พระธรรมเศฟันยาห์
ผู้ประพันธ์: เศฟันยาห์ 1: 1 ระบุว่าผู้เขียนพระธรรมเศฟันยาห์คือผู้เผยพระวจนะเศฟันยาห์ ชื่อเศฟันยาห์แปลว่า "พระเจ้าทรงปกป้อง"เศฟันยาห์ 1:1 “พระวจนะของพระเจ้าซึ่งมาถึงเศฟันยาห์บุตรคูชี ผู้เป็นบุตรเกดาลิยาห์ ผู้เป็นบุตรอามาริยาห์ ผู้เป็นราชโอรสของเฮเซคียาห์ ในรัชกาลโยสิยาห์ ราชโอรสของอาโมน กษัตริย์ของยูดาห์”
วันที่เขียน: พระธรรมเศฟันยาห์อาจจะเขียนขึ้นระหว่างปี ก.ค.ศ 735 และ 725
จุดประสงค์ของการเขียน: ข้อพระธรรมเรื่องการพิพากษาและการหนุนใจของเศฟันยาห์ประกอบด้วยหลักข้อเชื่อที่สำคัญสามตอน: 1) พระเจ้าทรงเป็นกษัตริย์ปกครองทุกประเทศ 2) คนชั่วจะถูกลงโทษและความชอบธรรมจะปรากฏให้เห็นในวันแห่งการพิพากษา 3) พระเจ้าทรงอวยพรแก่ผู้ที่กลับใจใหม่และไว้วางใจในพระองค์
ข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญ: เศฟันยาห์ 1:18 “เงินหรือทองคำของเขาก็ดี จะไม่สามารถช่วยกู้เขาได้ ในวันแห่งพระพิโรธของพระเจ้า พิภพทั้งสิ้นจะถูกเผาผลาญ ในไฟแห่งความหวงแหนของพระองค์ พระองค์จะทรงกระทำให้ชาวพื้นพิภพทั้งสิ้น”
เศฟันยาห์ 2:3 “ทุกคนที่ใจถ่อมในแผ่นดินนี้ คือผู้ที่ กระทำตามพระบัญชาของพระองค์ จงแสวงหาพระเจ้า จงแสวงหาความชอบธรรม แสวงหาความถ่อมใจ ชะรอยเจ้าจะได้รับการกำบัง ในวันแห่งพระพิโรธของพระเจ้า”
เศฟันยาห์ 3:17.”พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าอยู่ท่ามกลางเจ้า เป็นนักรบผู้ประทานความมีชัย พระองค์ทรงเปรมปรีดิ์เพราะเจ้าด้วยความยินดี พระองค์จะทรงรื้อฟื้นเจ้า ใหม่ด้วยความรักของพระองค์ พระองค์จะทรงเริงโลดเพราะเจ้าด้วยร้องเพลงเสียงดัง”
บทสรุปโดยย่อ: เศฟันยาห์ประกาศคำพิพากษาของพระเจ้าทั่งทั้งโลก ทั้งในยูดาห์ ประเทศโดยรอบ ในกรุงเยรูซาเล็มและทุกประเทศ ตามมาด้วยคำอวยพรของพระเจ้าที่ประกาศให้พรแก่ทุกประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ประชากรที่เหลือของพระองค์ที่ซื่อสัตย์ในยูดาห์ เศฟันยาห์มีความกล้าหาญที่พูดตรงไปตรงมา เพราะเขารู้ว่าเขากำลังประกาศพระวจนะของพระเจ้า พระธรรมของเขาขึ้นต้นด้วย "พระวจนะของพระเจ้า" และจบลงด้วยการกล่าวว่า "พระเจ้าทรงตรัส" เขารู้ว่าไม่มีเทพเจ้าองค์ใดในบรรดาหลายๆ องค์ที่มนุษย์บูชา หรือแม้กระทั่งกำลังของกองทัพอัสซีเรียก็ไม่สามารถช่วยพวกเขาให้รอดได้
พระเจ้าทรงพระสิริและทรงเมตตาสงสาร แต่เมื่อไม่สนใจคำเตือนของพระองค์ก็ต้องพบกับการพิพากษา มีการกล่าวถึงวันแห่งการพิพากษาของพระเจ้าบ่อยครั้งในพระคัมภีร์ ผู้เผยพระวจนะเรียกมันว่า "วันแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า" พวกเขากล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การล่มสลายของกรุงเยรูซาเล็มว่าเป็นการสำแดงวันแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเหตุการณ์แต่ละอย่างบ่งบอกถึงวันสุดท้ายคือวันขององค์พระผู้เป็นเจ้า
ลางบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า: พระพรสุดท้ายที่ประกาศในพระธรรมเศฟันยาห์ 3: 14-20 ส่วนใหญ่ยังไม่ครบบริบูรณ์ นำให้เราสรุปได้ว่าเหล่านี้เป็นคำพยากรณ์ถึงพระเมสสิยาห์ที่รอคอยมาการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์ที่จะสำเร็จลง พระเจ้าได้ทรงยกเอาการพิพากษาไปจากเราผ่านทางพระคริสต์ ผู้เสด็จมาสิ้นพระชนม์เพื่อบาปของประชากรของพระองค์
เศฟันยาห์ 3:15 “พระเจ้าทรงล้มเลิกการพิพากษาลงโทษเจ้าแล้ว พระองค์ทรงขับไล่ศัตรูของ เจ้าออกไปแล้ว กษัตริย์แห่งอิสราเอลคือพระเจ้าทรงอยู่ท่ามกลางเจ้า เจ้าจะไม่กลัวภัยพิบัติอีกต่อไป”
ยอห์น 3:16 “เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์” แต่อิสราเอลยังไม่ได้ยอมรับพระผู้ช่วยให้รอดที่แท้จริงของเขา อย่างไรก็ตามสิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้น
โรม 11:25-27 “พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าเกรงว่าท่านจะอวดรู้ จึงอยากให้ท่านเข้าใจข้อความอันล้ำลึกนี้ คือเรื่องที่บางคนในพวกอิสราเอลมีใจแข็งกระด้างไป จนทำให้พวกต่างชาติได้เข้ามาครบจำนวน และเมื่อเป็นดังนั้น พวกอิสราเอลทั้งปวงก็จะได้รับความรอด ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า พระผู้ช่วยให้รอดจะเสด็จมาจากเมืองศิโยน และจะทรงกำจัดอธรรมให้สูญสิ้นไปจากยาโคบ และนี่แหละจะเป็นพันธสัญญาของเรากับเขาทั้งหลาย เมื่อเรายกโทษบาปของเขา”
พระสัญญาแห่งสันติภาพและความปลอดภัยของอิสราเอล เวลาที่กษัตริย์ของพวกเขาทรงประทับในท่ามกลางพวกเขา สิ่งนี้จะสำเร็จเมื่อพระคริสต์เสด็จกลับมาพิพากษาโลกและทรงไถ่ให้รอดโดยพระองค์เอง เช่นเดียวกับที่ทรงเสด็จขึ้นสู่สวรรค์หลังจากการคืนพระชนม์ของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จะเสด็จกลับมาและทรงตั้งกรุงเยรูซาเล็มใหม่บนโลก (วิวรณ์ 21) ในขณะนั้น พระสัญญาทั้งหมดของพระเจ้าที่มีต่ออิสราเอลจะสำเร็จครบถ้วน
การประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ: ด้วยการปรับเปลี่ยนชื่อและสถานการณ์บางอย่างใน ผู้เผยพระวจนะแห่งศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตศักราชนี้ สามารถยืนอยู่ที่ธรรมมาศน์ของเราทุกวันนี้ และกล่าวข้อพระคำเรื่องการพิพากษาคนชั่ว และให้ความหวังเดียวกันนี้แก่ผู้สัตย์ซื่อ เศฟันยาห์เตือนเราว่าพระเจ้าทรงขัดเคืองพระทัยที่คนของพระองค์ทำบาปทางศีลธรรมและศาสนา คนของพระเจ้าไม่อาจหลบหนีพ้นการลงโทษเมื่อพวกเขาจงใจกระทำบาป การลงโทษอาจจะเจ็บปวด แต่จุดประสงค์ของมันเพื่อการรักษามากกว่าการลงโทษ การลงโทษการกระทำชั่วอันหลีกไม่พ้น ก่อให้เกิดความสบายในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อดูเหมือนว่าความชั่วนั้นดื้อด้านและเอาชนะ เรามีเสรีภาพที่จะไม่เชื่อฟังพระเจ้า แต่ไม่มีเสรีภาพที่จะหลบหนีผลที่ตามมาของการไม่เชื่อฟัง บรรดาผู้ที่สัตย์ซื่อต่อพระเจ้าอาจจะมีไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกัน แต่พระองค์ไม่ทรงลืมพวกเขา
English
การสำรวจพระคัมภีร์
กลับสู่หน้าภาษาไทย
พระธรรมเศฟันยาห์