีพยานสักสองสามปาก ก็จะต้องตายโดยปราศจากความเมตตา ท่านทั้งหลายคิดดูซิว่าคนที่เหยียบย่ำพระบุตรของพระเจ้า และดูหมิ่นพระโลหิตแห่งพันธสัญญา ซึ่งชำระเขาให้บริสุทธิ์ว่าเป็นสิ่งชั่วช้า และขัดขืนพระวิญญาณผู้ทรงพระคุณนั้น ควรจะถูกลงโทษมากยิ่งกว่าคนเห ล่านั้นสักเท่าใด เพราะเรารู้จักพระองค์ผู้ได้ตรัสว่า การแก้แค้นเป็นของเรา เราจะตอบสนอง และได้ตรัสอีกว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงพิพากษาชนชาติของพระองค์ การตกอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์นั้นเป็นที่น่าหวาดกลัว แต่ท่านทั้งหลายจงระลึกถึงคราวก่อนนั้น หลังจากที่ท่านได้รับความสว่างแล้ว ท่านได้อดทนต่อความยากลำบากอย่างใหญ่หลวง บางทีท่านก็ถูกประจานให้อับอายขายหน้าและถูกข่มเหง บางทีท่านก็ร่วมทุกข์กับคนที่ถูกข่มเหงนั้น เพราะว่าท่านทั้งหลายมีใจเมตตาต่อผู้ที่ต้องโทษเหล่านั้น และเมื่อมีคนปล้นชิงเอาทรัพย์สิ่งของของท่านไป ท่านก็ยอมให้ด้วยใจยินดี เพราะท่านรู้แล้วว่าท่านมีทรัพย์สมบัติที่ดีกว่าและถาวรกว่านั้นอีก เหตุฉะนั้นขออย่าได้ละทิ้งความไว้วางใจของท่าน ซึ่งจะได้รับบำเหน็จอันยิ่งใหญ่ ท่านทั้งหลายจำเป็นต้องมีความอดทน เพื่อว่าท่านจะได้สามารถกระทำ ตามน้ำพระทัยของพระเจ้าได้ แล้วท่านจะได้รับสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้นั้น อีกไม่นาน พระองค์ผู้จะเสด็จมาก็จะเสด็จมาและจะไม่ทรงชักช้า แต่คนชอบธรรมของเรานั้นจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยความเชื่อ และถ้าความเชื่อของเขาเสื่อม ถอย เราจะไม่มีความพอใจในคนนั้นเลย แต่ท่านทั้งหลายไม่ใช่คนที่เสื่อมถอย และถึงซึ่งความพินาศ แต่เป็นคนที่เชื่อมั่น จึงทำให้ชีวิตปลอดภัย”

อันตรายที่มีอยู่เป็นปกติวิสัยในการปฏิเสธพระเจ้า

ฮีบรู 12:25-29 “จงระวังให้ดี อย่าปฏิเสธไม่ยอมฟังพระองค์ผู้ตรัสอยู่นั้น ถ้าเขาเหล่านั้นไม่พ้นโทษเพราะปฏิเสธ ไม่ยอมฟังพระดำรัสเตือนของพระองค์ที่ในโลก เราทั้งหลายผู้เมินหน้าจากพระองค์ผู้ทรงเตือนจากสวรรค์ ก็จะไม่พ้นโทษมากยิ่งกว่าเขาเหล่านั้นเสียอีก พระสุรเสียงของพระองค์คราวนั้นได้บันดาลให้แผ่นดินหวั่นไหว แต่บัดนี้พระองค์ได้ตรัสสัญญาไว้ว่า อีกครั้งหนึ่งเราจะกระทำให้หวาดหวั่นไหว มิใช่แผ่นดินโลกแห่งเดียว แต่ทั้งท้องฟ้าด้วย และพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า อีกครั้งหนึ่ง นั้น แสดงว่าสิ่งที่หวั่นไหวนั้นจะถูกกำจัดเสีย เหมือนกับสิ่งที่ทรงสร้างให้มีขึ้น เพื่อให้สิ่งที่ไม่หวั่นไหวคงเหลืออยู่ เหตุฉะนั้นครั้นเราได้แผ่นดินที่ไม่หวั่นไหวมาแล้ว ก็ให้เราขอบพระคุณพระเจ้า เพื่อเราจะได้ปฏิบัติพระเจ้าตามชอบพระทัยของพระองค์ ด้วยความเคารพและยำเกรง เพราะว่าพระเจ้าของเรานั้นทรงเป็นเพลิงที่เผาผลาญ”

และดังนั้นเราพบหลักคำสอนที่พรั่งพร้อมมากในผลงานชิ้นเอกนี้ การหนุนน้ำใจที่ให้เกิดความชื่นบาน และแหล่งที่มาของคำตักเตือนให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อต้านความเฉื่อยชาในชีวิตคริสเตียน แต่ยังมีมากกว่านั้นอีก เพราะในพระธรรมฮีบรูเราพบภาพที่ทรงให้ความช่วยเหลืออย่างงดงามยิ่งขององค์พระเยซูคริสต์---พระผู้สร้างและผู้ทรงทำให้เสร็จสมบูรณ์ ความรอดมาสู่เราทุกคน

ฮีบรู 12:2 “หมายเอาพระเยซูเป็นผู้บุกเบิกความเชื่อ และผู้ทรงทำให้ความเชื่อของเราสมบูรณ์ พระองค์ได้ทรงอดทนต่อกางเขน เพื่อความรื่นเริงยินดีที่ได้เตรียมไว้สำหรับพระองค์ ทรงถือว่าความละอายนั้นไม่ เป็นสิ่งสำคัญและพระองค์ได้ประทับณ เบื้องขวาพระที่นั่ง ของพระเจ้า” การประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ: เช่นเคย ยอห์นเน้นความสำคัญของการเดินตามสัจจธรรมของพระเยซู ความมีน้ำใจไมตรี ความช่วยเหลือเกื้อกูล และการให้กำลังใจต่อพี่น้องคริสเตียนของเราเป็นคำสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระเยซู และเห็นได้ชัดว่ากายอัสเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นในพันธกิจนี้ เราควรจะทำเช่นเดียวกันเมื่อใดก็ตามที่เราสามารถทำได้ ต้อนรับมิชชันนารีที่มาเยี่ยมนักเทศน์และคนแปลกหน้า (ตราบใดที่เราแน่ใจว่าพวกเขาเป็นผู้เชื่อแท้จริง) ไม่เพียงแต่ที่คริสตจักรของเรา แต่ยังรวมถึงบ้านของเรา และจัดหาให้แก่พวกเขา และหนุนกำลังใจพวกเขาตามที่จำเป็น นอกจากนี้เรายังต้องระมัดระวังเสมอที่จะปฏิบัติตามตัวอย่างของบรรดาผู้ที่มีคำพูดและการกระทำที่สอดคล้องกับพระกิตติคุณเท่านั้น และจะมีสายตาที่มองเห็นคนเหล่านั้นเช่นดิโอเตรเฟสที่มีพฤติกรรมห่างไกลจากคำสอนของพระเยซู

English



การสำรวจพันธสัญญาใหม่

การสำรวจพระคัมภีร์

กลับสู่หน้าภาษาไทย

พระธรรมฮีบรู
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries