settings icon
share icon
คำถาม

ฉันจะเอาชนะความบาปในชีวิตคริสเตียนของฉันได้อย่างไร?

คำตอบ


พระคัมภีร์พูดถึงเครื่องมือดังต่อไปนี้ ที่เราจะใช้เพื่อเอาชนะความบาปของเราได้ดังต่อไปนี้:

(1) พระวิญญาณบริสุทธิ์ – ของขวัญอย่างหนึ่งที่พระเจ้าทรงประทานให้เรา (คริสตจักรของพระองค์) เพื่อให้มีชัยชนะในการใช้ชีวิตคริสเตียนคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระเจ้าทรงเปรียบเทียบผลทางฝ่ายเนื้อหนังกับผลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ไว้ใน BB. กาลาเทีย 5:16-25 ซึ่งในบทนั้น เราได้ถูกเรียกให้ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ ผู้เชื่อทุกคนมีพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่ด้วยแล้ว แต่ในบทนี้ได้บอกว่า เราจำเป็นต้องดำเนินตามพระวิญญาณ ให้พระองค์ครอบครองชีวิตเรา นี่หมายความว่าให้เราเลือกที่จะ “สวมรองเท้าหนัง” ให้การทำงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของเรามากกว่าที่จะเลือกตามฝ่ายเนื้อหนัง

ความแตกต่างที่พระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถกระทำในชีวิตของผู้เชื่อได้ก็คือ การสำแดงให้เห็นถึงชีวิตของ เปโตร ซึ่งก่อนที่ชีวิตเปโตรจะมีพระวิญญาณบริสุทธิ์ เขาปฏิเสธพระเยซูถึงสามครั้ง หลังจากที่เขาบอกว่าเขาจะติดตามองค์พระคริสต์จนสิ้นชีวิต แต่หลังจากที่ชีวิตเขาได้รับพระวิญญาณแล้ว เขาได้พูดต่อสาธารณชนชาติยิวอย่างเปิดเผย และอย่างเข้มแข็งถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอด

คนที่ดำเนินตามพระวิญญาณ และพยายามที่จะไม่ “ปิด” การทรงนำของพระวิญญาณ (“ดับพระวิญญาณ”) ตามที่เขียนไว้ใน (1 เธสะโลนิกา 5:19) และแสวงหาการทรงสถิตอยู่ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ( เอเฟซัส 5:18-21) คนคนหนึ่งจะมีพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้อย่างไร? อันดับแรกคือ เป็นการทรงเลือกของพระเจ้า แม้กระทั่งในพันธสัญญาเดิม พระองค์ทรงเลือกเฉพาะคน และเฉพาะเหตุการณ์ในพันธสัญญาเดิมเพื่อกระทำให้คนที่พระองค์ทรงเลือกนั้นทำกิจการของพระองค์ได้สำเร็จ ( ปฐมกาล 41:38; อพยพ 31:3; เลวีนิติ 24:2; 1 ซามูเอล 10:10; ฯลฯ) ข้าพเจ้าเชื่อว่ามีเหตุการณ์ที่กล่าวถึงใน เอเฟซัส 5:18-21 และโคโลสี 3:16 ว่าพระเจ้าทรงเจิมพระวิญญาณให้กับคนที่เติมชีวิตของเขาด้วยพระคำของพระเจ้า ซึ่งมีหลักฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่าผลของการเจิมพระวิญญาณที่ได้กล่าวถึงในข้อพระคัมภีร์ต่าง ๆ นั้นเหมือนกัน ดังนั้น สิ่งนี้จึงได้นำเรามาสู่แหล่งต่อไปที่จะเอาชนะความบาปได้

(2) พระวจนะคำของพระเจ้า - 2 ทิโมธี 3:16-17 กล่าวว่า พระเจ้าได้ทรงประทานพระวจนะคำของพระองค์เพื่อให้เรามีทิศทางในการทำการดี พระวจนะคำของพระองค์นั้นสอนให้เราทราบว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร ให้เชื่อในสิ่งใด และยังสำแดงให้เราทราบว่าเมื่อเราเดินหลงทาง นอกจากนี้พระวจนะคำของพระองค์ยังช่วยให้เรากลับมาเดินในทางที่ถูกต้อง และให้เราดำเนินอยู่ในเส้นทางนั้นต่อไป เช่นที่กล่าวไว้ในพระธรรม ฮีบรู 4:12 กล่าวว่า พระวจนะของพระเจ้านั้นไม่ตายและทรงพลานุภาพอยู่เสมอ คมยิ่งกว่าดาบสองคมใดๆ แทงทะลุกระทั่งจิตและวิญญาณ ตลอดข้อกระดูกและไขในกระดูก และสามารถวินิจฉัยความคิดและความมุ่งหมายในใจด้วย ในพระธรรมสดุดีได้พูดถึงพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตของพระวจนะคำของพระเจ้าไว้ใน สดุดี 119:9 ข้อ 11 ข้อ 105 และข้ออื่น ๆ โยชูวาได้รับการแจ้งว่า กุญแจสำคัญของความสำเร็จในการมีชัยชนะเหนือศัตรู (เปรียบกับการต่อสู้ฝ่ายจิตวิญญาณ) คือ ไม่ลืมพระวจนะคำของพระองค์ แต่ให้ใช้พระวจนะคำทุกวันทุกคืน เพื่อที่เขาจะได้พบและสังเกตุเห็นได้เมื่อเขาทำดังนั้น แม้กระทั่งเมื่อทำในสิ่งที่พระเจ้าทรงสั่งเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดูไม่สมเหตุสมผลในทางการรบ แต่นี่คือกุญแจแห่งชัยชนะในการรบของเขาเพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนแห่งพันธสัญญา

พระวจนะคำของพระเจ้า เป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่ใช่เพียงเล็กน้อย เราอาจนำพระคัมภีร์ไปโบสถ์เพื่อใช้ในพิธีนมัสการ เราอ่านบทเรียนจากพระคัมภีร์ประจำวัน หรืออ่านพระคัมภีร์วันละบท แต่เราไม่ได้จดจำไว้ ไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือไม่ได้สารภาพบาปที่พระวจนะคำของพระองค์แสดงให้เราเห็น หรือไม่ได้สรรเสริญพระเจ้าสำหรับพระพรที่พระวจนะคำของพระองค์สำแดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงประทานให้เราอย่างไร เมื่อเราพูดถึงพระคัมภีร์ หากเปรียบเป็นอาหาร เราไม่ควรละเลย หรือทานเพียงเล็กน้อย เราควรรับพระวจนะคำของพระองค์ให้มากเพียงพอที่จะทำให้เรามีชีวิตอยู่ในฝ่ายจิตวิญญาณ โดยเฉพาะการรับพระวจนะคำเวลาเราไปโบสถ์ (ควรรับเข้าไปให้มากพอที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อเป็นคริสเตียนที่เติบโตขึ้น) หรือหาโอกาศให้เราได้รับอาหารฝ่ายจิตวิญญาณบ่อยๆ และใคร่ครวญคิดอย่างลึกซึ้งเพื่อให้ฝ่ายจิตวิญญาณได้ย่อยอาหารจากพระวจนะคำมากขึ้น

เป็นเรื่องสำคัญหากคุณยังไม่เริ่มสร้างวินัยในการศึกษาความหมายของพระวจนะคำของพระเจ้า ให้เป็นชีวิตประจำวันของเราทุกวัน และเพื่อจะจดจำพระวจนะคำนั้นไว้เวลาที่คุณพบข้อความใดก็ตามที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ดลใจให้เข้าถึงจิตใจคุณ ให้ทำอย่างนี้จนเป็นนิสัย เราขอแนะนำให้คุณเริ่มเขียนบันทึกประจำวัน (อาจจะพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ถ้าคุณพิมพ์ได้เร็วกว่าเขียน) หรือเขียนลงในสมุดบันทึก ฯลฯ ให้ฝึกเป็นนิสัยคุณจะได้ไม่ละเลยพระวจนะคำนั้นจนกว่าคุณจะได้บันทึกสิ่งที่คุณได้จากพระวจนะคำนั้น ๆ ข้าพเจ้ามักจะบันทึกคำอธิษฐานที่ขอให้พระองค์ทรงช่วยเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่พระองค์ได้ตรัสกับข้าพเจ้า พระคัมภีร์จึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ใช้นำในชีวิตของพวกเราและชีวิตของผู้อื่น ( เอเฟซัส 6:17) และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นและส่วนประกอบสำคัญของอาวุธที่พระเจ้าทรงประทานให้เราเพื่อต่อสู้ในฝ่ายจิตวิญญาณ ( เอเฟซัส 6:12-18)!

(3) การอธิษฐาน – นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พระเจ้าทรงประทานให้ เป็นอีกอย่างที่คริสเตียนมักจะเพียงแค่พูดออกไป แต่ไม่ได้ใช้อย่างเหมาะสม เรามีประชุมการอธิษฐานและเวลาอธิษฐาน ฯลฯ แต่เราแสวงหาประโยชน์จากสิ่งนี้เหมือนอย่างที่คริสตจักรในสมัยแรกได้เริ่มต้น ตัวอย่าง ( กิจการ 3:1; 4:31; 6:4; 13:1-3, ฯลฯ) อัครสาวกเปาโลได้กล่าวย้ำอยู่เสมอว่า ท่านได้อธิษฐานเผื่อผู้คนที่ท่านต้องดูแลอย่างไร แต่เรากลับไม่ได้ใช้สิ่งที่เรามีนี้ พระเจ้าได้ให้คำสัญญาอันแสนวิเศษเกี่ยวกับการอธิษฐาน และอีกครั้งที่เปาโลได้กล่าวเรื่องการอธิษฐานในข้อความของท่านเรื่องการเตรียมการสู้รบฝ่ายจิตวิญญาณ ( เอเฟซัส 6:18)!

การอธิษฐานมีความสำคัญมากเพียงใด? เมื่อคุณมองดูชีวิตของเปโตรอีกครั้ง คุณจะได้พบกับพระวจนะคำของพระเจ้าที่ตรัสกับเปโตรในสวนเก็ธเซมาเนก่อนเปโตรจะปฏิเสธพระเยซู ซึ่งณ.ที่นั่น ในขณะที่พระเยซูกำลังอธิษฐานอยู่ เปโตรก็กำลังนอนหลับ พระเยซูทรงปลุกเขาให้ตื่นขึ้นและตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงเฝ้าระวังและอธิษฐาน เพื่อท่านจะไม่ต้องถูกทดลอง จิตวิญญาณพร้อมแล้วก็จริง แต่กายยังอ่อนกำลัง" ( มัทธิว 26:41) คุณก็เช่นกัน เหมือนเช่นเปโตร ต้องการทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่เสาะหาความเข้มแข็ง เราต้องทำตามคำตักเตือนของพระเจ้าในการแสวงหา จดจ่อ และขอ.... อย่าหยุด แล้วพระองค์จะทรงประทานกำลังความเข้มแข็งตามที่เราต้องการ ( มัทธิว 7:7) แต่เราจำเป็นต้องให้มากกว่าการที่พูดออกไป

ข้าพเจ้าไม่ได้พูดว่า การอธิษฐานเป็นเวทย์มนต์ ไม่ใช่เลย พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่นัก การอธิษฐานเป็นเพียงการยอมรับข้อจำกัดของเราและยอมรับฤทธิ์อำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และให้เราหันมาหาพระองค์เพื่อขอความเข้มแข็งให้เราทำในสิ่งที่พระองค์ประสงค์ให้เราทำ (ไม่ใช่สิ่งที่ เรา ต้องการทำเอง) (1 ยอห์น 5:14-15)

(4) คริสตจักร – สำหรับเรื่องสุดท้ายนี้ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่มีแนวโน้มว่าเราจะละเลยอยู่เสมอ เมื่อพระเยซูทรงสั่งให้เหล่าสาวกออกประกาศ พระองค์ทรงส่งพวกเขาออกไปเป็นคู่ (มัทธิว 10:1) เมื่อเราอ่านเรื่องการเดินทางประกาศในพระคัมภีร์กิจการ พวกเขาไม่ได้ออกไปทีละคน แต่ออกไปเป็นกลุ่มสองคน หรือมากกว่านั้น พระเยซูตรัสว่า หากมีคนสองหรือสามคนรวมตัวกันในนามของพระองค์ พระองค์จะทรงสถิตอยู่ท่ามกลางพวกเขา ( มัทธิว 18:20) พระองค์ทรงสั่งให้เราอย่าขาดการประชุมเหมือนอย่างบางคนที่ขาดอยู่ แต่ให้ใช้เวลานั้นปลุกใจซึ่งกันและกันให้มีความรักและทำความดี ( ฮีบรู 10:24-25) พระองค์ทรงบอกให้เราสารภาพผิดต่อกันและกัน ( ยากอบ 5:16) ในข้อเขียนอันเปี่ยมด้วยปัญญาในพระคัมภีร์เดิม บอกว่า ให้เราเป็นเหมือนเหล็กลับเหล็กได้ คนหนึ่งก็ลับเพื่อนของตนได้ ( สุภาษิต 27:17) “เชือกสามเกลียวจะขาดง่ายก็หามิได้” ยิ่งจำนวนมากยิ่งเข้มแข็งขึ้น ( ปัญญาจารย์ 4:11-12)

มีบางคนที่ข้าพเจ้ารู้จักได้พบพี่น้องในพระคริสต์ ซึ่งรวมตัวกันทางโทรศัพท์ หรือพบปะกันส่วนตัว หรือแบ่งปันถึงสิ่งที่พวกเขากระทำกันในการดำเนินชีวิตคริสเตียนว่า พวกเขาได้ดิ้นรนต่อสู้มาอย่างไร ฯลฯ และให้คำมั่นที่จะอธิษฐานเผื่อซึ่งกันและกัน และพยุงกันและกันในการมีสายสัมพันธ์ที่ดำเนินตามพระคำของพระเจ้า ฯลฯ

บางครั้ง การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงในบางเรื่องอย่างช้า ๆ และพระเจ้าได้ทรงสัญญากับเราไว้ว่า เมื่อเราใช้ทุกเรื่องที่พระองค์ทรงประทานให้ พระองค์จะทรงนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ขีวิตเรา หากเราแสวงหา เราก็จะรู้ว่าพระองค์ทรงสัตย์ซื่อกับพระสัญญาของพระองค์เสมอ!

English



กลับสู่หน้าภาษาไทย

ฉันจะเอาชนะความบาปในชีวิตคริสเตียนของฉันได้อย่างไร?
แบ่งปันหน้านี้: Facebook icon Twitter icon Pinterest icon Email icon
© Copyright Got Questions Ministries