settings icon
share icon

พระธรรมกันดารวิถี

ผู้ประพันธ์: โมเสสเป็นผู้เขียนพระธรรมกันดารวิถี

วันที่เขียน: พระธรรมกันดารวิถีเขียนขึ้นระหว่างปี ก.ค.ศ 1440 และ 1400

จุดประสงค์ของการเขียน: ข้อพระธรรมในพระธรรมกันดารวิถีเป็นสากลและเป็นอมตะ มันเตือนผู้เชื่อเรื่องสงครามฝ่ายจิตวิญญาณที่พวกเขามีส่วนร่วม เพราะพระธรรมกันดารวิถีเป็นพระธรรมแห่งการรับใช้และการเดินของคนของพระเจ้า พระธรรมกันดารวิถีเป็นสะพานสำคัญเชื่อมระหว่างชนชาติอิสราเอลที่ได้รับบทบัญญัติ (อพยพและเลวีนิติ) และการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ดินแดนแห่งพระสัญญา (เฉลยธรรมบัญญัติและโยชูวา)

ข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญ:

กันดารวิถี 6:24-26 “ขอพระเจ้าทรงอำนวยพระพรแก่ท่าน และพิทักษ์รักษาท่าน ขอพระเจ้าทรงให้พระพักตร์ของพระองค์ทอแสงแก่ท่าน และทรงพระกรุณาท่าน ขอพระเจ้าทรงเงยพระพักตร์ของพระองค์เหนือท่าน และประทานสวัสดิภาพแก่ท่าน”

กันดารวิถี 12:6-8 “พระองค์ตรัสว่า “จงฟังถ้อยคำของเรา ถ้าจะมีผู้เผยพระวจนะท่ามกลางเจ้าทั้งหลาย เราพระเจ้าจะสำแดงตัวแก่ผู้นั้นเป็นนิมิต เราจะพูดกับเขาทางฝัน สำหรับโมเสสผู้รับใช้ของเราก็ไม่เป็นเช่นนั้น ในประชาชนของเราเขาสัตย์ซื่อ เราพูดกับเขาปากต่อปากอย่างชัดเจนไม่พูดเร้นลับ และเขาเห็นสัณฐานของพระเจ้า ไฉนเจ้าไม่กลัวที่จะพูดติโมเสสผู้รับใช้ของเรา”

กันดารวิถี 14:30-34 “จะไม่มีสักคนหนึ่งที่มาถึงแผ่นดินที่เราสัญญาว่า จะให้เจ้าอาศัยอยู่ เว้นแต่คาเลบบุตรเยฟุนเนห์และโยชูวาบุตรนูน แต่ลูกเล็กที่เจ้าทั้งหลายว่าจะเป็นเหยื่อนั้นเราจะพาเขาทั้งหลายเข้าไปและเขาจะรู้จักแผ่นดิน ที่เจ้าทั้งหลายได้สบประมาท ส่วนเจ้าทั้งหลาย ศพของเจ้าจะตกหล่นอยู่ในถิ่นทุรกันดารนี้ ลูกหลานของเจ้าทั้งหลายจะเป็นผู้เลี้ยงแกะอยู่ในถิ่น ทุรกันดารถึงสี่สิบปี เขาจะทนโทษการเล่นชู้ของเจ้า จนกว่าจำนวนซากศพของเจ้าจะอยู่ในถิ่นทุรกันดารนี้ครบ ตามจำนวนวันที่เจ้าเข้าไปสอดแนมในแผ่นดินนั้นซึ่งมีสี่สิบวัน วันหนึ่งจะเป็นปีหนึ่ง เจ้าทั้งหลายจะรับโทษความผิดของเจ้าอยู่สี่สิบปี เจ้าทั้งหลายจะทราบถึงความไม่พอใจของเรา”

บทสรุปโดยย่อ: ส่วนใหญ่เหตุการณ์ในพระธรรมกันดารวิถีเกิดขึ้นในถิ่นทุรกันดาร ส่วนใหญ่ระหว่างปีที่สองและปีที่สี่สิบของการเดินทางรอนแรมของอิสราเอล พระธรรม25 บทแรกบันทึกเหคุการณ์ตามลำดับเวลาที่ชนชาติอิสราเอลรุ่นแรกประสบในถิ่นทุรกันดาร ในขณะที่ส่วนที่เหลือของพระธรรมเล่มนี้บรรยายประสบการณ์ของชนชาติอิสราเอลรุ่นที่สอง สาระสำคัญของการเชื่อฟังคำสั่งและการกบฏ ตามมาด้วยการกลับใจสารภาพผิดและการอวยพรตลอดพระธรรมทั้งเล่ม เช่นเดียวกับพันธสัญญาเดิมทั้งหมด

สาระสำคัญของความบริสุทธิ์ของพระเจ้ายังมีต่อไป จากพระธรรมเลวีนิติจนถึงพระธรรมกันดารวิถี ซึ่งเปิดเผยคำสั่งสอนของพระเจ้าและการที่คนของพระองค์เตรียมความพร้อมเพื่อจะเข้าสู่ดินแดนคะนาอัน ความสำคัญของพระธรรมกันดารวิถี แสดงให้เห็นตามที่อ้างถึงในพระคัมภีร์ใหม่หลายครั้ง ใน 1โครินธ์บทที่ 10 ร้องขอเป็นพิเศษให้รักษาความบริสุทธิ์ฝ่ายจิตวิญญาณ ดังในพระธรรมกันดารวิถี

1โครินธ์ 10:1-12 “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านทั้งหลายเข้าใจว่า บรรพบุรุษของเราทั้งสิ้นได้อยู่ใต้เมฆและได้ผ่านทะเลไปทุกคน ได้รับบัพติศมาในเมฆและในทะเลเข้าสนิทกับโมเสสทุกคน และได้รับประทานอาหารทิพย์ทุกคน และได้ดื่มน้ำทิพย์ทุกคน เพราะว่าเขาได้ดื่มน้ำซึ่งไหลออกมาจากพระศิลาที่ติดตามเขามา พระศิลานั้นคือพระคริสต์ แต่ถึงกระนั้นก็ดี มีคนส่วนมากในพวกนั้นที่พระเจ้าไม่ทรงพอพระทัย เราทราบได้ก็เพราะว่าเขาล้มตายกันเกลื่อนกลาดในถิ่นทุรกันดาร เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเครื่องเตือนใจพวกเรา ไม่ให้เรามีใจโลภปรารถนาสิ่งที่ชั่วเหมือนเขาเหล่านั้น ท่านทั้งหลายอย่านับถือรูปเคารพเหมือนอย่างที่บางคนในพวกเขาได้กระทำ ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ประชาชนก็นั่งลงกินและดื่ม แล้วก็ลุกขึ้นเล่นสนุกสนาน อย่าให้เราคบหญิงชั่วเหมือนอย่างที่บางคนในพวกเขาได้กระทำ แล้วก็ล้มลงตายในวันเดียวสองหมื่นสามพันคน อย่าให้เราลองดีองค์พระผู้เป็นเจ้า เหมือนอย่างที่บางคนในพวกเขาได้กระทำ แล้วก็ต้องตายด้วยงูร้าย อย่าให้เราบ่นเหมือนอย่างที่บางคนในพวกเขาได้บ่น แล้วก็ต้องพินาศด้วยองค์เพชฌฆาต เหตุการณ์เหล่านี้ได้บังเกิดแก่เขาเพื่อเป็นตัวอย่าง และได้บันทึกไว้เพื่อเตือนสติเราทั้งหลาย ซึ่งกำลังประสบวาระสุดท้ายแห่งบรรดายุคเก่า เหตุฉะนั้น คนที่คิดว่าตัวเองมั่นคงดีแล้วก็จงระวังให้ดี กลัวว่าจะล้มลง”

คำว่า "สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับพวกเขาเป็นตัวอย่าง" หมายถึงความผิดบาปของอิสราเอลและความไม่พอใจของพระเจ้าที่มีต่อพวกเขา ในโรม 11:22 เปาโลพูดเกี่ยวกับ "ความดีงามและความเข้มงวดกวดขันของพระเจ้า"

โรม 11:22 “เหตุฉะนั้นจงพิจารณาดูทั้งพระเมตตาและความเข้มงวดของพระเจ้า คือพระองค์ทรงเข้มงวดกับคนเหล่านั้น ที่หลงผิดไปแต่พระองค์ทรงพระเมตตาท่าน ถ้าว่าท่านจะดำรงอยู่ในพระเมตตานั้นต่อไป มิฉะนั้นก็จะทรงตัดท่านออกเสียด้วย”

โดยสังเขป นั่นคือข้อพระธรรมในกันดารวิถี ความเข้มงวดกวดขันของพระเจ้าจะเห็นในการเสียชีวิตของคนรุ่นเก่าที่กบฏไม่เชื่อฟังในถิ่นทุรกันดาร เป็นพวกที่ไม่มีโอกาสเข้าในดินแดนแห่งพระสัญญา ความดีงามของพระเจ้าเป็นที่ตระหนักในลูกหลานรุ่นใหม่ พระเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองและทรงสงวนรักษาคนเหล่านี้จนกระทั่งพวกเขาเข้ายึดดินแดนนั้นได้. สื่งนี้เตือนเราให้นึกถึงความยุติธรรมและความรักของพระเจ้า ซึ่งดำรงอยู่ในการสามัคคีธรรมกับองค์พระเจ้าสูงสุด

ลางบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า: พระเจ้าทรงเรียกร้องความบริสุทธิ์ในคนของพระองค์ เพื่อนที่สุดจะเป็นที่พอพระทัยพระเยซูคริสต์อย่างสมบูรณ์ ผู้ทรงเสด็จมาเพื่อทำให้พระบัญญัติสมบูรณ์เพื่อเห็นแก่เรา

มัทธิว 5:17 “อย่าคิดว่าเรามาเลิกล้างธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะ เรามิได้มาเลิกล้างแต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ” ความคิดเรื่องพระเมสสิยาห์ที่จะเสด็จมาตามพระสัญญาแพร่หลายไปทั่วพระธรรมเล่มนี้ เรื่องราวในบทที่ 19 กล่าวถึงการถวายบูชาวัวตัวเมียสีแดง "

ไม่พิการไม่มีรอยตำหนิ" เป็นภาพเล็งถึงพระคริสต์ พระเมษโปดกของพระเจ้า ผู้ไม่มีรอยด่างหรือรอยมลทิน ผู้ทรงเสียสละพระชนม์เป็นเครื่องบูชาไถ่บาปของเรา รูปปั้น(หล่อ)ของงูทองเหลืองที่ยกขึ้นบนเสาเพื่อให้การรักษาทางฝ่ายร่างกาย (บทที่ 21) ยังเป็นการคาดการณ์ถึงการยกพระคริสต์บนไม้กางเขนอีกด้วย หรือในการประกาศพระคำของพระเจ้าว่า ใครก็ตามที่แหงนดูพระองค์โดยความเชื่ออาจจะได้รับการรักษาฝ่ายจิตวิญญาณ

ยอห์น 3:14-15 “มเสสได้ยกงูขึ้นในถิ่นทุรกันดารฉันใด บุตรมนุษย์จะต้องถูกยกขึ้นฉันนั้น เพื่อทุกคนที่วางใจในพระองค์จะได้ชีวิตนิรันดร์”

ในบทที่ 24 คำพยากรณ์ของบาลาอัมครั้งที่สี่ พูดเรื่องดาวและคทา ซึ่งเป็นผู้ที่จะเดินออกมาจากยาโคบ นี่คือคำพนากรณ์เรื่องพระคริสต์ ผู้ที่ทรงถูกเรียกว่า "ดาวประจำรุ่ง" ในพระธรรมวิวรณ์เพื่อพระสิริของพระองค์, ความสว่าง และความสง่างามและเพื่อความสว่างที่มาจากพระองค์ วิ

วรณ์ 22:16 “เราคือเยซูผู้ใช้ให้ทูตสวรรค์ของเรา ไปเป็นพยานสำแดงเหตุการณ์เหล่านี้แก่ท่าน เพื่อคริสตจักรทั้งหลาย เราเป็นเชื้อสายของดาวิด และเป็นดาวประจำรุ่งอันสุกใส”

นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับพระนามว่าคทา นั่นคือเป็นผู้ถือคทา เพราะทรงสืบเชื้อราชวงศ์ ไม่เพียง แต่พระองค์ทรงนามว่ากษัตริย์ แต่ทรงมีราชอาณาจักรและกฎต่างๆ พร้อมด้วยคทาแห่งพระกรุณาธิคุณ ความเมตตาและความชอบธรรม

การประยุกต์ใช้ปฏิบัติ: สาระสำคัญเชิงศาสนศาสตร์ที่พัฒนาในพันธสัญญาใหม่จากพระธรรมกันดารวิถี คือว่าความบาปและความไม่เชื่อ โดยเฉพาะการกบฏ รับการพิพากษาของพระเจ้าตอบแทน พะธรรมโครินธ์ฉบับแรกกล่าวโดยพาะ---และฮีบรู 3: 7-4: 13 แสดงอย่างชัดเจน --ว่าเหตุการณ์เหล่านี้ถูกเขียนเป็นตัวอย่างสำหรับบรรดาผู้เชื่อที่จะปฏิบัติและหลีกเลี่ยง เราต้องไม่ "ใส่ใจของเราในสิ่งที่ชั่วร้าย" (ข้อ 6) หรือทำผิดศีลธรรมทางเพศ (ข้อ 8) หรือทดสอบพระเจ้าของเรา (ข้อ 9) หรือมีใจขุ่นเคืองและพร่ำบ่น (ข้อ 10)

เช่นเดียวกับชาวอิสราเอลที่เดินทางรอนแรมในถิ่นทุรกันดาร 40 ปี เพราะพวกเขาก่อการกบฏ ดังนั้นบางครั้งพระเจ้าทรงปล่อยให้เราเดินออกไปจากพระองค์ และทนทุกข์กับความอ้างว้างและขาดพระพรเมื่อเรากบฏต่อพระองค์ แต่พระเจ้าทรงสัตย์ซื่อและเที่ยงธรรม และเช่นเดียวกับที่ทรงมีพระทัยนำความชอบธรรมกลับคืนสู่ชนชาติอิสราเอล พระองค์มักทรงรื้อฟื้นคริสตชนกลับไปรับพระพรและมีสามัคคีธรรมสนิทกับพระองค์ ถ้าเราสำนึกผิดและหันกลับไปหาพระองค์

1 ยอห์น 1:9 “ถ้าเราสารภาพบาปของเรา พระองค์ทรงสัตย์ซื่อและเที่ยงธรรม ก็จะทรงโปรดยกบาปของเรา และจะทรงชำระเราให้พ้นจากการอธรรมทั้งสิ้น”

English



การสำรวจพันธสัญญาใหม่

การสำรวจพระคัมภีร์

กลับสู่หน้าภาษาไทย

พระธรรมกันดารวิถี
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries