พระธรรมฟิลิปปี
ผู้ประพันธ์: ฟิลิปปี 1: 1 ระบุว่าผู้เขียนพระธรรมฟิลิปปีเป็นอัครทูตเปาโล ซึ่งอาจจะเขียนพร้อมด้วยความช่วยเหลือจากทิโมธีฟีลิปปี 1:1 “เปาโลและทิโมธี ผู้รับใช้ของพระเยซูคริสต์ เรียนบรรดาธรรมิกชนในพระเยซูคริสต์ ซึ่งอยู่ในเมืองฟีลิปปี ทั้งบรรดาผู้ดูแลและมัคนายก”
วันที่เขียน : พระธรรมฟิลิปปีอาจเขียนขึ้นประมาณปี ค.ศ. 61
จุดประสงค์ของการเขียน: จดหมายฝากถึงชาวฟิลิปปี ซึ่งเป็นหนึ่งในจดหมายฝากของเปาโล ถูกเขียนขึ้นตอนท่านถูกขังคุกในกรุงโรม เปาโลอยู่ที่เมืองฟิลิปปี ซึ่งอัครสาวกเข้าเยี่ยมท่านในการเดินทางมิชชันนารีครั้งที่สองของท่าน (กิจการ 16:12) ที่นางลิเดียและผู้คุมชาวฟีลิปปีและครอบครัวของเขาได้รับเชื่อในพระคริสต์ ตอนนี้ ไม่กี่ปีต่อมาคริสตจักรได้รับการสถาปนาขึ้นเรียบร้อย ซึ่งมีตำแหน่งต่างๆที่ได้รับการลงความเห็นงรวมทั้ง " ผู้ปกครอง (ผู้สูงอายุ) และมัคนายก" (ฟิลิปปี 1: 1) โอกาสของจดหมายฝากฉบับนี้คือ การยอมรับทานของขวัญเงินบริจาคจากคริสตจักรที่เมืองฟีลิปปี ที่นำมาให้อัครสาวกโดย เอปาโฟรดิทัส หนึ่งของสมาชิก
ฟีลิปปี 4:10-18 “ข้าพเจ้ามีใจชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างยิ่ง เพราะว่าในที่สุดท่านก็ได้ฟื้นการระลึกถึงข้าพเจ้าอีก ท่านคิดถึงข้าพเจ้าจริงๆ แต่ยังหาโอกาสไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ได้บ่นถึงเรื่องความขัดสน เพราะข้าพเจ้าจะมีฐานะอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็เรียนรู้แล้วที่จะพอใจอยู่อย่างนั้น ข้าพเจ้ารู้จักที่จะเผชิญกับความตกต่ำ และรู้จักที่จะเผชิญกับความอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ข้าพเจ้ารู้จักเคล็ดลับที่จะเผชิญกับความอิ่มท้องและความอดอยาก ความสมบูรณ์พูนสุข และความขัดสน ข้าพเจ้าผจญทุกสิ่งได้ โดยพระองค์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า ถึงกระนั้นก็เป็นความกรุณาของท่าน ที่ได้ร่วมทุกข์กับข้าพเจ้า และพวกท่านชาวฟีลิปปีก็ทราบอยู่แล้วว่า การประกาศข่าวประเสริฐในเวลาเริ่มแรกนั้น มาตอนเมื่อข้าพเจ้าออกไปจากแคว้นมาซิโดเนีย ไม่มีคริสตจักรใดมีส่วนร่วมกับข้าพเจ้า ในรายรับรายจ่ายเลย นอกจากพวกท่านพวกเดียวเท่านั้น ถึงแม้เมื่อข้าพเจ้าอยู่ที่เมืองเธสะโลนิกา พวกท่านก็ได้ฝากของมาช่วยหลายครั้งหลายหน มิใช่ว่าข้าพเจ้าปรารถนาจะได้รับของให้ แต่ว่าข้าพเจ้าอยากให้ท่าน ได้ผลกำไรในบัญชีของท่านมากขึ้น ข้าพเจ้าได้รับครบ และมากกว่านั้นอีก ข้าพเจ้าก็อิ่มอยู่เพราะได้รับของจาก เอปาโฟรดิทัส ซึ่งพวกท่านส่งไปให้ เป็นกลิ่นหอม เป็นเครื่องบูชาที่ทรงโปรดและพอพระทัยของพระเจ้า”
นี่คือจดหมายที่เป็นห่วง วึ่งเขียนถึงกลุ่มชาวคริสต์ ผู้ที่เปาโลมีใจใกล้ชิดเป็นพิเศษโดยเฉพาะ
2 โครินธ์ 8:1-6 “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย เราใคร่ให้ท่านทราบถึงพระคุณของพระเจ้า โดยที่พระองค์ได้ทรงโปรดประทานแก่คริสตจักรต่างๆ ในแคว้นมาซิโดเนีย เพราะว่าเมื่อคราวที่พวกเขาถูกทดลองอย่างหนักได้รับความทุกข์ยาก ความยินดีล้นพ้นของเขาและความลำบากยากจนอย่างที่สุดของเขานั้น ก็ล้นออกมาเป็นใจศรัทธาอย่างยิ่ง เพราะข้าพเจ้าเป็นพยานได้ว่า เขาศรัทธาถวายโดยสุดความสามารถของเขา ที่จริงก็เกินความสามารถของเขาเสียอีก และเขายังได้วิงวอนเรามากมาย ขอให้เขามีส่วนในการช่วยธรรมิกชนด้วย ไม่เหมือนที่เราได้คาดหมายไว้ แต่ข้อสำคัญที่สุด ได้ถวายตัวเขาเองแด่องค์ พระผู้เป็นเจ้าก่อน แล้วได้มอบตัวให้เราตามพระทัยพระเจ้า จนถึงกับเราได้เตือนทิตัสให้ไปช่วยพวกท่านทำการกุศลนั้น จนสำเร็จตามที่ท่านได้ลงมือไว้แล้ว”
โดยการเปรียบเทียบ จะพูดว่าทฤษฎีมีข้อผิดพลาดเล้กน้อย
ข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญ:
ฟีลิปปี 1:21 “เพราะว่าสำหรับข้าพเจ้านั้น การมีชีวิตอยู่ก็เพื่อพระคริสต์ และการตายก็ได้กำไร”
ฟีลิปปี 3:7 “แต่ว่าสิ่งใดที่เคยเป็นคุณประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถือว่าสิ่งนั้นไร้ประโยชน์แล้ว เพื่อเห็นแก่พระคริสต์”
ฟีลิปปี 4:4 “จงชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกเวลา ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งว่า จงชื่นชมยินดีเถิด”
ฟีลิปปี 4:6-7 “อย่าทุกข์ร้อนในสิ่งใดๆเลย แต่จงทูลเรื่องความปรารถนาของท่านทุกอย่างต่อพระเจ้า ด้วยการอธิษฐาน การวิงวอน กับการขอบพระคุณ แล้วสันติสุขแห่งพระเจ้าซึ่งเกินความเข้าใจ จะคุ้มครองจิตใจและความคิด ของท่านไว้ในพระเยซูคริสต์”
ฟีลิปปี 4:13 “ข้าพเจ้าผจญทุกสิ่งได้ โดยพระองค์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า”
บทสรุปโดยย่อ: เราเรียกชาวฟิลิปปีว่า "ทรัพยากรผ่านความทุกข์" พระธรรมเล่มนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ในชีวิตของเรา พระคริสต์ในใจของเรา พระคริสต์เป็นเป้าหมายของเรา พระคริสต์เป็นความเข้มแข็งของเรา และความสุขผ่านความทุกข์ทรมาน มันถูกเขียนขึ้นในระหว่างที่เปาโลถูกคุมขังในกรุงโรม ประมาณสามสิบปีหลังจากที่พระคริสต์เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ และประมาณสิบปีหลังจากเปาโลเทศน์ครั้งแรกที่เมืองฟีลิปปี เปาโลเป็นนักโทษในสมัยจักรพรรดิ์นีโร แต่ค่อนข้างมีเสียงร้องตะโกนอย่างมีชัยชนะว่า "ความสุข" และ "ความยินดี" ปรากฏบ่อยในจดหมายฝาก
ฟีลิปปี 1:4, 18, 25, 26 “และทุกเวลาที่ข้าพเจ้าอธิษฐานเพื่อท่าน ข้าพเจ้าก็ทูลขอด้วยความยินดี ถ้าเช่นนั้นจะแปลกอะไร แม้เขาจะประกาศพระคริสต์ด้วยประการใดก็ตาม จะเป็นด้วยการแกล้งทำก็ดีหรือด้วยใจจริงก็ดี แต่เขาก็ได้ประกาศพระคริสต์ ในการนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความยินดี เมื่อข้าพเจ้าแน่ใจอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็ทราบว่าข้าพเจ้าจะยังอยู่ คืออยู่กับท่านเพื่อให้ท่านจำเริญขึ้นและชื่นชมยินดีในความเชื่อ เพื่อว่าเพราะข้าพเจ้า ความปลาบปลื้มของท่านก็จะมากยิ่งขึ้นในพระเยซูคริสต์ เพราะว่าข้าพเจ้าจะมาหาท่านอีก”
ฟีลิปปี 2:2, 28 “ก็ขอให้ท่านทำให้ความยินดีของข้าพเจ้าเต็มเปี่ยม ด้วยการมีความคิดอย่างเดียวกัน มีความรักอย่างเดียวกัน มีใจรู้สึกและคิดพร้อมเพรียงกัน เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงรีบให้เขาไป เพื่อท่านจะมีความยินดีที่เห็นเขาอีก และความร้อนใจของข้าพเจ้าก็จะได้เบาบางลงไปบ้าง”
ฟีลิปปี 3:1 “สุดท้ายนี้ ขอให้พวกพี่น้องของข้าพเจ้า ชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้า การที่ข้าพเจ้าเขียนข้อความเหล่านี้ถึงท่านซ้ำอีก ก็หาเป็นการลำบากแก่ข้าพเจ้าไม่ และเป็นการปลอดภัยสำหรับท่านด้วย”
ฟีลิปปี 4:1, 4, 10 “เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลายของข้าพเจ้า ผู้เป็นที่รัก เป็นที่ปรารถนา เป็นที่ยินดี และเป็นมงกุฎของข้าพเจ้า พวกที่รักของข้าพเจ้า จงยึดมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้าเถิด จงชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกเวลา ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งว่า จงชื่นชมยินดีเถิด ข้าพเจ้ามีใจชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างยิ่ง เพราะว่าในที่สุดท่านก็ได้ฟื้นการระลึกถึงข้าพเจ้าอีก ท่านคิดถึงข้าพเจ้าจริงๆ แต่ยังหาโอกาสไม่ได้”
ประสบการณ์ของคริสเตียนผู้ชอบธรรมเป็นการปกป้องจากภายนอก ไม่ว่าสถานการณ์ของเราจะเป็นอย่างไร ชีวิต ลักษณะ และจิตใจของพระคริสต์ทรงประทับอยู่ในเรา
ฟีลิปปี 1:6, 11 “ข้าพเจ้าแน่ใจว่าพระองค์ผู้ทรงตั้งต้นการดีไว้ในพวกท่านแล้ว จะทรงกระทำให้สำเร็จจนถึงวันแห่งพระเยซูคริสต์ จะได้เป็นผู้ที่บริบูรณ์ด้วยผลของความชอบธรรม ซึ่งเกิดขึ้นโดยพระเยซูคริสต์ เพื่อถวายพระเกียรติและความสรรเสริญแด่พระเจ้า”
ฟีลิปปี 2:5, 13 “ท่านจงมีน้ำใจต่อกันเหมือนอย่างที่มีในพระเยซูคริสต์ เพราะว่าพระเจ้าเป็นผู้ทรงกระทำกิจอยู่ภายในท่าน ให้ท่านมีใจปรารถนา ทั้งให้ประพฤติตามชอบพระทัยของพระองค์”
ฟิลิปถึงจุดสุดยอดที่ 2: 5-11 ที่มีการประกาศรุ่งโรจน์และลึกซึ้งเกี่ยวกับความอัปยศอดสูและความปลื้มปีติขององค์พระเยซูคริสต์
ฟีลิปปี 2:5-11 “ท่านจงมีน้ำใจต่อกันเหมือนอย่างที่มีในพระเยซูคริสต์ ผู้ทรงสภาพของพระเจ้า แต่มิได้ทรงถือว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้า นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องยึดถือ แต่ได้กลับทรงสละ และทรงรับสภาพทาส ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์ และเมื่อทรงปรากฏพระองค์ในสภาพมนุษย์แล้ว พระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ลงยอมเชื่อ ฟังจนถึงความมรณา กระทั่งความมรณาที่กางเขน เหตุฉะนั้นพระเจ้าจึงได้ทรงยกพระองค์ขึ้นอย่างสูง และได้ประทานพระนามเหนือนามทั้งปวงให้แก่พระองค์ เพื่อเพราะพระนามนั้นทุกเข่า ในสวรรค์ ที่แผ่นดินโลก ใต้พื้นแผ่นดินโลก จะคุกลงกราบ พระเยซู และเพื่อทุกลิ้นจะยอมรับ ว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า อันเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระบิดาเจ้า”
พระธรรมฟิลิปปีอาจจะแบ่งได้ดังนี้
บทนำ 1: 1-7
I พระคริสต์ทรงเป็นชีวิตของคริสเตียน: ชื่นชมยินดีทั้งๆ ที่มีความทุกข์ 1: 8-30
II พระคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างคริสเตียน: จงชื่นชมยินดีในงานรับใช้ที่ต่ำต้อย 2: 1-30
III พระคริสต์เป็นเป้าหมายของความเชื่อแบบคริสเตียน, ความปรารถนาและความคาดหวัง 3: 1-21
IV พระคริสต์ทรงเป็นกำลังของคริสเตียน ความปีติยินดีท่ามกลางความวิตกกังวล 4: 1-9
บทสรุป 4: 10-23
การเชื่อมต่อ: เช่นเดียวกับจดหมายฝากหลายฉบับของเปาโล ท่านได้เตือนผู้เชื่อใหม่ในคริสตจักรของฟีลิปปีให้ระวังการโน้มเอียงไปสู่การยึดถือกฎ ซึ่งถูกตัดออกไปอย่างต่อเนื่องในคริสตจักรยุคแรก ชาวยิวผูกติดอยู่กับกฎหมายพันธสัญญาเดิม คือมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในแบบผู้นับถือลัทธิยูดา ที่จะกลับไปสู่คำสอนเรื่องความรอดโดยการประพฤติ แต่เปาโลย้ำเสมอว่าความรอดได้มาโดยความเชื่อในพระคริสต์ผู้เดียวเท่านั้น และให้ตราพวกนับถือลัทธิยูดาว่าเป็น "สุนัข" และ "คนที่ทำชั่ว" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่ยึดติดับบทบัญญัติยืนยันว่า ผู้เชื่อใหม่ในพระคริสต์จะยังคงเข้ารับสุหนัตตามที่พันธสัญญาเดิมกำหนด
