คำถาม
คริสเตียนควรอดทนกับความเชื่อในศาสนาอื่นของคนอื่นไหม?
คำตอบ
ในยุคแห่ง “ความอดทน” ของเรา การเป็นญาติดีกับทุกคุณธรรมความเชื่อถูกชวนเชื่อว่าเป็นคุณความดีสูงสุด ผู้เป็นญาติดีกับทุกความเชื่อบอกว่าหลักปรัชญา, แนวความคิด และความเชื่อทุกระบบมีกุศลเท่ากัน และสมควรที่จะได้รับเกียรติเสมอกัน ส่วนผู้ที่เห็นว่าความเชื่อหนึ่งดีกว่าอีกความเชื่อหนึ่งหรือ – ที่แย่ไปกว่านั้น – ผู้ที่อ้างว่าความเชื่อของตนเป็นความจริงแท้แน่นอนถูกมองว่าใจแคบ, ปิดหูปิดตา หรือแม้กระทั่งดันทุรัง
แน่นอนว่าศาสนาต่าง ๆ อ้างอย่างเดียวกันทั้งนั้น และผู้เป็นญาติดีกับทุกศาสนาไม่สามารถหาเหตุผลที่สมควรมาไกล่เกลี่ยข้อแตกต่างอย่างหน้ามือเป็นหลังมือได้ ยกตัวอย่างเช่น พระคัมภีร์บอกว่า “มีข้อกำหนดสำหรับมนุษย์ไว้แล้วว่าจะตายครั้งเดียว” (ฮีบรู 9:27) แต่ศาสนาตะวันออกบางศาสนาสอนว่ามีการเวียนว่ายตายเกิด แล้วเราตายครั้งเดียวหรือหลายครั้งกันแน่? คำสอนทั้งคู่จะถูกทั้งคู่ย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นผู้เป็นญาติดีกับทุกศาสนาจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดนิยามความจริงเสียใหม่เพื่อที่จะทำให้สังคมทียึดถือ “ความจริง” ไม่เหมือนกันอยู่ร่วมกันได้
พระเยซูตรัสว่า “เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากมาทางเรา” (ยอห์น14:6) คริสเตียนยอมรับความจริงไม่ใช่แค่ว่ามันเป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้น แต่ในฐานะที่ความจริงนั้นทรงเป็นบุคคล การยอมรับความจริง นี้ทำให้คริสเตียนแตกต่างจากความเป็นคน “ใจกว้าง” โดยทั่วไป
คริสเตียนยอมรับอย่างเปิดเผยว่าพระเยซูทรงฟื้นจากความตาย (โรม 10:9-10) หากคนที่เป็นคริสเตียนเชื่อเรื่องการฟื้นคืนพระชนม์จริง ๆ แล้ว เขาจะทำ “ใจกว้าง” อยู่ได้อย่างไรเมื่อผู้ไม่เชื่อบอกว่าพระเยซูไม่เคยฟื้นคืนพระชนม์? การที่คริสเตียนจะปฏิเสธคำสอนที่ชัดเจนจากพระวจนะของพระเจ้าได้นั้นก็เท่ากับว่าเขาทรยศต่อพระองค์นั่นเอง
จงสังเกตว่าตัวอย่างที่ยกมานั้นมาจากพื้นฐานแห่งความเชื่อของคริสเตียนทั้งสิ้น อะไรบางเรื่อง (เช่นการฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์ฝ่ายกาย) เป็นเรื่องที่อะลุ้มอะหล่วยไม่ได้ บางเรื่องอาจจะนำมาถกกันได้ เช่นใครเขียนหนังสือฮีบรู, “หนามในเนื้อ” ของท่านเปาโลคืออะไรกันแน่ ทูตสวรรค์ที่สามารถยืนบนหัวเข็มหมุดได้มีกี่องค์เป็นต้น เราไม่ควรสาละวนวุ่นวายอยู่กับการถกเถียงกันในเรื่องที่ไม่สำคัญ (2 ทิโมธี 2:23; ทิตัส 3:9)
หากจะต้องโต้แย้งกัน/สนทนาตอบโต้กันเกี่ยวกับหลักคำสอนที่สำคัญ คริสเตียนควรควบคุมตัวเองไว้ให้ดีและให้เกียรติคู่สนทนา การไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การไม่ให้เกียรติกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เราจะต้องยึดมั่นอยู่ในความจริง แต่ในเวลาเดียวกันเราจะต้องแสดงความอ่อนสุภาพกับผู้ที่ถามเกี่ยวกับความจริงด้วย เราจะต้องเต็มด้วยพระคุณและความจริงทั้งสองอย่าง ดังเช่นพระเยซู (ยอห์น 1:14)
อาจารย์เปโตรแสดงความสมดุลระหว่างการให้คำตอบกับการมีความถ่อมไว้ว่า: “แต่ในใจของท่าน จงเคารพนับถือพระคริสต์ว่าเป็น องค์พระผู้เป็นเจ้า จงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมเสมอ เพื่อท่านจะสามารถตอบทุกคนที่ถามท่านว่า ท่านมีความหวังใจเช่นนี้ด้วยเหตุผลประการใด แต่จงตอบด้วยใจสุภาพและด้วยความนับถือ” (1 เปโตร 3:15)
English
คริสเตียนควรอดทนกับความเชื่อในศาสนาอื่นของคนอื่นไหม?