ปฐมกาล 17:10-12 “นี่เป็นพันธสัญญาของเราซึ่งเจ้าจะต้องรักษา ระหว่างเรากับเจ้า และเชื้อสายของเจ้าที่จะสืบมา คือผู้ชายทุกคนจะต้องเข้าสุหนัต เจ้าจงเข้าสุหนัตตัดหนังหุ้มปลายองคชาตของเจ้า นี่จะเป็นหมายสำคัญของพันธสัญญาระหว่างเรากับเจ้า ผู้ชายที่มีอายุแปดวันต้องเข้าสุหนัต คือชายทุกคนตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเจ้า เป็นคนที่เกิดในบ้านของเจ้าก็ดี หรือที่เอาเงินซื้อมาจากคนต่างด้าวใด ซึ่งมิใช่พงศ์พันธุ์ของเจ้าก็ดี”
เลวีนิติ 12:3 “ในวันที่แปดให้ตัดหนังปลายองคชาตของเด็กนั้นเสีย เพื่อเป็นการเข้าสุหนัต”
ด้วยวิธีนี้ พวกเขาพยายามที่จะทำให้พระเจ้าโปรดปรานโดยความพยายามของตัวเองและยกระดับตัวเองอยู่เหนือคริสเตียนต่างชาติที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมนั้น เปาโลอธิบายว่าบรรดาผู้ที่ได้รับการชำระแล้วโดยพระโลหิตของพระเมษโปดกไม่ได้อยู่ในพิธีทางศาสนาที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของความจำเป็นต้องชำระจิตใจให้สะอาด
การประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ: พระธรรมฟิลิปปีเป็นหนึ่งในจดหมายส่วนตัวมากที่สุดของเปาโล และเป็นเช่นนั้นมีการนำไปใช้กับผู้เชื่อส่วนตัวบุคคลหลายคน เขียนขึ้นในช่วงที่เปาโลถูกกักขังอยู่ในกรุงโรม ท่านเตือนสอนให้ทำตามตัวอย่างของท่านและจะ "มีใจกล้าที่จะพูดพระวจนะของพระเจ้ามากขึ้นอย่างกล้าหาญและไม่เกรงกลัว" ในช่วงเวลาของการกดขี่ข่มเหง
ฟีลิปปี 1:14 “และพี่น้องส่วนมากได้เกิดความไว้วางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้า เนื่องด้วยการจำจองของข้าพเจ้า และพวกเขามีใจกล้าขึ้น ที่จะกล่าวพระวจนะของพระเจ้าโดยปราศจากความกลัว”
คริสเตียนทุกคนได้รับประสบการณ์ ความเกลียดชังจากบรรดาผู้ปฏิเสธความเชื่อในพระกิตติคุณเรื่องพระเยซูคริสต์ ครั้งเดียวหรืออีกครั้ง นี้เป็นไปตามที่คาดไว้ พระเยซูตรัสว่าโลกเกลียดชังพระองค์และจะเกลียดชังผู้ที่ติดตามพระองค์ด้วยเช่นกัน
ยอห์น 5:18 “tเหตุฉะนั้นพวกยิวยิ่งแสวงโอกาสที่จะฆ่าพระองค์ มิใช่เพราะพระองค์ล่วงกฎวันสะบาโตเท่านั้น แต่ยังได้เรียกพระเจ้าว่าเป็นบิดาของตนด้วย ซึ่งเป็นการกระทำตนเสมอกับพระเจ้า” เปาโลเคี่ยวเข็นให้เราอดทนต่อการเผชิญกับการกดขี่ข่มเหง เพื่อ " ยึดมั่นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นคนที่ใจมั่นคงในความเชื่อเรื่องพระกิตติคุณ"
ฟีลิปปี 1:27 “ขอแต่เพียงให้ท่านดำเนินชีวิตให้สมกับข่าวประเสริฐของพระคริสต์ เพื่อว่าแม้ข้าพเจ้าจะมาหาท่านหรือไม่ก็ตาม ข้าพเจ้าก็จะได้รู้ข่าวของท่านว่า ท่านเชื่อมั่นคง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ต่อสู้เหมือนอย่างเป็นคนเดียวเพื่อความ เชื่ออันเกิดจากข่าวประเสริฐนั้น”
การนำพระธรรมฟิลิปปีไปใช้เป็นความจำเป็นสำหรับคริสเตียนที่จะถ่อมตนมีใจเดียวกัน เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์และเราจำเป็นต้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนอื่นในแบบเดียวกัน เปาโลเตือนเราให้เป็นคนที่ "มีใจเดียวกัน มีความรักเหมือนกัน เป็นใจเป็นหนึ่งเดียวกันและมีวัตถุประสงค์เดียวกัน " และจะขจัดความถือดีและความเห็นแก่ตัว "แต่ในความอ่อนน้อมถ่อมตน จงพิจารณาว่าคนอื่นดีกว่าตัวเอง" มุ่งหาเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นและการดู แลห่วงใยซึ่งกันและกัน
ฟีลิปปี 2:2-4 “ก็ขอให้ท่านทำให้ความยินดีของข้าพเจ้าเต็มเปี่ยม ด้วยการมีความคิดอย่างเดียวกัน มีความรักอย่างเดียวกัน มีใจรู้สึกและคิดพร้อมเพรียงกัน อย่าทำสิ่งใดในทางชิงดีกันหรือถือดี แต่จงมีใจถ่อมถือว่าคนอื่นดีกว่าตัว อย่าให้ต่างคนต่างเห็นแก่ประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว แต่จงเห็นแก่ประโยชน์ของคนอื่นๆด้วย”
คริสตจักรทั้งหลายจะมีความขัดแย้งน้อยลงมากทุกวันนี้ ถ้าเราทุกคนมีใจมุ่งทำตามคำแนะนำของเปาโล ในพระธรรมฟิลิปปีการนำไปใช้อีกอย่างก็คือว่าความสุขและความปลื้มปีติที่พบได้ตลอดในจดหมายฝากของท่าน ท่านยินดีที่ได้ประกาศพระคริสต์ (ฟิลิปปี 1: 8); ท่านยินดีที่ถูกกดขี่ข่มเหง (2:18) ท่านคะยั้นคะยอให้คนอื่น ๆ ที่จะชื่นชมยินดีในพระเจ้า (3: 1) และท่านอ้างถึงพี่น้องชาว เมืองฟีลิปปีว่าเป็น "ความยินดีและมงกุฎ" (4: 1) ท่านสรุปด้วยคำแนะนำแก่ผู้เชื่อ " จงชื่นชมยินดีในพระเจ้าเสมอ อีกครั้ง ข้าพเจ้าบอกว่าจงชิ่นชมยินดีเถิด "(4: 4-7) ในฐานะผู้เชื่อ เราสามารถชื่นชมยินดีและสัมผัสสันติสุขของพระเจ้าโดยมอบให้พระองค์ทรงดูแลเรา
ฟีลิปปี 4:6 “อย่าทุกข์ร้อนในสิ่งใดๆเลย แต่จงทูลเรื่องความปรารถนาของท่านทุกอย่าง ต่อพระเจ้า ด้วยการอธิษฐาน การวิงวอน กับการขอบพระคุณ”
ความยินดีของเปาโล ทั้งๆที่ท่านได้รับการกดขี่ข่มเหงและถูกจำคุก ท่านส่องสว่างผ่านจดหมายฉบับนี้ และเราได้รับพระสัญญาว่าจะมีความสุขเหมือนกันท่ท่านได้ประสบมา เมื่อเรามอบความคิดของเราไว้กับพระเจ้า ฟีลิปปี 4:8 “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ในที่สุดนี้ขอจงใคร่ครวญถึงสิ่งที่จริง สิ่งที่น่านับถือ สิ่งที่ยุติธรรม สิ่งที่บริสุทธิ์ สิ่งที่น่ารัก สิ่งที่ทรงคุณ คือถ้ามีสิ่งใดที่ล้ำเลิศ สิ่งใดที่ควรแก่การสรรเสริญ ก็ขอจงใคร่ครวญดู”
English
การสำรวจพระคัมภีร์
กลับสู่หน้าภาษาไทย
พระธรรมฟิลิปปี